![]() | |
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) การค้นหาคำว่า “ ธรรม ” ผลการค้นหาพบมากกว่า 80 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
![]() |
![]() |
เป็นคำเรียกยกย่องพระสารีบุตร ซึ่งเป็นกำลังใหญ่ของพระศาสนาในการประกาศพระศาสนา
คู่กับ อุทเทศาจารย์
ถือหลักการ ความจริง ความถูกต้อง ความดีงานและเหตุผลเป็นใหญ่ ทำการด้วยปัญญา โดยเคารพหลักการ กฎ ระเบียบ กติกา มุ่งเพื่อความดีงาม ความจริง ความชอบธรรมเป็นประมาณ; ดู อธิปไตย
คู่กับ บุคคลาธิษฐาน
หมายถึง การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลัก เช่น หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ และเข้าแนวกับธรรมที่เป็นจุดมุ่งหมาย, ปฏิบัติถูกต้องตามกระบวนธรรม; ดู วุฑฒิ
เป็นภรรยาของวิสาขเศรษฐี มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาบวชในสำนักนางภิกษุณี บำเพ็ญเพียรไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางเป็นธรรมกถึก (เขียน ธรรมทินนา ก็มี)
คุณธรรมที่ทำให้พึ่งตนได้ มี ๑๐ อย่าง คือ ๑. ศีล มีความประพฤติดี ๒. พาหุสัจจะ ได้เล่าเรียนสดับฟังมาก ๓. กัลยาณมิตตตา มีมิตรดีงาม ๔. โสวจัสสตา เป็นคนว่าง่าย ฟังเหตุผล ๕. กิงกรณีเยสุ ทักขตา เอาใจใส่กิจธุระของเพื่อนร่วมหมู่คณะ ๖. ธัมมกามตา เป็นผู้ใคร่ธรรม ๗. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร ๘. สันตุฏฐี มีความสันโดษ ๙. สติ มีสติ ๑๐. ปัญญา มีปัญญาเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
ใจและอารมณ์ที่เกิดกับใจ คือ จิต และเจตสิก, สิ่งของที่ไม่มีรูป คือรู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่รู้ได้ทางใจ; ดู นาม; คู่กับ รูปธรรม
สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อดังนี้ ๑. เมตตากรุณา ๒. สัมมาอาชีวะ ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม) ๔. สัจจะ ๕. สติสัมปชัญญะ ; บางตำราว่าแปลกไปบางข้อคือ ๒. ทาน ๓. สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน ๕. อัปปมาทะ = ไม่ประมาท ; เบญจกัลยาณธรรม ก็เรียก
สิ่งที่เป็นจริงโดยความหมายสูงสุด ตามหลักอภิธรรมว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
(ธัมมสัมมุขตา วินยสัมมุขตา)
(ในคาถาบางทีเรียกสั้นๆ ว่า พุทธธรรม)
1. ธรรมของพระพุทธเจ้า, พระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า คัมภีร์มหานิทเทศระบุจำนวนไว้ว่ามี ๖ ประการ แต่ไม่ได้จำแนกข้อไว้ อรรถกถาโยงความให้ว่าได้แก่ ๑. กายกรรมทุกอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นไปตามพระญาณ (จะทำอะไรก็ทำด้วยปัญญา ด้วยความรู้เข้าใจ) ๒. วจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๓. มโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน; คัมภีร์สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาแห่งทีฆนิกาย จำแนกพุทธธรรมว่ามี ๑๘ อย่าง คือ ๑. พระตถาคตไม่ทรงมีกายทุจริต ๒. ไม่ทรงมีวจีทุจริต ๓. ไม่ทรงมีมโนทุจริต ๔. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอดีต ๕. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในอนาคต ๖. ทรงมีพระญาณไม่ติดขัดในปัจจุบัน ๗. ทรงมีกายกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๘. ทรงมีวจีกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๙. ทรงมีมโนกรรมทุกอย่างเป็นไปตามพระญาณ ๑๐. ไม่มีความเสื่อมฉันทะ (ฉันทะไม่ลดถอย) ๑๑. ไม่มีความเสื่อมวิริยะ (ความเพียรไม่ลดถอย) ๑๒. ไม่มีความเสื่อมสติ (สติไม่ลดถอย) ๑๓. ไม่มีการเล่น ๑๔. ไม่มีการพูดพลาด ๑๕. ไม่มีการทำพลาด ๑๖. ไม่มีความผลุนผลัน ๑๗. ไม่มีพระทัยที่ไม่ขวนขวาย ๑๘. ไม่มีอกุศลจิต 2. ธรรมที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่พุทธการกธรรม คือบารมี ๑๐ 3. ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ มรรคมีองค์ ๘ ขันธ์ ๕ ปัจจัย ๒๔ เป็นอาทิ
ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรคมีองค์ ๘
หมายถึงธรรมจำพวกที่กำหนดแน่ไม่ได้ว่าข้อไหนจะเกิดขึ้น ได้แก่ เจตสิก ๑๖ เป็นพวกที่เกิดในกุศลจิต ๙ คือ ๑. ฉันทะ ๒. อธิโมกข์ ๓. มนสิการ ๔. อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา) ๕. กรุณา ๖. มุทิตา ๗. สัมมาวาจา (วจีทุจริตวิรัติ) ๘. สัมมากัมมันตะ (กายทุจริตวิรัติ) ๙. สัมมาอาชีวะ (มิจฉาชีววิรัติ) เป็นพวกที่เกิดในอกุศลจิต ๑๐ คือ ๑. ฉันทะ ๒. อธิโมกข์ ๓. มนสิการ ๔. มานะ ๕. อิสสา ๖. มัจฉริยะ ๗. ถีนะ ๘. มิทธะ ๙. อุทธัจจะ ๑๐. กุกกุจจะ นับเฉพาะที่ไม่ซ้ำ (คือเว้น ๓ ข้อแรก) เป็น ๑๖
ความหมายสามัญว่า ความปลอดโปร่งโล่งใจหรือสุขกายสบายใจ เพราะปราศจากภัยอันตรายหรือล่วงพ้นสิ่งที่น่าพรั่นกลัว มาถึงสถานที่ปลอดภัย; ในความหมายขั้นสูงสุด มุ่งเอาพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่เกษมคือโปร่งโล่งปลอดภัยจากโยคกิเลสทั้ง ๔ จำพวก; ดู โยคะ, เกษมจากโยคธรรม
ดู โยคะ
คุณสมบัติของนักปกครองที่ดี สามารถปกครองแผ่นดินโดยธรรม และยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี มี ๑๐ ประการ (นิยมเรียกว่า ทศพิธราชธรรม) คือ ๑. ทาน การให้ทรัพย์สินสิ่งของ ๒. ศีล ประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ ความเสียสละ ๔. อาชชวะ ความซื่อตรง ๕. มัททวะ ความอ่อนโยน ๖. ตบะ ความทรงเผากิเลสตัณหา ไม่หมกมุ่นในความสุขสำราญ ๗. อักโกธะ ความไม่กริ้วโกรธ ๘. อวิหิงสา ความไม่ข่มเหงเบียดเบียน ๙. ขันติ ความอดทนเข็มแข็งไม่ท้อถอย ๑๐. อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม
คู่กับ นามธรรม
ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลก และสัตว์โลกก็เป็นไปตามมัน มี ๘ อย่าง คือ มีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์
๑. หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว
คู่กับ โลกุตตรธรรม
มี ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑; คู่กับ โลกิยธรรม
ดู อริยวัฑฒิ
๑. สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม ๓. โยนิโสมนสิการ ทำในใจโดยแยบคาย ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม, เรียกและเขียนเป็นวุฒิบ้าง วุฑฒิธรรมบ้าง วุฒิธรรมบ้าง, ในบาลีเรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฑฒิ หรือ ปัญญาวุฒิ คือ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา
คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า มี ๕ อย่าง คือ ๑. ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ ๒. ศีล มีความประพฤติดีงาม ๓. พาหุสัจจะ ได้สดับหรือศึกษามาก ๔. วิริยารัมภะ เพียรทำกิจอยู่อย่างจริงจัง ๕. ปัญญา รู้รอบและรู้ชัดเจนในสิ่งที่ควรรู้
ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความประพฤติดีงาม; นิยมแปลกันว่า ศีลและธรรม โดยถือว่า ศีล หมายถึง เว้นชั่วหรือเว้นจากข้อห้าม ธรรม หมายถึง ประพฤติดี หรือทำตามคำแนะนำสั่งสอน, แต่แปลตามหลักว่า ธรรมขั้นศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับสมาธิและปัญญา (ในไตรสิกขา) ความประพฤติดีงามทางกายวาจา, ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ; โดยทางศัพท์ ศีลธรรม แปลว่า “ธรรมคือศีล” หมายถึง ธรรมขั้นศีล หรือธรรมในระดับศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาธรรมภาคปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นต่อจากธรรมขั้นศีล จึงมีธรรมขั้นสมาธิ และธรรมขั้นปัญญา; ได้มีผู้พยายามแปลศีลธรรม อีกอย่างหนึ่งว่า “ศีลและธรรม” (ถ้าแปลให้ถูกต้องจริงต้องว่าศีลและธรรมอื่นๆ คือศีลและธรรมอื่นๆ นอกจากศีล เช่น สมาธิ และปัญญา เป็นต้น เพราะศีลก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง) ถ้าแปลอย่างนี้ จะต้องเข้าใจว่า ศีลธรรม มิใช่เป็นเพียงความประพฤติดีงามเท่านั้น แต่รวมถึง สมถะวิปัสสนา ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เป็นต้น ด้วย
ในสัตตาหกรณียะ หมายถึง ๕ อย่างแรกเท่านั้น เรียกว่า สหธรรมิก ๕ (คัมภีร์ฝ่ายวินัยทั่วไปก็มักหมายเฉพาะจำนวน ๕)
ตรงข้ามกับ อสังขตธรรม
ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓ อย่าง คือ ๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์ ๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งพึงปฏิบัติ ได้แก่ไตรสิกขา ๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรมคือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรคผล และนิพพาน; สัทธรรม ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕. วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา
ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ มี ๗ อย่าง คือ ๑. ธัมมัญญุตา รู้หลักหรือรู้จักเหตุ ๒. อัตถัญญุตา รู้ความมุ่งหมายหรือรู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา รู้จักประมาณ ๕. กาลัญญุตา รู้จักกาล ๖. ปริสัญญุตา รู้จักชุมชน ๗. ปุคคลัญญุตา รู้จักบุคคล; อีกหมวดหนึ่งมี ๘ อย่างคือ ๑. ประกอบด้วย สัทธรรม ๗ ประการ ๒. ภักดีสัตบุรษ (คบหาผู้มีสัทธรรม ๗) ๓. คิดอย่างสัตบุรุษ ๔. ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ ๕. พูดอย่างสัตบุรุษ ๖. ทำอย่างสัตบุรุษ (๓, ๔, ๕, ๖ คือ คิด ปรึกษา พูด ทำ มิใช่เพื่อเบียดเบียนตน และผู้อื่น) ๗. มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ (คือเห็นชอบว่า ทำดีมีผลดี ทำชั่วมีผลชั่วเป็นต้น) ๘. ให้ทานอย่างสัตบุรุษ (คือให้โดยเคารพ เอื้อเฟื้อแก่ของและผู้รับทาน เป็นต้น)
๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา ธรรม ๔ อย่างนี้เรียกเต็มว่า สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม
ภาวะที่ถูกมี ๑๐ อย่าง ๘ ข้อต้น ตรงกับองค์มรรคทั้ง ๘ ข้อ เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ ๙. สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ผลญาณ และปัจจเวกขณญาณ ๑๐. สัมมาวิมุตติ พ้นชอบได้แก่อรหัตตผลวิมุตติ; เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐, ตรงข้ามกับ มิจฉัตตะ ๑๐
๑. ตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๒. ตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๓. ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร ๔. แบ่งปันลาภที่ได้มาโดยชอบธรรม ๕. รักษาศีลบริสุทธิ์เสมอกับเพื่อนภิกษุสามเณร (มีสีลสามัญญตา) ๖. มีความเห็นร่วมกันได้กับภิกษุสามเณรอื่นๆ (มีทิฏฐิสามัญญตา); สารณียธรรม ก็เขียน
ก. ธรรมเหล่าใด เป็นไป ๑. เพื่อความย้อมใจติด ๒. เพื่อความประกอบทุกข์ ๓. เพื่อความพอกพูนกิเลส ๔. เพื่อความมักมากอยากใหญ่ ๕. เพื่อความไม่สันโดษ ๖. เพื่อความคลุกคลีในหมู่ ๗. เพื่อความเกียจคร้าน ๘. เพื่อความเลี้ยงยาก, ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่สัตถุศาสน์, ข. ธรรมเหล่าใดเป็นไป ๑. เพื่อความคลายหายติด ๒. เพื่อความไม่ประกอบทุกข์ ๓. เพื่อความไม่พอกพูนกิเลส ๔. เพื่อความมักน้อย ๕. เพื่อความสันโดษ ๖. เพื่อความสงัด ๗. เพื่อการประกอบความเพียร ๘. เพื่อความเลี้ยงง่าย, ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์
(สิกขาบทที่ ๓ แห่งมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
คือ ผู้ที่เมื่อได้สมาบัติแล้ว สมาบัตินั้นจะไม่เสื่อมไปเลย ได้แก่พระอริยบุคคลทั้งหมด; เทียบ กุปปธรรม
๑. แสดงธรรมไปตามลำดับไม่ตัดลัดให้สับสน หรือขาดความ ๒. ชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้ผู้ฟังเข้าใจ ๓. สอนเขาด้วยเมตตา ตั้งจิตปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ ๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือ ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น
ธรรมเป็นที่มั่น มี ๔ อย่าง คือ ๑. ปัญญา ๒. สัจจะ ๓. จาคะ ๔. อุปสมะ (รู้จักหาความสงบใจ)
ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหานิยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้ ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ ๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ ๔. ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น ๖. ยินดีในเสนาสนะป่า ๗. ตั้งในอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข อปริหานิยธรรมที่ตรัสแก่กษัตริย์วัชชี (วัชชีอปริหานิยธรรม) สำหรับผู้รับผิดชอบต่อบ้านเมือง มีอีกหมวดหนึ่งคือ ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ ๓. ไม่ถืออำเภอใจบัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติ ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม ๔. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่า เป็นสิ่งอันพึงรับฟัง ๕. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย มิให้อยู่อย่างถูกข่มเหงรังแก ๖. เคารพสักการะบูชาเจดีย์ของวัชชี ทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยการทำธรรมิกพลี ๗. จัดให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ (หมายถึงบรรพชิตที่เป็นหลักใจของประชาชน) ตั้งใจให้ท่านที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่โดยผาสุก
๑. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเสพ เช่น ปัจจัยสี่ ๒. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้น ได้แก่ อนิฏฐารมณ์ต่างๆ ๓. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นเสีย เช่น สุราเมรัย การพนัน คนพาล ๔. ของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาเสีย เช่น อกุศลวิตกต่างๆ
หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น
เป็นปิฎกที่สามในพระไตรปิฎก; ดู ไตรปิฎก
|
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรม&nextseek=1030
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B8%C3%C3%C1&nextseek=1030
![]() ![]() | |
![]() | |
บันทึก ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น