พระธรรมคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

โพธิยธรรม37

DevExperience
://
MenuSkip to content
โพธิปักขิยธรรม 7 หมวด 37 ประการ
4 Replies
โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ประกอบด้วยธรรมะ 7 หมวด คือ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรคมีองค์ 8 รวมเป็น 37 จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37


1.) สติปัฏฐาน 4 คือ การเจริญสติระลึกรู้
1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องรูปธรรม
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนความรู้สึกจากสัมผัส
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นที่เรื่องนามธรรมในส่วนของการรับรู้
4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การหมั่นคิดใคร่ครวญโดยเน้นทุกเรื่องทั้งรูปธรรมและนามธรรม

2.) สัมมัปปธาน 4 คือ ความเพียรพยายาม
1. สังวรปธาน คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
2. ปหานปธาน คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. ภาวนาปธาน คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น
4. อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น

3.) อิทธิบาท 4 คือ ทางแห่งความสำเร็จในกิจอันเป็นกุศล
1. ฉันทะ คือ ความพอใจและเต็มใจ
2. วิริยะ คือ ความเพียรพยายาม
3. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ จิตใจจดจ่อ ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่าน
4. วิมังสา คือ ปัญญาที่พิจารณาใคร่ครวญ หาเหตุผล เพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

4.) อินทรีย์ 5 คือ ธรรมที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ในอารมณ์
1. สันธินทรีย์ คือ ความศรัทธาเป็นใหญ่
2. วิริยินทรีย์ คือ ความเพียรเป็นใหญ่
3. สตินทรีย์ คือ สติที่ระลึกรู้ในอารมณ์ปัจจุบันเป็นใหญ่
4. สมาธินทรีย์ คือ การทำจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน
5. ปัญญินทรีย์ คือ ปัญญาทำหน้าที่เป็นใหญ่ด้วยการรู้แจ้ง

5.) พละ 5 คือ ธรรมอันเป็นกำลังที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค
1. สัทธาพละ คือ ความเชื่อ เลื่อมใส ศรัทธาที่เป็นกำลังให้อดทน และเอาชนะธรรมอันเป็นข้าศึก เช่น ตันหา
2. วิริยะพละ คือ ความเพียรพยายาม เป็นกำลังให้ต่อสู้กับความขี้เกียจ
3. สติพละ คือ ความระลึกได้ในอารมณ์สติปัฏฐาน อันจะเป็นกำลังให้ต้านทานความประมาทพลั้งเผลอ
4. สมาธิพละ คือ ความตั้งมั่นจดจ่ออยู่ในอารมณ์กรรมฐาน ทำให้เกิดกำลังต่อสู้เอาชนะความฟุ้งซ่าน
5. ปัญญาพละ คือ เป็นกำลังปัญญาที่เข้มแข็ง ซึ่งทำให้เอาชนะโมหะ คือความโง่ ความหลง

6.) โพชฌงค์ 7 คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
1. สติสัมโพชฌงค์ คือ ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
2. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือ ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
3. วิริยสัมโพชฌงค์ คือ ความเพียร
4. ปีติสัมโพชฌงค์ คือ ความอิ่มใจ
5. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ ความสงบกายใจ
6. สมาธิสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
7. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ คือ ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง

7.) มรรคมีองค์ 8 คือ หนทางปฏิบัติที่นำไปสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน
1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลศ นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

This entry was posted in All Categories, Religion/Myth/History and tagged พละ 5, มรรคมีองค์ 8, สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4, อินทรีย์ 5, โพชฌงค์ 7, โพธิปักขิยธรรม 37 on 19 September 2008.
Post navigation← Import & Export ข้อมูลจาก MySQL (.sql , .csv , .php) แบบนี้ก็มีด้วยความหมายของเลข 13 หลัก ในบัตรประจำตัวประชาชน พร้อม Code JavaScript →
4 thoughts on “โพธิปักขิยธรรม 7 หมวด 37 ประการ”

wd
19 September 2008 at 2:11 pm
ผมคิดว่าสติปัฏฐานคือการตั้งสติให้เป็นไปใน กาย, เวทนา (ความรู้สึกเสวยอารมณ์), จิต(สภาพจิตในขณะนั้น), ธรรม(สภาพธรรมในขณะนั้น) มากกว่านะครับ
คิดว่าการคิดใคร่ครวญ เป็น subset ของการเจริญสติครับ
_/|\_


LookHinPost author
19 September 2008 at 2:31 pm
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ ส่วนเรื่องคำแปลนั้นผมรวบรวมจากหนังสือที่เคยอ่านผ่านตา และจากเว็บไซต์ต่างๆ อีกที อาจจะได้ความหมายที่แตกต่างกันบ้าง ก็ขอให้ผู้อ่านนำไปพิจารณาอีกทีนะครับ


xxxz
6 November 2008 at 1:33 pm
การใคร่ครวญ เป็น head ของการเจริญวิปัสสนา ครับ.
เพราะในมรรคมีองค์ 8 สัมมาทิฏฐิ เป็นประธาน ครับ ไม่ใช่ สติ.

ส่วนสติเป็นบาทฐานของวิปัสสนา ครับ เพราะสติจัดเข้าใจฝักฝ่ายของสมาธิซึ่งเป็นปทัฏฐานของวิปัสสนา.

ในสติปัฏฐานสูตรเอง ก็ระบุไว้แล้วครับทุกบรรพะว่า การเจริญสติ ก็เพียงเพื่อให้เกิดปัญญา(อาศัยการระลึกถึงกายเป็นต้น เพื่อให้เกิดความรู้).

ไม่ใช่เพ่งเฉยๆ ดูไปเรื่อยๆ แล้วจะบรรลุเอง อันนี้ไม่มีเหตุผล เป็นไปไม่ได้ครับ.

หากจะทำความเข้าใจ ให้อ่าน อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร, อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร, อรรถกถาสติปัฏฐานนิทเทส, อรรถกถาสติปัฏฐานวิภังค์, อรรถกถาสติปัฏฐานสังยุตต์, วิภาวินี ปริจเฉท 7,9 เป็นต้น ครับ.

ผมยกมาให้ลิงค์หนึ่ง นะครับ ที่เหลือ ค้นเองนะ.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273

อาจารย์ทีสอนตามพระไตรปิฏก เช่น พระสมบัติ นันทิโก และ อ.สันติ พันธุ์เถกิงอมร
ลองฟังที่นี่ :- http://www.esnips.com/web/asoke2
ที่นี่ก็มาก แต่ไม่ชัด :- http://www.watjagdang.com/SOUND-WMA/FungDhum.htm
AM 1305 จันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 6.00 – 6.45 น.
AM 1035 จันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 7.30 – 8.00 น. และเวลา 21.00 – 23.00 น.
AM 1386 จันทร์ ถึง เสาร์ เวลา 20.30 – 21.00 น.

ขอ cd ที่
http://www.namjaidham.com/viewtopic.php?t=79&postdays=0&postorder=asc&start=0
รายชื่อ cd
http://www.namjaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=446


LookHinPost author
6 November 2008 at 1:35 pm
ยินดีรับความคิดเห็นจากทุกท่านครับ ใครมีไรแนะนำหรือเสนอแนะก็ช่วยๆกันนะครับ

Leave a Reply
Your email address will not be published. Required fields are marked *

Comment

Name *

Email *

Website

CATEGORIES
All Categories
PHP/Java/Python
RaspberryPi/IOIO/Arduino
Android/WindowsPhone
HTML/JavaScript/CSS
FreeBSD/Linux
Shell/Command
SQL/MySQL
Hardware/Network
Software/Tools
Religion/Myth/History
Other
Proudly powered by WordPress

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น