เมนู
ค้นหา
ทำอย่างไร…? ชีวิตของเราจึงจะมีความสุข
บทสวด 7 ตำนาน 12 ตำนาน (แปล)
7 ตำนาน 12 ตำนาน
สามารถ download ได้ที่
http://dhamma.vayoclub.com/index.php?topic=386.0
บทสวดชุมนุมเทวดา พร้อมคำแปล
สะรัชชัง สะเสนัง สะพันธุง นะรินทัง ปะริตตังนุภาโว สะทา รักขะตูติ
ผะริตวานะ เมตตัง สะเมตตา ภะทันตา อะวิกขิตตะจิตตา ปะริตตัง ภะณันตุ
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้มีเมตตา จงแผ่เมตตาจิต ด้วยคิดว่า
ขออานุภาพพระปริตร จงรักษาพระราชาผู้เป็นเจ้าแห่งนรชน
พร้อมด้วยราชสมบัติ พร้อมด้วยราชวงศ์ พร้อมด้วยเสนามาตย์
อย่ามีจิตฟุ้งซ่าน ตั้งใจสวดพระปริตร
สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ขอเชิญเหล่าเทพเจ้าซึ่งสถิตย์อยู่ในสวรรค์ชั้นกามภพก็ดี รูปภพก็ดี
และภุมมเทวดา ซึ่งสถิตย์อยู่ในวิมานหรือยอดเขาและหุบผา ในอากาศก็ดี
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ในเกาะก็ดี ในแว่นแคว้นก็ดี ในบ้านก็ดี ในต้นพฤกษาและป่าชัฏก็ดี ในเรือนก็ดี ในที่ไร่นาก็ดี
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
เทพยดาทั้งหลาย ซึ่งสถิตย์ตามภาคพื้นดิน รวมทั้งยักษ์ คนธรรพ์และพยานาคซึ่งสถิตย์อยู่ในน้ำ บนบก และที่อันไม่ราบเรียบ ก็ดี
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ
ซึ่งอยู่ในที่ใกล้เคียง จงมาประชุมพร้อมกันในที่นี้
คำใดเป็นของพระมุนีผู้ประเสริฐ ท่านสาธุชนทั้งหลาย จงสดับคำข้าพเจ้านั้น
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ดูก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กาลนี้เป็นกาลฟังธรรม
จบบทสวดชุมนุมเทวดา
บทสวด นมการสิทธิคาถา พร้อมคำแปล
โย จักขุมา โมหะมาลาปะกัฏโฐ, ท่านพระองค์ใดมีพระปัญญาจักษุขจัดมลทิน คือโมหะเสียแล้ว,
สามัง วะพุทโธ สุคะโต วิมุตโต, ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโดยลำพังพระองค์เอง, เสด็จไปดีพ้นไปแล้ว,
มารัสสะ ปาสา วินิโม จะยันโต ปาเปสิ เขมัง ชะนะตังวิเนยยัง, ทรงเปลื้องชุมนุมชนอันเป็นเวไนยจากบ่วงแห่งมาร,นำให้ถึงความเกษม,
พุทธังวะรันตัง สิระสานะมามิ, ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายนมัสการ พระพุทธเจ้าผู้บวร พระองค์นั้น,
โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ, ผู้เป็นนาถะแลเป็นผู้นำแห่งโลก,
ตันเตชะสาเต ชะยะสิทธิ โหตุ, ด้วยเดชพระพุทธเจ้านั้น,ขอความสำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแก่ท่าน,
สัพพันตะรายา จะวินาสะเมนตุ, แลขออันตรายทั้งมวลจงถึงความพินาศ,
ธัมโม ธะโช โย วิยะ ตัสสะ สัตถุ, พระธรรมเจ้าใดเป็นดุจธงชัยแห่งพระศาสดาพระองค์นั้น,
ทัสเสสิโลกัสสะ วิสุทธิมัคคัง, สำแดงทางแห่งความบริสุทธิ์แก่โลก,
นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะธารี, เป็นคุณอันนำยุคเข็ญ คุ้มครองชนผู้ทรงธรรม,
สาตาวะโห สันติกะโร สุจิณโณ, ประพฤติดีแล้ว นำความสุขมาทำความสงบ,
ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ, ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายนมัสการ พระธรรมอันบวรนั้น,
โมหัปปะทาลัง อุปะสันตะทาหัง, อันทำลายโมหะระงับความเร่าร้อน,
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ, ด้วยเดชพระธรรมเจ้านั้น ขอความสำเร็จแห่งชนะจงมีแก่ท่าน,
สัพพันตะรายา จะวินาสะเมนตุ, แลขออันตรายทั้งมวลจงถึงความพินาศ,
สัทธัมมะเสนาสุคะตานุโค โย, พระสงฆเจ้าใด,เป็นเสนาประกาศพระสัทธรรม, ดำเนินตามพระศาสดาผู้เสด็จดีแล้ว,
โลกัสสะ ปาปูปะกิเลสะเชตา, ผจญเสียซึ่งอุปกิเลสอันลามกของโลก,
สันโต สะยัง สันตินิโยชะโก จะ, เป็นผู้สงบเองด้วยประกอบผู้อื่นไว้ในความสงบด้วย,
สะวากขาตะธัมมัง วิทิตัง กะโรติ, ย่อมทำพระธรรม อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว ให้มีผู้รู้ตาม,
สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ, ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายนมัสการ พระสงฆเจ้าผู้บวรนั้น,
พุทธา นุพุทธัง สะมะสีละทิฎฐิง, ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้ามีศีลแลทิฎฐิเสมอกัน,
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ, ด้วยเดชพระสงฆเจ้านั้น ขอความ สำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแก่ท่าน,
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ, แลขออันตรายทั้งมวลจงถึงความ พินาศเทอญ
หมายเหตุ
บทนมการสิทธิคาถานี้ เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเพื่อใช้สวดแทนบท สัมพุทเธ ด้วยเหตุผลที่ว่าบทสัมพุทเธแสดงเหตุผลแบบมหายาน แต่บทสัมพุทเธก็ยังนิยมสวดกันอยู่ในปัจจุบัน ส่วนมากนิยมสวด นมการสิทธิคาถานี้สลับกับบท สัมพุทเธ คือหากสวดบทสัมพุทเธก็ไม่ต้องสวดนมการสิทธิคาถา หรือหากสวดบทนมการสิทธิคาถาแล้วก็ไม่ต้องสวดสัมพุทเธ แต่บางแห่งนิยมสวดทั้งสองบทในงานเดียวกันก็มี
เนื้อหาของบทนมการสิทธิคาถานี้เป็นการขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ให้ช่วยดลบรรดาลชัยชนะและความสำเร็จให้เกิดขึ้น พร้อมกับปัดเป่าสรรพอันตรายและความไม่เป็นสิริมงคลให้มลายหายไป
บทสวด สัมพุทเธ พร้อมคำแปล
สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
(คำแปล)ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า 512,028 พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น โดยเคารพด้วย
นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
(คำแปล)ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม ขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัททวะทั้งหลายทั้งปวง ถึงแม้อันตรายเป็นอันมาก ก็จงพินาศไปโดยสิ้นเชิง
สัมพุทเธ ปัญจะปัญญา สัญจะ จะตุวีสะติสะหัสสะเก
ทะสะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
(คำแปล)ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า 1,024,055 พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น โดยเคารพด้วย
นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
(คำแปล)ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม ขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัททวะทั้งหลายทั้งปวง ถึงแม้อันตรายเป็นอันมาก ก็จงพินาศไปโดยสิ้นเชิง
สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก
วีสะติสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง
(คำแปล)ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า 2,048,109 พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น โดยเคารพด้วย
นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ
(คำแปล)ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม ขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัททวะทั้งหลายทั้งปวง ถึงแม้อันตรายเป็นอันมาก ก็จงพินาศไปโดยสิ้นเชิง
บทสวด นโมการรัฏฐกคาถา พร้อมคำแปล
นะโม อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ มเหสิโน,
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค, อรหันตสัม มา สัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาซึ่งประโยชน์อันใหญ่,
นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ สะวากขาตัสเสวะ เตนิธะ,
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมอันสูงสุดใน พระศาสนานี้ ที่พระองค์ตรัสดีแล้ว,
นะโม มะหาสังฆัสสาปิ วิสุทธะสิละทิฏฐิโน,
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ ผู้มีศีลแลทิฏฐิอันหมดจด,
นะโม โอมาตยารัทธัสสะ ระตะนัตตะยัสสะ สาธุกัง,
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยที่ปรารภแล้ว ว่าโอมดังนี้ ให้สำเร็จประโยชน์
นะโม โอมะกาตีตัสสะ ตัสสะ วัตถุตตะยัสสะปิ,
ขอนอบน้อมแม้แด่หมวดวัตถุ ๓ อันล่วงพ้นโทษต่ำช้านั้น,
นะโม การัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา,
ด้วยความประกาศการกระทำความนอบน้อม, อุปัทวะทั้งหลายจงปราศจากไป,
นะโม การานุภะเวนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา,
ขอความสวัสดีจงมีทุกเมื่อ,
นะโม การัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ เตชะวา,
ด้วยเดชแห่งการกระทำความนอบน้อม,เราจงเป็นผู้มีเดช ในมงคลพิธีเถิด
บทสวด มงคลสูตรอรรถแปล ๓๘ ประการ พร้อมคำแปล
บทขัดมังคะละสุตตัง
เย สันตา สันตะจิตตา ติสะระณะสะระณา เอตถะ โลกันตะเร วา
เทพเจ้าเหล่าใด เป็นภุมเทวดา และมิใช่ภุมเทวดาก็ดี ผู้มีจิตอันรำงับ มีพระไตรรัตน์เป็นที่พึ่งเป็นที่ระลึก ซึ่งอยู่ในโลกนี้หรือในระหว่างโลก
ภุมมาภุมมา จะ เทวา คุระคะณะคะหะณัพยาวะฏา สัพพะกาลัง
ผู้ขวนขวายในการถือเอาซึ่งหมู่แห่งคุณสิ้นกาลทั้งปวง
เอเต อายันตุ เทวา วะระกะนะกะมะเย เมรุราเช วะสันโต สันโต
ขอเทพเจ้าเหล่านั้นจงมา อนึ่ง ขอเทพเจ้า ผู้สถิตอยู่ ณ เขาเมรุราชแล้วด้วยทอง อันประเสริฐจงมาด้วย
สันโต สะเหตุง มุนิวะระวะจะนัง โสตุมัคคัง สะมัคคัง ฯ
ขอเทพเจ้าเหล่าสัตบุรุษ จงมาสู่ที่สมาคม เพื่อฟังคำของพระมุนีผู้ประเสริฐเป็นธรรมอันเลิศ เป็นเหตุแห่งความยินดี
สัพเพสุ จักกะวาเฬสุ ยักขา เทวา จะ พรัหมุโน
ยักษ์ทั้งหลาย เทพเจ้าทั้งหลาย และพรหมทั้งหลายในจักรวาลทั้งหมด จงมาด้วย
ยัง อัมเหหิ กะตัง ปุญญัง สัพพะสัมปัตติสาธะกัง
บุญอันใด ให้สำเร็จสมบัติทั้งปวงอันเราทั้งหลายกระทำแล้ว
สัพเพ ตัง อะนุโมทิตวา สะมัคคา สาสะเน ระตา
ขอเหล่าเทพเจ้าทั้งสิ้น จงอนุโมทนา ซึ่งบุญอันนั้นแล้วพร้อมเพรียงกันยินดีในพระศาสนา
ปะมาทะระหิตา โหนตุ อารักขาสุ วิเสสะโต
เป็นผู้ปราศจากความประมาทในอันที่จะรักษาพระศาสนาและโลกเป็นพิเศษ
สาสะนัสสะ จะ โลกัสสะ วุฑฒี ภะวะตุ สัพพะทา
ขอความเจริญจงมีทุกเมื่อ
สาสะนัมปิ จะ โลกัญจะ เทวา รักขันตุ สัพพะทา
ขอเทพเจ้าทั้งหลาย จงอภิบาล แม้ซึ่งพระศาสนาและโลกในกาลทุกเมื่อ
สัทธิง โหนตุ สุขี สัพเพ ปะริวาเรหิ อัตตะโน
ขอสรรพสัตว์ทั้งหลาย พร้อมด้วยบริวารทั้งหลายของตน
อะนีฆา สุมะนา โหนตุ สะหะ สัพเพหิ ญาติภิ
จงเป็นผู้มีสุขสำราญ จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์สบายใจ พร้อมด้วยญาติทั้งหมด ฯ
ยัญจะ ทวาทะสะ วัสสานิ จินตะยิงสุ สะเทวะกา
มนุษย์ทั้งหลาย พร้อมด้วยเทวดามาดำริหามงคลอันใดสิ้น ๑๒ ปี
จิรัสสัง จินตะยันตาปิ เนวะ ชานิงสุ มังคะลัง
มนุษย์และเทวดาเหล่านั้น ในหมื่นจักรวาล แม้เมื่อคิดหาสิ้นกาลนาน
จักกะวาฬะสะหัสเสสุ ทะสะสุ เยนะ ตัตตะกัง
ก็มิได้รู้ซึ่งมงคลอันนั้น ด้วยกาลมีประมาณเท่าใด
กาลัง โกลาหะลัง ชาตัง นาวะ พรัหมะนิเวสะนา
โกลาหลเกิดแล้ว ตราบเท่าที่อยู่แห่งพรหม สิ้นกาลมีประมาณเท่านั้น
ยัง โลกะนาโถ เทเสสิ สัพพะปาปะวินาสะนัง
สมเด็จพระโลกนาถ ได้เทศนามงคลอันใด เครื่องยังลามกทั้งสิ้น ให้ฉิบหายไป
ยัง สุตวา สัพพะทุกเขหิ มุจจันตาสังขิยา นะรา
นรชนทั้งหลายนับไม่ถ้วน ได้ฟังมงคลอันใดแล้วพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
เอวะมาทิคุณูเปตัง มังคะลันตัมภะณามะ เห ฯ
เราทั้งหลาย จงกล่าวมงคลอันนั้น อันประกอบด้วยคุณ มีอย่างนี้เป็นต้นเทอญ ฯ
บทมังคะละสุตตัง
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตวะนัง โอภาเสตตะวา เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิตตะวา ภะคะวันตัง อะภิวาเทตตะวา เอกะมันตัง อัฎฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
ข้าพเจ้า ( คือ พระอานนทเถระ ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหารอารามของอนาถบิณฑกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นแล เทพดาองค์ใดองหนึ่ง ครั้นเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งนัก ยังพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่โดยที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นเทพยดานั้นยืนอยู่ในที่ีสมควร ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
พะหุ เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะตัง ฯ
หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย ขอพระองค์จงทรงเทศนามงคลอันสูงสุด.
อะเสวะนา พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ความไม่คบคลพาลทั้งหลาย ๑ ความคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑
ความบูชาชนที่ควรปูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ปะฎิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตมัง ฯ
ความอยู่ในประเทศอันสมควร ๑
ความเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑
ความตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลสูงสุด.
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ความได้ฟังแล้วมาก ๑ ศิลปศาสตร์ ๑
วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑
วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
มาตาปิตุอุปัฎฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ความบำรุงมารดาและบิดา ๑ ความสงเคราะห์ลูกและเมีย ๑
การงานทั้งหลายอันไม่อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ทานัญญะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ความให้ ๑ ความประพฤติธรรม ๑
ความสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑
กรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ความงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฎฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ความเคารพ ๑ ความไม่จองหอง ๑ ความยินดีด้วยของอันมีอยู่ ๑
ความเป็นผู้รู้อุปการะอันท่านทำแล้วแก่ตน ๑
ความฟังธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑
ความเห็นสมณะทั้งหลาย ๑
ความเจรจาธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
ตะโป จะ พรหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ความเพียรเผากิเลส ๑ ความประพฤติอย่างพรหม ๑
ความเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ ความทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด….
ผุฎฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว
ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด.
เอตาทิสานิ กัตตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ
เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำมงคลทั้งหลาย เช่นนี้แล้ว
เป็นผู้ไม่พ้ายแพ้ในที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง
ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นแล.
มังคะละสุตตัง นิฎฐิตัง ฯ จบมงคลสูตร.
บทสวด รัตนสูตร พร้อมคำแปล
ขัดระตะนะสุตตัง
– ราชะโต วา โจระโต วา มะนุสสะโต วา อะมะนุสสะโต วา อัคคิโต วา อุทะกะโต วา ปิสาจะโต วา ขาณุกะโต วา กัณฏะกะโต วา นักขัตตะโต วา ชะนะปะทะโรคะโต วา อะสัทธัมมะโต วา อะสันทิฏฐิโต วา อะสัปปุริสะโต วา จัณฑะหัตถิอัสสะมิคะโคณะกุกกุระอะหิวิจฉิกะมะนิสัปปะทีปิอัจฉะตะ รัจฉะสุกะระมะหิสะ ยักขะรักขะสาทีหิ นานาภะยะโต วา นานาโรคะโต วา นานาอุปัททะวะโต วา อารักขังคัณหันตุ ฯ
– ขอเหล่าเทพดาจงคุ้มครองให้พ้นจากราชภัย โจรภัย มนุสสภัย อมนุสสภัย อัคคีภัย อุทกภัย ภัยจากปีศาจ ภัยจากเคราะห์ร้ายยามร้าย จากโรคภัยไข้เจ็บ จากอสัทธรรม จากมิจฉา ทิฏฐิ คือความเห็นผิด จากคนชั่ว จากภัยต่างๆ อันเกิดแต่สัตว์ร้ายนานาชนิด และจากอมนุษย์ มียักษ์และนางผีเสื้อน้ำ เป็นต้น จากโรคต่างๆ จากอุปัททวะต่างๆ
– ปะณิธานะโต ปัฏฐายะ ตะถาคะตัสสะ ทะสะ ปาระมิโย ทะสะ อุปะปาระมิโย ทะสะ ปะระมัตถะปาระมิโย ปัญจะ มะหาปะริจจาเค ติสโส จะริยา ปัจฉิมัพภะเว คัพภาวักกันติง ชาติง อะภินิกขะมะนัง ปะธานะจะริยัง โพธิปัลลังเก มาระวิชะยัง สัพพัญญุตะญาณัปปะฏิเวธัง นะวะ โลกุตตะระธัมเมติ สัพเพปิเม พุทธะคุเณ อาวัชชิตวา เวสาลิยา ตีสุ ปาการันตะเรสุ ติยามะรัตติง ปะริตตัง กะโรนโต อายัสมา อานันทัตเถโร วิยะ การุญญะจิตตัง อุปัฏฐะเปตวา ฯ
– เราทั้งหลาย จงตั้งจิตอันประกอบไปด้วยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ดังพระอานนทเถระผู้มีอายุ นึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลายแม้ทั้งปวงของพระตถาคตเจ้า จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ เสด็จลงสู่คัพโภทร ในภพมีในที่สุด ประสูติ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ บำเพ็ญทุกขกิริยาชนะมาร ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์นวโลกุตรธรรม ๙ ดังนี้ แล้วกระทำพระปริตรตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ในภายในกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลี
– โกฏิสะตะสะหัสเสสุ จักกะวาเฬสุ เทวะตา ยัสสาณัมปะฏิคคัณหันติ ยัญจะ เวสาลิยัมปุเร
โรคามะนุสสะทุพภิกขะสัมภูตันติวิธัมภะยัง ขิปปะมันตะระธาเปสิ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
– เทวดาทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล ย่อมรับเอาแม้ซึ่งอาชญาแห่งพระปริตรอันใด อนึ่ง พระปริตรอันใด ยังภัย ๓ ประการอันเกิดจากโรค อมนุษย์ และข้าวแพงในเมืองเวสาลี ให้อันตรธานไปโดยเร็วพลัน เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ.
บทระตะนะสุตตัง
– ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
– หมู่ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูตทั้งปวงจงเป็นผู้ดีใจและจงฟังภาษิตโดยเคารพ เพราะเหตุนั้นแล ท่านภูตทั้งปวงจงตั้งใจฟัง กระทำไมตรีจิต ในหมู่มนุษยชาติ ประชุมชนมนุษย์เหล่าใด ย่อมสังเวยทั้งกลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาหมู่มนุษย์เหล่านั้น
– ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ อันใดอันหนึ่ง ในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือรัตนะอันใด อันประณีตในสวรรค์ รัตนะอันนั้นเสมอด้วยพระตถาคตเจ้าไม่มีเลย แม้อันนี้ เป็นรัตนะ อันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– พระศากยมุนีเจ้า มีพระหฤทัยดำรงมั่น ได้บรรลุธรรมอันใดเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่สิ้นราคะ เป็นอมฤตธรรมอันประณีต สิ่งไรๆ เสมอด้วยพระธรรมนั้นย่อมไม่มี แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรงสรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิอันใด ว่าเป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวซึ่งสมาธิอันใด ว่าให้ผลโดยลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้นย่อมไม่มี แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระธรรม ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– บุคคลเหล่าใด ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นเป็นสาวกของพระสุคต ควรแก่ทักษิณาทาน ทานทั้งหลาย อันบุคคลถวายในท่านเหล่านั้น ย่อมมีผลมาก แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่าใด ในศาสนาพระโคดมเจ้า ประกอบดีแล้ว มีใจมั่นคง มีความใคร่ ออกไปแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ถึงพระอรหัตผลที่ควรถึงหยั่งเข้าสู่พระนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลส โดยเปล่าๆ แล้วเสวยผลอยู่ แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– เสาเขื่อนที่ลงดินแล้ว ไม่หวั่นไหวด้วยพายุ ๘ ทิศ ฉันใด ผู้ใด เล็งเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นสัตบุรุษผู้ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม อุปมาฉันนั้น แม้อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– พระโสดาบันจำพวกใด กระทำให้แจ้งอยู่ ซึ่งอริยสัจทั้งหลายอันพระศาสดาผู้มีปัญญาอันลึกซึ้งแสดงดีแล้ว พระโสดาบันจำพวกนั้น ยังเป็นผู้ประมาทก็ดี ถึงกระนั้น ท่านย่อมไม่ถือเอาภพที่ ๘ (คือเกิดอีกอย่างมาก ๗ ชาติ) แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ ตะยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรมเหล่านั้น อันพระโสดาบัน ละได้แล้ว พร้อมด้วยทัสสนะสมบัติ (คือโสดาปัตติมรรค) ทีเดียว อนึ่งพระโสดาบันเป็นผู้พ้นแล้ว จากอบายทั้ง ๔ ไม่อาจเพื่อจะกระทำอภิฐานทั้ง ๖ (คืออนันตริยกรรม ๕ และการเข้ารีต) แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– พระโสดาบันนั้น ยังกระทำบาปกรรม ด้วยกายหรือวาจาหรือใจได้บ้าง (เพราะความพลั้งพลาด) ถึงกระนั้นท่านไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรมอันนั้น ความเป็นผู้มีทางพระนิพพาน อันเห็นแล้ว ไม่ควรปกปิดบาปกรรมนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– พุ่มไม้ในป่า มียอดอันบานแล้ว ในเดือนต้นคิมหะแห่งคิมหฤดูฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมให้ถึงพระนิพพาน เพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย มีอุปมาฉันนั้น แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐทรงทราบธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า
ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้
– ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– กรรมเก่าของพระอริยบุคคลเหล่าใดสิ้นแล้ว กรรมสมภพใหม่ย่อมไม่มี พระอริยบุคคลเหล่าใด มีจิตอันหน่ายแล้วในภพต่อไป พระอริยบุคคลเหล่านั้น มีพืชสิ้นไปแล้ว มีความพอใจงอกไม่ได้แล้ว เป็นผู้มีปัญญา ย่อมปรินิพพานเหมือนประทีปอันดับไป ฉะนั้น แม้อันนี้ เป็นรัตนะอันประณีตในพระสงฆ์ ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี
– ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มาแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี
– ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง ธัมมัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระธรรมอันมาแล้วอย่างนั้น อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี
– ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง สังฆัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
– ภูตประจำถิ่นเหล่าใด ประชุมกันแล้วในพระนครนี้ก็ดี เหล่าใดประชุมกันแล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลาย จงนมัสการพระสงฆ์ผู้มาแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทพดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี.
บทสวด กรณียเมตตสูตร พร้อมคำแปล
บทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
ยัสสานุภาวะโต ยักขา ยัมหิ เจวานุยุญชันโต
สุขัง สุปะติ สุตโต จะ เอวะมาทิคุณูเปตัง
เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง รัตตันทิวะมะตันทิโต
ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
แปลบทขัดกะระณียะเมตตะสุตตัง
เหล่าเทพยาทั้งหลาย ย่อมไม่แสดงอาการอันน่าสะพรึงกลัว เพราะอานุภาพแห่งพระปริตรนี้ อนึ่งบุคคลไม่เกียจคร้าน สาธยายอยู่เนือง ๆ ซึ่งพระปริตรนี้ ทั้งในกลางวันและกลางคืนย่อมหลับเป็นสุข ขณะหลับย่อมไม่ฝันร้าย ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงสวดพระปริตร อันประกอบไปด้วยคุณดังกล่าวมา ดังนี้เทอญ
บทกะระณียะเมตตะสุตตัง
ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเป็นสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
๑. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ . . . . . . . ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ . . . . . . . . . . . . สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
กิจที่คนฉลาดในสิ่งที่มีประโยชน์ และมุ่งหมายจะบรรลุทางสงบ จะพึงทำ ก็คือ เป็นคนกล้า, เป็นคนซื่อ, เป็นคนตรง, ว่าง่าย, อ่อนโยน, ไม่เย่อหยิ่ง
๒. สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ . . . . . . . .อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินท์ริโย จะ นิปะโก จะ . . . . . . . . อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้สันโดษ, เลี้ยงง่าย, มีภาระกิจน้อย, คล่องตัว, ระมัดระวังการแสดงออก, รู้ตัว, ไม่คะนอง, ไม่คลุกคลีในตระกูลทั้งหลาย
๓. นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ . . . . . เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ . . . . . . . . . . . . สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ไม่ประพฤติสิ่งที่วิญญูชนตำหนิติเตียนได้, พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขกายสบายใจ มีความเกษมสำราญเถิด
๔. เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ . . . . . . . . . . . . .ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา . . . . . . . . . . .มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ขอสัตว์ทั้งหลายบรรดามี ที่เป็นสัตว์ตัวอ่อน หรือตัวแข็งก็ตาม เป็นสัตว์-มีลำตัวยาวหรือ ลำตัวใหญ่ก็ตาม มีลำตัวปานกลาง หรือตัวสั้นก็ตาม ตัวเล็กหรือตัวโตก็ตาม
๕. ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา . . . . . . . . . เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา . . . . . . . . . . . . .สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ที่มองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตาม ที่อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ก็ตาม ที่เกิดแล้ว หรือ กำลังหาที่เกิดอยู่ก็ตาม ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงนั้นจงสุขกายสบายใจเถิด
๖. นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ . . . . . . . . .นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พ์ยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา . . . . . . .นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
บุคคลไม่พึงหลอกลวงผู้อื่น ไม่ควรดูหมิ่นเหยียดหยามใคร ๆ ไม่ควรมุ่งร้าย ต่อกันและกัน เพราะมีความขุ่นเคืองโกรธแค้นกัน
๗. มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง . . . . . . . . . . อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ . . . . . . . . . . . . . . มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
คนเราพึงแผ่ความรักความเมตตา ไปยังสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ดุจดังมารดาถนอม และปกป้องบุตรสุดที่รักคนเดียวด้วยชีวิต ฉันนั้น
๘. เมตตัญจะ สัพพะโลกัส์มิง . . . . . . . . .มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ . . . . . . . . . . อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
พึงแผ่เมตตาจิต ไม่มีขอบเขต ไม่คิดผูกเวร ไม่เป็นศัตรู อันหาประมาณไม่ได้ ไปยังสัตว์โลกทั้งปวงทั่วทุกสารทิศ
๙. ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา . . . . . . . . . . . สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ . . . . . . . . . . พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ตลอดเวลาที่ตนยังตื่นอยู่ พึงตั้งสติ อันประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นไว้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า การอยู่ด้วยเมตตานี้ เป็นพรหมวิหาร (การอยู่อย่างประเสริฐ)
๑๐. ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา . . . . .ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง . . . . . . . . . . . . . .นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ
ท่านผู้เจริญเมตตาจิต ที่ละความเห็นผิดแล้ว มีศีล มีความเห็นชอบ ขจัดความใคร่ ในกามได้ ก็จะไม่กลับมาเกิดอีกเป็นแน่แท้
บทสวด ขันธปริตตสูตร พร้อมคำแปล
บทขัดขันธะปะริตตะคาถา
สัพพาสีวิสะชาตีนัง
ทิพพะมันตาคะทัง วิยะ
ยันนาเสติ วิสัง โฆรัง
เสสัญจาปิ ปะริสสะยัง
อาณักเขตตัมปิ สัพพัตถะ
สัพพะทา สัพพะปาณินัง
สัพพะโสปิ นิวาเรต
ปะริตตันตัมะภะณามะ เห ฯ
คำแปล บทขัดขันธะปะริตตะคาถา
พระปริตรอันใด ย่อมยังพิษอันร้ายแห่งงูร้ายทั้งหลาย ให้ฉิบหายไป ดุจยาวิเศษอันประกอบด้วยมนต์ทิพย์ อนึ่งพระปริตรอันใด ย่อมห้ามกันอันตรายอันเศษของสัตว์ทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง ในอาณาเขต ในที่ทั้งหมด ในกาลทุกเมื่อ เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ.
**********
ขันธะปะริตตะคาถา
วิรูปักเขหิ เม เมตตัง
เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง
เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง
เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง
เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ
มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ
มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา
สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ
มา กิญจิ ปาปะมาคะมา
อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี
สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ
ภูตานิ โสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง ฯ
คำแปล ขันธะปะริตตะคาถา
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลวิรูปักข์ด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลเอราบถด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลฉัพยาบุตรด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับพระยานาคทั้งหลาย สกุลกัณหาโคตมกะด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลายที่มี ๔ เท้าด้วย, ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามากด้วย, สัตว์ ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้า อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มากเท้าอย่าเบียดเบียนเรา ขอสรรพสัตว์มีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด โทษลามกไรๆ อย่าได้ มาถึงแล้วแก่สัตว์เหล่านั้น
พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณไม่มีประมาณ พระธรรม ทรงพระคุณไม่มีประมาณ พระสงฆ์ ทรงพระคุณไม่มีประมาณ สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะเข็บ ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู เหล่านี้ล้วนมีประมาณ (ไม่มากเหมือนคุณพระรัตนตรัย) ความ รักษา อันเรากระทำแล้ว ความป้องกัน อันเรากระทำแล้วหมู่สัตว์ทั้งหลาย จงหลีกไปเสีย เรานั้นกระทำการนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ทำการนอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์อยู่
บทสวด โมรปริตสูตร พร้อมคำแปล
บทขัดโมระปะริตตัง
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง โมระโยนิยัง
เยนะ สังวิหิตารักขัง มะหาสัตตัง วะเนจะรา
จิรัสสัง วายะมันตาปิ เนวะ สักขิงสุ คัณหิตุง
พรัหมะมันตันติ อักขาตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
แปลบทขัดโมระปะริตตัง
พวกพรานไพร แม้พยายามอยู่ช้านานไม่อาจนั่นเทียว เพื่อจะจับพระมหาสัตว์ ผู้บังเกิดแล้วในกำเนิดแห่งนกยูง
ผู้ยังโพธิสมภารให้บริบูรณ์อยู่ มีความรักษาอันตนจัดแจงดีแล้ว ด้วยพระปริตรอันใด เราทั้งหลาย
จงสวดพระปริตรอันนั้น ที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกว่า พรหมมนตร์ เทอญ.
บทโมระปะริตตัง
อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
พระอาทิตย์เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง อุทัยขึ้นมา
เพราะเหตุนั้น ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง ข้าทั้งหลาย
อันท่านปกครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวง
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้า อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาซึ่งข้า
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนา ฯ
ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อมของข้า
จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่วิมุตติธรรม นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงเที่ยวไป เพื่ออันแสวงหาอาหาร
อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
พระอาทิตย์นี้เป็นดวงตาของโลก เป็นเอกราช มีสีเพียงดังสีแห่งทองยังพื้นปฐพีให้สว่าง ย่อมอัสดงคตไป
เพราะเหตุนั้น ข้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเพียงดังสีแห่งทอง ยังพื้นปฐพีให้สว่าง ข้าทั้งหลาย
อันท่านปกครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้ถึงซึ่งเวทในธรรมทั้งปวง
พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้า อนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น จงรักษาซึ่งข้า
นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติ ฯ
ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อมของข้า
จงมีแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้า จงมีแด่วิมุตติธรรม นกยูงนั้นได้กระทำปริตรอันนี้แล้ว จึงสำเร็จความอยู่แล.
บทสวด ธชัคคสูตร พร้อมคำแปล
บทขัดธชคฺคปริตฺตํ
ยสฺสานุสฺสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบที่พึ่ง แม้ในอากาศดุจในแผ่นดินในกาลทุกเมื่อ
ปติฏฺฐมธิคจฺฉนฺติ ภูมิยํ วิย สพฺพทา
และความนับสัตว์ทั้งหลายผู้พ้นแล้วจากข่าย
สพฺพูปทฺทวชาลมฺหา ยกฺขโจราทิสมฺภวา
คืออุปัทวะทั้งปวงอันเกิดแก่สัตว์มียักษ์และโจรเป็นต้นมิได้มี
คณนา น จ มุตฺตานํ
แม้ด้วยการตามระลึกพระปริตรอันใด
ปริตฺตนฺตมฺภณาม เหฯ
เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้นเทอญ ฯ
บทธะชัคคะปะริตตัง
เอวมฺเม สุตํ
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ฯ
เอกํ สมยํ ภควา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า
สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม
เสด็จประทับอยู่ ที่เชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ฯ
ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ดังนี้แลฯ
ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ํ ฯ
พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ฯ
ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว
เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยูโฬฺห อโหสิ ฯ
สงครามระหว่างเทพดากับอสูรได้เกิดประชิดกันแล้ว
อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช
เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ
ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า
สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดาผู้ไปสู่สงคราม ในสมัยใด
มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเรานั่นเทียว
มมญฺหิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่
ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ เม ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
อันนั้นจักหายไป ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา
อถ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้น ท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี
ปชาปติสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่
ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
อันนั้นจักหายไปฯ ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี
อถ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ
วรุณสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่
ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปหียิสฺสติ ฯ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ
อถอีสานสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน
อีสานสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานอยู่
ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดีอันใดจักมี
โส ปหียิสฺสตีติ ฯ
อันนั้นจักหายไป ดังนี้
ตํ โข ปน ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล
สกฺกสฺส วา เทวานมินฺทสฺส ธชคฺคํอุลฺโลกยตํ
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม
ปชาปติสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีก็ตาม
วรุณสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณก็ตาม
อีสานสฺส วาเทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานก็ตาม
ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปหีเยถาปิ โนปิ ปหีเยถ
อันนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
ตํ กิสฺส เหตุ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร
สกฺโก หิ ภิกฺขเว เทวานมินฺโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา
อวีตราโค อวีตโทโส อวีตโมโห
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป
ภีรุ ฉมฺภี อุตฺราสี ปลายีติ ฯ
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้
อหญฺจ โข ภิกฺขเว เอวํ วทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า
สเจ ตุมฺหากํ ภิกฺขเว อรญฺญคตานํ วา รุกฺขมูลคตานํ วา สุญฺญาคารคตานํ วา
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม
อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด
มเมว ตสฺมึ สมเย อนุสฺสเรยฺยาถ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า
อิติปิ โส ภควา
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น
อรหํ
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา
สมฺมาสมฺพุทฺโธ
เป็นผู้รู้ชอบเอง
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ
สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้ทรงรู้โลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้
มมํ หิ โว ภิกฺขเว อนุสฺสรตํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่
ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปหียิสฺสติ ฯ
อันนั้นจักหายไป
โน เจ มํ อนุสฺสเรยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา
อถ ธมฺมํ อนุสฺสเรยฺยาถ
ทีนั้นพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
สนฺทิฏฺฐิโก
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง
อกาลิโก
เป็นของไม่มีกาลเวลา
เอหิปสฺสิโก
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้
โอปนยิโก
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺูหีติ ฯ
เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้
ธมฺมํ หิ โว ภิกฺขเว อนุสฺสรตํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธรรมอยู่
ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ธมฺมํ อนุสฺสเรยฺยาถ
ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่ตามระลึกถึงพระธรรม
อถ สงฺฆํ อนุสฺสเรยฺยาถ
ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว
ยทิทํ
คือ
จตฺตาริ ปุริสยุคานิ
คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔
อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ
ทกฺขิเณยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน
อญฺชลิกรณีโย
ท่านเป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลีกรรม
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ ฯ
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งไปกว่าดังนี้
สงฺฆํ หิ โว ภิกฺขเวอนุสฺสรตํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่
ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี
โส ปหียิสฺสติ
อันนั้นจักหายไป
ตํ กิสฺส เหตุ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร
ตถาคโต หิ ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
วีตราโค วีตโทโส วีตโมโห
มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว
อภีรุ อจฺฉมฺภี
เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด
อนุตฺตราสี อปลายีติ ฯ
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล
อิทมโวจ ภควา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้
อิทํ วตฺวาน สุคโต
พระผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว
อถาปรํ เอตทโวจ สตฺถา
ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้ อีกว่า
อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา สุญฺญาคาเรว ภิกฺขโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือในรุกขมูลหรือในเรือนเปล่า
อนุสฺสเรถ สมฺพุทฺธํ ภยํ ตุมฺหาก โน สิยา
พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย
โน เจ พุทฺธํ สเรยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธ
โลกเชฏฺฐํ นราสภํ
ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชน
อถ ธมฺมํ สเรยฺยาถ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระธรรม
นิยฺยานิกํ สุเทสิตํ
อันเป็นเครืองนำออกซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว
โน เจ ธมฺมํ สเรยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม
นิยฺยานิกํ สุเทสิตํ
อันเป็นเครืองนำออกซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว
อถ สงฺฆํ สเรยฺยาถ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์
ปุญฺญกฺเขตฺตํ อนุตฺตรํ
ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า
เอวํ พุทฺธํ สรนฺตานํ ธมฺมํ สงฺฆญฺจ ภิกฺขโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้
ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส น เหสฺสตีติ ฯ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแลฯ
บทสวด อาฏานาฏิยสูตร พร้อมคำแปล
บทนำ อาฏานาฏิยะปะริตตัง
อัปปะสันเนหิ นาถัสสะ สาสะเน สาธุสัมมะเต
พระพุทธเจ้าผู้แกล้วกล้าใหญ่ยิ่ง ทรงแสดงพระปริตรอันใดเพื่อความไม่เบียดเบียนกัน
อะมะนุสเสหิ จัณเฑหิ สะทา กิพพิสะการิภิ
ด้วยความคุ้มครองของตนแก่บริษัท ๔ เหล่า อันเกิดจากหมู่อมนุษย์ที่ร้ายกาจ กระทำกรรมอันหยาบช้า ในกาลทุกเมื่อ
ปะริสานัญจะ ตัสสันนะมะหิงสายะ จะ
ผู้มิได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า
คุตติยา ยันเทเสสี มะหาวีโร
เป็นผู้ที่พึ่งของโลกอันสัตบุรุษ สมมติว่าเป็นศาสนาอันดี
ปะริตตันตัมภะณะนะ เห ฯ
เราทั้งหลาย จงสวดพระปริตรอันนั้นเทอญ
บทอาฏานาฏิยะปะริตตัง
วิปัสสิสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต
สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
เวสสะภุสสะ นะมัตถุ น๎หาตะกัสสะ ตะปัสสิโน
นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต
กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สัก๎ยะปุตตัสสะ สิรีมะโต
โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง
เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง
วิชชาจาระระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทังฯ
นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภีโต คุณสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วะระสาระถี
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สัก๎ยะปุงคะโวฯ
เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย
สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา
สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา
พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา
ท๎วัตติงสะลักขะณูเปตา สีต๎ยานุพ๎ยัญชะนาธะรา
พ๎ยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา
พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา
มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา
ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง
คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา
เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม
วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต
สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง
เตหิ ต๎วัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต
สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะฯ
เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะฯ
ปุรัตถิมัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
ทักขิณัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
ปัจฉิมัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มิหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
อุตตะรัส๎มิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก
ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน
เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา
เตปิ ตุมหา อะนุรักขันตุ อาโรค๎เยนะ สุเขนะ จะ
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เต
ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ
ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัส๎มา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
สักกัต๎วา พุทธะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัต๎วา ธัมมะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เต
สักกัต๎วา สังฆะระตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง วะรัง
อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุปัททะวา สัพเพ โรคา วูปะสะเมนตุ เตฯ
สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ
มา เต ภะวัต๎วันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภาวะ
อะภิวาทะนะสีลิสสะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน
จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลังฯ
คำแปลบทอาฏานาฏิยะปะริตตัง
ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงพระจักษุทรงพระสิริ ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง
ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลสได้แล้ว มีตบะ ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงเอาชนะมารและกองทัพได้
ขอนอบน้อมพระโกณาคมนพุทธเจ้า ผู้ลอยบาปแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
ขอนอบน้อมพระโคตมพุทธเจ้า ผู้ทรงพระฉัพพรรณรังสี ผู้ทรงสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมขจัดทุกข์ทั้งปวง
อนึ่ง พระอรหันต์เหล่าใดในโลก ดับกิเลสได้แล้วรู้แจ้งตามความเป็นจริง พระอรหันต์เหล่านั้นปราศจากวาจามุ่งร้าย เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สะทกสะท้าน
ท่านเหล่านั้นย่อมนมัสการพระโคตมะ ผู้ทรงเกื้อกูลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ไม่สะทกสะท้าน
พระสัมพุทธเจ้าเจ็ดพระองค์เหล่านั้น และพระสัมพุทธเจ้าหลายร้อยโกฏิเหล่าอื่นทุกพระองค์เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเปรียบ ทุกพระองค์ล้วนทรงฤทธิ์ยิ่งใหญ่
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระทศพลญาณและพระเวสารัชชญาณ ทรงยืนยันความตรัสรู้อันประเสริฐ แกล้วกล้าของพระองค์
พระพุทธเจ้าเหล่านี้ทรงปราศจากความครั่นคร้ามบันลือสีหนาทในท่ามกลางพุทธบริษัท ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐในโลก ไม่มีผุ้ใดจะคัดค้านได้
พระองค์ทรงเป็นผู้นำ ทรงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ๑๘ ประการ ทรงประกอบด้วยพระพุทธลักษณะ ๓๒ และพระอนุลักษณะ ๘๐
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงพระฉัพพรรณรังสีโดยรอบหนึ่งว่า ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ รู้แจ้งธรรมทั้งปวง สิ้นอาสวะ และเป็นผู้ชนะ
ทรงมีพระรัศมีสว่างไสว ทรงมีเดชมาก มีปัญญามาก มีกำลังมาก มีความกรุณาใหญ่หลวงมั่นคง ประทานความสุขแก่ชนทั้งปวง
พระองค์ทรงเป็นที่พัก ที่พึ่ง ที่พำนัก คุ้มรองหลบภัยของเหล่าสัตว์ ทรงเป็นที่ไป เป็นญาติ เป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นผู้ขจัดทุกข์ กระทำประโยชน์
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลก และเทวดา ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระบาทยุคลของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า ขอน้อมไหว้พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นในเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยวาจา ด้วยใจเสมอ
ขอพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประทานพระนิพพานจงคุ้มครองท่านให้มีความสุขเสมอ เมื่อพระองค์คุ้มครองท่านแล้วขอให้ท่านปลอดจากภัยทั้งปวงเถิด
ขอท่านจงปลอดจากโรคทั้งปวง ปราศจากความเดือดร้อนทุกอย่าง ไม่มีใครๆ ปองร้าย เป็นผู้สงบ
ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้นจงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ปราศจากโรค มีความสุข ด้วยพลานุภาพแห่งความสัตย์ ศีล ขันติ และเมตตาธรรม
เหล่าคนธรรพ์ผู้มีฤทธิ์มากในทศบูรพา จงคุ้มครองข้าเพจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
เหล่ากุมภัณฑ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศทักษิณ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
เหล่านาคผู้มีฤทธิ์มากในทิศประจิม จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
เหล่ายักษ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศอุดร จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
ท้าวธตรฐเป็นผู้รักษาโลกทิศบูรพา ท้าวิรุฬหกรักษาโลกทิศทักษิณ ท้าววิรูปักษ์รักษาโลกทิศประจิม ท้าวกุเวรรักษาโลกทิศอุดร
ขอมหาราชผู้รักษาโลกทั้งสี่พระองค์ ผู้มีบริวารมากดังกล่าวจงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
ขอเหล่าเทวดาและนาคผู้มีฤทธิ์มาก สถิตอยู่ในอากาศและบนพื้นดิน จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
ขอเทวดาผู้มีฤทธิ์มากอาศัยอยู่ในพระศาสนานี้ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข
ขอสิ่งร้ายทั้งปวงจงบำราศไป ขอโรคทั้งปวดจงพินาศไป ขอท่านอย่ามีอันตราย เป็นผู้มีความสุข มีอายุยืนยาว
ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้นบไหว้และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์
บทสวด องคุลิมาลสูตร พร้อมคำแปล
บทขัดอังคุลิมาลปริตร
ปะริตตัง ยัง ภะนันตัสสะ
นิสินนัฏฐานะโธวะนัง
อุทะกัมปิ วินาเสติ
สัพพะเมวะ ปะริสสะยัง.
(แปล – น้ำล้างที่นั่งของพระองคุลิมาลผู้สวดพระปริตรใด สามารถขจัดอันตรายทั้งปวงให้หมดไปได้)
โสตถินา คัพภะวุฏฐานัง
ยัญจะ สาเธติ ตังขะเณ
เถรัสสะ อังคุลิมาลัสสะ
โลกะนาเถนะ ภาสิตัง
กัปปัฏฐายิง มะหาเตชัง
ปะริตตัง ตัง ภะณามะ เห.
(แปล – พระปริตรใดที่พระมหาโลกนาถทรงภาษิตไว้แก่พระองคุลิมาลเถระ สามารถยังการคลอดบุตรให้เป็นไปได้โดยสวัสดีในทันที ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระปริตรซึ่งมีเดชใหญ่ คงอยู่ตลอดกัปนั้นเถิด)
บทอังคุลิมาลปริตร
ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต
นาภิชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา
เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ, โสตถิ คัพพัสสะ.
(แปล – ดูก่อนน้องหญิง นับแต่เราเกิดโดยอริยชาตินี้แล้ว เราไม่เคยคิดปลงชีวิตสัตว์เลย ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่เธอ ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของเธอ)
บทสวด วัฏฏกปริตตสูตร พร้อมคำแปล
บทขัดวัฏฏะกะปะริตตัง
ปูเรนตัมโพธิสัมภาเร นิพพัตตัง วัฏฏะชาติยัง ยัสสะ
เตเชนะ ทาวัคคิ มะหาสัตตัง วิวัชชะยิ เถรัสสะ
สารีปุตตัสสะ โลกะนาเถนะ ภาสิตัง กัปปัฏฐายิ
มะหาเตชัง ปะริตตันตัมภะณามะ เห ฯ
(ด้วยเดชแห่งพระปริตรใด ทำให้ไฟไม่เผาไหม้ ในที่ที่พระมหาสัตว์ถือกำเนิดเกิดเป็นนกคุ้ม ผู้กำลังบำเพ็ญบารมี เพื่อเสริมสร้างพระโพธิญาณ ท่านทั้ง หลายโปรดจงสาธยายพระปริตรนั้น ซึ่งมีเดชมากมาย ตั้งอยู่ได้ตลอดกัปป์ ที่พระโลกนาถเจ้าทรงตรัสไว้แก่พระสารีบุตรนั้นเถิด)
บทวัฏฏะกะปะริตตัง
อัตถิ โลเก สีละถุโณ
ศีลคุณ ความสัตย์ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า
สัจจัง โสเจยยะนุททะยา
ผู้ประกอบด้วยความสัตย์เอ็นดูกรุณามีอยู่ในโลก
เตนะ สัจเจนะ กาหามิ
ด้วยความสัตย์นั้นเราจักกระทำ
สัจจะกิริยะมะนุตตะรัง
สัจจกิริยาอันสูงสุด
อาวัชชิตวาธัมมะพะลัง
เราคำนึงถึงกำลังพระธรรม
สะริตวา ปุพพะเก ชิเน
ระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้พิชิตมารทั้งหลายในปางก่อน
สัจจะพะละมะวัส สายะ
อาศัยกำลังความสัตย์
สัจจะกิริยะมะกาสะหัง
ได้กระทำสัจจกิริยาว่า
สันติ ปักขา อะปัตตะนา
ปีกของเรามีอยู่ แต่ไม่มีขน (บินไม่ได้)
สันติปาทา อะวัญจะนา
เท้าของเรามีอยู่ แต่ยังเดินไม่ได้
มาตา ปิตา จะ นิกขันตา
มารดาบิดาก็พากันบินออกไปแล้ว
ชาตะ เวทะ ปะฏิกกะมะ
แน่ะไฟ จงกลับไป (จงดับเสีย)
สะหะ สัจเจ กะเต มัยหัง
พร้อมกับเมื่อเรากระทำสัจจกิริยา (นี้)
มะหาปัช ชะลิโต สิขี
ไฟที่ลุกรุ่งโรจน์ใหญ่หลวง
วัชเชสิ โสฬะสะกะรีสานิ
ได้หลีกไป ๑๖ กรีส
อุทะกัง ปัตวา ยะถา สิขี
ไฟดับ ณ ที่นั้นเหมือนตกลงในน้ำ
สัจเจนะ เม สะโม นัตถิ
สิ่งที่จะเสมอด้วยความสัตย์ของเราไม่มี
เอสา เม สัจจะปาระมีติฯ
นี้เป็นสัจจบารมีของเรา ฉะนี้แล.
บทสวด โพชฌงคปริตตสูตร พร้อมคำแปล
บทขัดโพชฌังคะปะริตตัง
สังสาเร สังสะรันตานัง สัพพะทุกขะวินาสะเน
สัตตะ ธัมเม จะ โพขฌังเค……..มาระเสนัปปะมัททิโน
พุชฌิตวา เยปิเม สัตตา ติภะวามุตตะกุตตะมา
อะช่ติง อะชะราพยาธิง อะมะตัง นิพภะยัง คะตา
เอวะมาทิคุณูเปตัง อะเนกะคุณะสังคะหัง
โอสะถัญจะ อิมัง มันตัง โพชฌังคันตัมภะณามะ เห ฯ
บทสวดโพชฌังคะปะริตตัง
โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา – โพชฌงค์ ๗ ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยะสัมโพชฌงค์
วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร – วิริยะสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา – สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา – ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันพระมุนีเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว
ภาวิตา พะหุลีกะตา – อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา – ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ – ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา – ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา – ในสมัยหนึ่ง พระโลกนาถเจ้า ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระมหากัสสปะเป็นไข้ ได้รับความลำบาก
โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ – จึงทรงแสดงโพชฌงค์ ๗ ประการ ให้ท่านทั้งสองฟัง
เต จะ ตัง อะภินันทิตวา – ท่านทั้งสองนั้น ชื่นชมยินดียิ่ง ซึ่งโพชฌงคธรรม
โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ โรคก็หายได้ในบัดดล
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ – ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา – ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต – ในครั้งหนึ่ง องค์พระธรรมราชาเอง (พระพุทธเจ้า) ทรงประชวรเป็นไข้หนัก
จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง – รับสั่งให้พระจุนทะเถระ กล่าวโพชฌงค์นั้นนั่นแลถวายโดยเคารพ
สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส – ก็ทรงบันเทิงพระหฤทัย หายจากพระประชวรนั้นได้โดยพลัน
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ – ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา – ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ
ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง – ก็อาพาธทั้งหลายนั้น ของพระผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓ องค์นั้น หายแล้วไม่กลับเป็นอีก
มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง – ดุจดังกิเลส ถูกอริยมรรคกำจัดเสียแล้ว ถึงซึ่งความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ – ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้
โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา – ขอความสวัสดี จงบังเกิดมีแก่ท่าน ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ.
Share this:
TwitterFacebook
กำลังโหลด...
ใส่ความเห็น
อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *
ความเห็น
ชื่อ*
อีเมล์*
เว็บไซท์
Notify me of new comments via email.
Notify me of new posts via email.
View Full Site
บลอกที่ WordPress.com .Do Not Sell My Personal Information
Privacy & Cookies: This site uses cookies. By continuing to use this website, you agree to their use.
To find out more, including how to control cookies, see here: Cookie Policy
:)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น