พระธรรมคำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563
กิเลส16
กิเลส มีความหมายถึง สิ่งหรือเครื่องที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์
กิเลส จึงมีความหมายครอบคลุมทั้งหมดของสิ่ง(ทั้งรูปธรรมและนามธรรม)ที่ทำให้จิตใจเศร้าหมองหรือขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ทุกชนิด และมิใช่ครอบคลุมแต่เพียงสิ่งที่ทำให้จิตเศสติร้าหมองในอดีตและปัจจุบันเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงสิ่งที่จักส่งผลหรือยังให้เกิดขึ้นต่อไปในภายหน้าหรืออนาคตอีกด้วย ดังเช่น ราคะ ขณะที่กำลังติดเพลินเสพสมอยู่นั้น ก็แลดูเป็นสุขสนุกสนานอยู่ ซึ่งแฝงความเร่าร้อนเผาลนแต่ไม่สังเกตุเห็นเท่านั้น และย่อมยังให้ภายภาคหน้าเกิดอาการอาการครํ่าครวญ,ถวิลหา,คิดถึงในอาการต่างๆกันไป ซึ่งยังให้เกิดกิเลสหรือจิตขุ่นมัวหรือเศร้าหมองเป็นที่สุด
อ่านรายละเอียดคลิ้กลิ้งนี้คับ
วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563
พระสูตรพระไภษัชยคุรุฯ
สืบสานปณิธานพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เพื่อช่วยเหลือสังคมและเผยแผ่พุทธธรรม 弘揚藥師法 行願利有情
ชมรมบารมีเมตตาธรรม จ.ชลบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 โดยคณะสาธุชนที่มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคทรัพย์ เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ ผู้ยากไร้ และเผยแผ่พุทธธรรมคำสอน เพื่อบำเพ็ญโพธิสัตวจริยา ตามปณิธานของพระไภษัชยคุรุสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำความศรัทธาภายในจิตใจที่เป็นรูปธรรม มาสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมภายนอกเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร
藥師琉璃光如來本願功德經
ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร
พระเสวียนจ้างมหาเถระ(ถังซำจั้ง) ตรีปิฎกธราจารย์ชาวจีน ในสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีน
แปลจากสันสกฤตพากย์สู่จีนพากย์ ปี ๑๑๙๓
พระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก (沙門聖傑) แห่งวัดเทพพุทธาราม (仙佛寺) แปลจากจีนพากย์สู่ไทยพากย์
เมื่อพระพุทธายุกาลล่วงแล้ว ๒๕๔๑ ปี
如是我聞:一時薄伽梵,遊化諸國,至廣嚴城,住樂音樹下。與大比丘眾八千人俱,菩薩摩訶薩三萬六千,及國王、大臣,婆羅門、居士,天龍八部,人非人等,無量大眾,恭敬圍繞,而為說法。
ดั่งที่ข้าพเจ้าได้สดับมา สมัยหนึ่งองค์สมเด็จพระภควันต์ ทรงจาริกไปยังเมืองนครต่างๆ จนถึงมหานครไวศาลี แล้วประทับอยู่ภายใต้ร่มเงาพฤกษา[1] พร้อมด้วยมหาภิกษุ ๘,๐๐๐ รูป พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ๓๖,๐๐๐ องค์ และกษัตริย์ มหาเสวกามาตย์ พราหมณ์ บัณฑิต เทวดา นาค สัตว์ในคติ ๘ มนุษย์และอมนุษย์ทั้งปวง อันเป็นมหาชนที่นับจำนวนมิได้ ต่างห้อมล้อมอยู่ด้วยเคารพ เพื่อสดับการประทานพระธรรมเทศนา
[1] ตามศัพท์ ว่าต้นไม้ชนิดหนึ่งที่เมื่อลมพัด ทำให้ใบกระทบกันมีเสียงไพเราะเหมือนเสียงดนตรี
爾時、曼殊室利法王子,承佛威神,從座而起,偏袒一肩,右膝著地,向薄伽梵,曲躬合掌。白言:「世尊!惟願演說如是相類諸佛名號,及本大願殊勝功德,令諸聞者業障銷除,為欲利樂像法轉時諸有情故」。
ในสมัยนั้น พระมัญชุศรีธรรมราชกุมาร[1]ได้อาศัยพระพุทธานุภาพแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ลดผ้าเฉวียงบ่าลงข้างหนึ่ง[2]และคุกชานุเบื้องขวาลงกับพื้นดิน เฉพาะด้านพระภควันต์ ประณมกรแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า ขอพระองค์ประทานพระเทศนาถึงลักษณาการแห่งพระนาม และกุศลแห่งพระมหามูลปณิธานอันวิเศษของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ที่จักยังให้ผู้สดับทั้งปวงมีกรรมวิบากปลาสนาการสิ้นไป เพื่อยังสุขประโยชน์แก่สรรพชีวิต ในสมัยที่พระสัทธรรมเสื่อมถอยด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า
爾時、世尊讚曼殊室利童子言:「善哉!善哉!曼殊室利!汝以大悲,勸請我說諸佛名號,本願功德,為拔業障所纏有情,利益安樂像法轉時諸有情故。汝今諦聽!極善思惟!當為汝說」。
ครั้งนั้น พระโลกนาถเจ้า จึงตรัสสรรเสริญพระมัญชุศรีกุมารภูตะว่า สาธุ สาธุ มัญชุศรี ด้วยเธออาศัยมหากรุณาเป็นเหตุ จึงอาราธนาตถาคตให้แสดงพระนามและกุศลแห่งปณิธานของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพื่อถอดถอนกรรมวิบากที่ร้อยรัดหมู่สัตว์ ยังประโยชน์ผาสุกแก่หมู่สัตว์ในสมัยที่พระสัทธรรมเสื่อมถอย เธอพึงได้สดับแลกระทำโยนิโสมนสิการโดยดีเถิด ตถาคตจะกล่าวแก่เธอ
曼殊室利言:「唯然,願說!我等樂聞!」
พระมัญชุศรีกราบทูลว่า ขอพระองค์ตรัสเถิด เหล่าข้าพระองค์ยินดีจักได้สดับฟังยิ่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
佛告曼殊師利:「東方去此,過十殑伽沙等佛土,有世界名淨琉璃,佛號藥師琉璃光如來、應、正等覺,明行圓滿、善逝、世間解、無上士、調御丈夫、天人師、佛、薄伽梵。」
พระพุทธองค์ ตรัสแก่พระมัญชุศรีว่า นับแต่โลกธาตุแห่งนี้ไปเบื้องบูรพาทิศ ผ่านพุทธเกษตรต่างๆไปจำนวนเท่ากับเม็ดทรายแห่งคงคานที ๑๐ สายรวมกัน[3] ยังมีโลกธาตุแห่งหนึ่งนามว่า ศุทธิไวฑูรย์ มีพระพุทธโลกนาถเจ้าพระนามว่า ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา เป็นผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น ผู้ไกลจากกิเลสและควรบูชา ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ผู้เสด็จไปดีแล้ว ผู้รู้แจ้งโลก ผู้ยอดเยี่ยมหาผู้อื่นเสมอมิได้ ผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ผู้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ตื่นแล้วและเป็นที่พึ่งแห่งโลก
「曼殊室利!彼世尊藥師琉璃光如來本行菩薩道時,發十二大願,令諸有情,所求皆得」。
ดูก่อนมัญชุศรี พระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้น เมื่อคราที่บำเพ็ญมูลจริยาในโพธิสัตวมรรคอยู่นั้น ได้ประกาศพระมหาปณิธานอันยิ่งใหญ่ไว้ ๑๒ ประการ ดังนี้...
「第一大願:願我來世,得阿耨多羅三藐三菩提時,自身光明熾然照耀無量無數無邊世界,以三十二大丈夫相,八十隨形莊嚴其身;令一切有情如我無異」。
มหาปณิธานประการที่ ๑ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว กายแห่งเราจักรุ่งเรืองโชตนาการสว่างไสว ฉายฉานรัศมีไปยังสรรพโลกธาตุจำนวนประมาณมิได้ นับอสงไขย ไร้ซึ่งขอบเขต พร้อมด้วยทวัตติงสมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และอสีตยานุพยัญชนลักษณะ ๘๐ ประการที่เป็นอลังการแห่งกายนั้น จักยังสรรพชีวิตทั้งปวงให้เสมอเหมือนดั่งเรามิแตกต่าง
「第二大願:願我來世得菩提時,身如琉璃,內外明徹,淨無瑕穢;光明廣大,功德巍巍,身善安住,燄網莊嚴過於日月;幽冥眾生,悉蒙開曉,隨意所趣,作諸事業」。
มหาปณิธานประการที่ ๒ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว กายจงประดุจรัตนไวฑูรย์[4] วิมลใสตลอดทั้งภายในและภายนอก บริสุทธิ์ปราศมลทินแปดเปื้อน มีประภาสรัศมีแผ่ไพศาล กุศลบารมีไพบูลย์ยิ่งใหญ่ มีกายเป็นสุขในเปลวอัคคีที่โชติช่วงอลังการ รุ่งเรืองไปกว่าดวงสุริยันแลจันทรา สรรพสัตว์ในนิรยภูมิที่ได้สัมผัสรัศมีนี้ทั้งสิ้น จักได้ไปอุบัติยังสถานที่ต่างๆตามปรารถนา เพื่อกระทำกิจทั้งปวง
「第三大願:願我來世得菩提時,以無量無邊智慧方便,令諸有情皆得無盡所受用物,莫令眾生,有所乏少」。
มหาปณิธานประการที่ ๓ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว ด้วยอุปายโกศลแห่งปัญญาญาณที่ไม่มีประมาณและไร้ขอบเขต จักยังให้บรรดาสรรพชีวิตได้ถึงพร้อมซึ่งเครื่องอุปโภคที่จำเป็นอย่างมิหมดสิ้น จักมิยังให้สรรพสัตว์ต้องขาดแคลน
「第四大願:願我來世得菩提時,若諸有情行邪道者,悉令安住菩提道中;若行聲聞獨覺乘者,皆以大乘而安立之」。
มหาปณิธานประการที่ ๔ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลก และได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว หากสรรพชีวิตทั้งหลายผู้ดำเนินมิจฉามรรคจริยา[5] จักได้ตั้งมั่นในพระโพธิมรรคทั้งหมด หากผู้ดำเนินตามสาวกยาก ปัจเจกยาน ก็จักได้ดำรงมั่นในมหายานทั้งสิ้น
「第五大願:願我來世得菩提時,若有無量無邊有情,於我法中修行梵行,一切皆令得不缺戒、具三聚戒;設有毀犯,聞我名已還得清淨,不墮惡趣!」
มหาปณิธานประการที่ ๕ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว หากมีสรรพชีวิตที่หาประมาณจำนวนมิได้ และไร้ซึ่งขอบเขต ผู้ดำรงในธรรมแห่งเรา ได้ประพฤติพรหมจรรย์ อันจริยาทั้งปวงนั้นจักมิต้องล่วงละเมิด จักสมบูรณ์ในตรีวิธานิศีล[6]แม้นว่าได้ล่วงละเมิด เมื่อได้สดับนามแห่งเราแล้วจักกลับสู่วิศุทธิภาวะ มิตกสู่อบายภูมิ
「第六大願:願我來世得菩提時,若諸有情,其身下劣,諸根不具,醜陋、頑愚、盲、聾、瘖、啞、攣躄、背僂、白癩、顛狂、種種病苦;聞我名已,一切皆得端正黠慧,諸根完具,無諸疾苦」。
มหาปณิธานประการที่ ๖ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว หากสรรพชีวิตทั้งปวง มีร่างกายต่ำต้อยเลวทราม อินทรีย์ต่างๆ บกพร่อง อัปลักษณ์ โง่เขลา เนตรบอด โสตหนวก โอษฐ์ใบ้ นิ้วมือเท้างอหงิก หลังค่อมโก่งงอ เป็นโรคกุษฐัง[7] สติวิปลาสมิสมประดี อีกทั้งมีโรคาพาธนานารุมเร้าเสียดแทงอยู่ เมื่อได้สดับนามแห่งเราแล้ว สรรพสิ่งทั้งปวงจักบรรลุถึงความสิริลักษณ์งดงาม มากด้วยสติปัญญาเฉลียวฉลาด อินทรีย์ทั้งปวงจักสมบูรณ์พร้อม และไร้โรคภัย
「第七大願:願我來世得菩提時,若諸有情眾病逼切,無救無歸,無醫無藥,無親無家,貧窮多苦;我之名號一經其耳,眾病悉除,身心安樂,家屬資具悉皆豐足,乃至證得無上菩提」。
มหาปณิธานประการที่ ๗ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว หากสรรพชีวิตทั้งปวงเป็นผู้ถูกโรคาพาธเสียดแทงอยู่ ไร้ผู้อนุเคราะห์ ไร้ผู้ชี้แนะ ปราศจากการรักษา ปราศจากโอสถ ไร้ญาติมิตร ไร้ที่พักพิง มีความอัตคัตยากจนได้รับทุกข์ทรมานเป็นที่ยิ่ง ผิว่านามแห่งเราจักไปให้สดับยังโสตเพียงครั้ง[8] สรรพโรคาทุกข์ทั้งปวงจะมลายสิ้น กายแลจิตผาสุก ครอบครัวพงษ์ษาจักมั่งคั่งด้วยทรัพย์ศฤงคาร ตราบไปจนได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิ[9]
「第八大願:願我來世得菩提時,若有女人為女百惡之所逼惱,極生厭離,願捨女身;聞我名已,一切皆得轉女成男,具丈夫相,乃至證得無上菩提」。
มหาปณิธานประการที่ ๘ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว หากมีสตรีได้รับทุกขเวทนาของความเป็นหญิงนับร้อยประการ บังเกิดความเบื่อหน่ายเป็นที่สุด ปรารถนาจักสละทิ้งซึ่งกายแห่งสตรี เมื่อได้สดับนามแห่งเราแล้ว สรรพสิ่งทั้งปวงจักแปรเปลี่ยนจากสตรีสู่บุรุษ สมบูรณ์ในบุรุษลักษณะที่องอาจ ตราบไปจนได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิ
「第九大願:願我來世得菩提時,令諸有情出魔罥網,解脫一切外道纏縛;若墮種種惡見稠林,皆當引攝置於正見,漸令修習諸菩薩行,速證無上正等菩提!」。
มหาปณิธานประการที่ ๙ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว เราจักยังให้บรรดาสรรพชีวิตได้ออกจากมารชาละ[10]หลุดพ้นจากการผูกมัดทั้งปวงของพาหิรมาร หากตกสู่ป่าชัฏแห่งอบายทิฐิ[11] จักชักนำให้ตั้งอยู่บนสัมมาทิฐิ ค่อยๆ บำเพ็ญเพียรโพธิสัตวมรรคทั้งปวง จนได้บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิอย่างรวดเร็ว
[1] พระนามพระมหาโพธิสัตว์ผู้เลิศในทางปัญญาญาณ และเป็นคุรุ(ปัญญา)แห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
[2] ผ้าเฉวียงบ่าขวา การนำผ้าลดลงจากบ่าขวา เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุดแบบหนึ่ง
[3] เปรียบเม็ดทราย ๑ เม็ด คือโลกธาตุที่มีพระพุทธเจ้าประทับอยู่ภายใน ๑ แห่ง เม็ดทรายในคงคานที ๑๐ แห่ง จึงหมายความว่าต้องคำนวณเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา ๑ แห่ง แล้วคูณ ๑๐ จึงจะทราบระยะห่างระหว่างสหาโลกธาตุแห่งนี้ กับศุทธิไวฑูรย์โลกธาตุ
[4] รัตนชาติ ชนิดหนึ่ง มีสีน้ำเงินใส บ้างก็เรียก ไพฑูรย์
[5] หนทางแห่งความชั่ว หนทางแห่งความเสื่อม หนทางที่นำไปสู่อบาย หนทางที่ไม่ถูกต้อง
[6] คือศีล ๓ ประเภท มี ๑)สํวรศีล ศีลคือการสำรวมระวัง ๒)กุศล ธรฺม สํคฺราหก ศีล ศีลที่ประพฤติเพื่อสงเคราะห์แก่กุศลธรรม ๓)สตฺตฺวารฺถ กฺริยา ศีล ศีลที่ประพฤติเพื่อประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย
[7] โรคเรื้อน
[8] ความหมายคือ หากผู้ที่เป็นทุกข์ได้มีโอกาสสดับพระนามของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า เพียงครั้งเดียว ก็จักได้รับอานิสงค์ตามมหาปณิธานประการนี้
[9] ความหมายคือ อานิสงค์แห่งการได้สดับพระพุทธนามนี้ จะส่งผลแก่บุคคลนั้นไปตลอดนานแสนนาน จนกระทั่งบุคคลนั้นได้บรรลุพระโพธิญาณ
[10] มารชาละ คือ ข่ายแหของมาร ที่คอยจับสรรพสัตว์ให้มัวเมา ลุ่มหลงให้ติดอยู่ในห้วงวัฏฏสงสารจนมิอาจหลุดเป็นอิสระได้
[11] ประโยคนี้เปรียบเทียบ อบายทิฐิ คือความเห็นชั่ว หรือมิจฉาทิฐิ คือความเห็นผิด ว่าประดุจป่าไม้ที่รกคลึ้ม มากด้วยอันตรายจากสัตว์ร้าย(คือภัยแห่งวัฏฏสงสาร คือโลกธรรม ความโศกเศร้า พลัดพราก ฯลฯ) ไร้แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ (คือแสงแห่งปัญญา)สาดส่องมาถึง จึงทำให้มืดมน ยังให้สรรพสัตว์หลงทาง(ลุ่มหลง โง่เขลา) มิอาจหลุดจากป่าไม้(แห่งการเวียนว่ายตายเกิดและอวิชชา)ได้
「第十大願:願我來世得菩提時,若諸有情王法所加,縛錄鞭撻,繫閉牢獄,或當刑戮,及餘無量災難凌辱,悲愁煎逼,身心受苦;若聞我名,以我福德威神力故,皆得解脫一切憂苦!」
มหาปณิธานประการที่ ๑๐ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว หากบรรดาสรรพชีวิตต้องราชอาญา ถูกตราตรึงพันธนา กักขังจองจำ ฤๅต้องอาญาประหารชีวิต และถูกภยันตรายประการอื่นๆจำนวนประมาณมิได้เบียดเบียน ให้โทมนัสเวทนาอย่างที่สุด กายแลใจได้รับทุกข์ทรมาน หากได้สดับนามแห่งเราแล้วไซร้ ด้วยเหตุแห่งเดชบุญญาธิการของเรา จักยังให้หลุดพ้นจากทุกข์ทรมานทั้งปวง
「第十一大願:願我來世得菩提時,若諸有情饑渴所惱,為求食故造諸惡業;得聞我名,專念受持,我當先以上妙飲食飽足其身,後以法味畢竟安樂而建立之」。
มหาปณิธานประการที่ ๑๑ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว หากเหล่าสรรพชีวิตทรมานด้วยหิวกระหาย เหตุที่ต้องการอาหารจึงกระทำความชั่วทั้งปวง เมื่อได้สดับนามแห่งเราแล้วน้อมรับปฏิบัติด้วยความตั้งมั่น เราจักยังกายนั้นให้อิ่มเอมในอาหารและเครื่องดื่มอันประณีต[1]ก่อนในคราแรก แล้วจึงยังให้ตั้งอยู่ในธรรมรสอันเป็นบรมสุขในภายหลัง
「第十二大願:願我來世得菩提時,若諸有情貧無衣服,蚊虻寒熱,晝夜逼惱;若聞我名,專念受持,如其所好即得種種上妙衣服,亦得一切寶莊嚴具,華鬘、塗香,鼓樂眾伎,隨心所翫,皆令滿足」。
มหาปณิธานประการที่ ๑๒ เมื่อกาลที่เรามาอุบัติยังโลกและได้บรรลุพระโพธิญาณแล้ว หากสรรพชีวิตยากไร้ ปราศจากอาภรณ์ ได้รับทุกข์จากแมลง ยุง และความหนาวร้อนตลอดทิวาราตรี เมื่อได้สดับนามแห่งเรา แล้วน้อมรับปฏิบัติตั้งมั่นด้วยดีแล้วไซร้ ย่อมจักได้รับวัตถาภรณ์แพรพรรณชั้นเลิศนานาประการ รัตนมณีที่อลังการทั้งปวง มาลา เครื่องทาหอม เครื่องดนตรีทั้งมวล จักสำเร็จดั่งมโนจินต์อย่างบริบูรณ์
「曼殊室利!是為彼世尊藥師琉璃光如來、應、正等覺行菩薩道時,所發十二微妙上願」。
ดูก่อนมัญชุศรี พระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ผู้เป็นพระอรหันต์และพระสัมมาสัมพุทธะพระองค์นั้น เมื่อสมัยที่ทรงบำเพ็ญโพธิสัตวมรรค ได้กระทำสัจจกิริยาประกาศมหาปณิธานอันประเสริฐไว้ ๑๒ ประการ ดั่งนี้
「復次、曼殊室利!彼世尊藥師琉璃光如來行菩薩道時,所發大願,及彼佛土功德莊嚴,我若一劫、若一劫餘,說不能盡。然彼佛土,一向清淨,無有女人,亦無惡趣,及苦音聲;琉璃為地,金繩界道,城、闕、宮、閣,軒、窗、羅網,皆七寶成;亦如西方極樂世界,功德莊嚴,等無差別。於其國中,有二菩薩摩訶薩:一名日光遍照,二名月光遍照。是彼無量無數菩薩眾之上首,次補佛處,悉能持彼世尊藥師琉璃光如來正法寶藏。是故曼殊室利!諸有信心善男子、善女人,應當願生彼佛世界」。
มัญชุศรี อันมหาปณิธานที่พระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้น ได้ทรงประกาศไว้ เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญโพธิสัตวมรรค และคุณาลังการแห่งพุทธเกษตรที่ีนั้น หากตถาคตจะกล่าวแสดงจนสิ้นกัลป์หนึ่ง หรือจนสิ้นกัลป์อื่นๆก็มิอาจกล่าวได้สิ้นเลย ก็พุทธเกษตรแห่งนั้นวิมลใสหมดจดยิ่งนัก ปราศจากสตรีเพศ[2] ทั้งปราศจากอบายภูมิ และเสียงแห่งความทุกข์ มีรัตนไวฑูรย์เป็นพื้นปฐพี สายทองก็ระย้าอยู่ทั่วโลกธาตุ อันธานี ปราสาท มณเฑียร หอ ราชรถ ช่องบัญชร ชาลมาลาล้วนสำเร็จด้วยสัปตรัตนะ[3]มีคุณาลังการ ประดุจสุขาวดีโลกธาตุ เบื้องประจิมทิศมิต่างกันเลย ก็ในโลกธาตุนั้น มีโพธิสัตว์มหาสัตว์ ๒ องค์คือ สุรยประภา๑ จันทรประภา๑ เป็นผู้นำคณะโพธิสัตว์จำนวนอนันตะและอสงไขย[4] ซึ่งล้วนแต่เป็นเอกชาติปฏิพันธ์โพธิสัตว์[5] ล้วนสามารถธำรงพระสัทธรรมปิฎกอันวิเศษของพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตได้
ด้วยแห่งฉะนี้ มัญชุศรี กุลบุตร กุลธิดาผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย พึงตั้งปณิธานปรารถนาไปอุบัติยังพุทธโลกธาตุแห่งนั้นเถิด
爾時、世尊,復告曼殊室利童子言:「曼殊室利!有諸眾生,不識善惡,惟懷貪吝,不知布施及施果報,愚癡無智,闕於信根,多聚財寶,勤加守護。見乞者來,其心不喜,設不獲已而行施時,如割身肉,深生痛惜。
ครั้งนั้น พระศากยมุนีโลกนาถเจ้า ทรงมีพุทธบรรหารต่อพระมัญชุศรีกุมารภูตะว่า ดูก่อนมัญชุศรี มีเหล่าสรรพสัตว์ที่มิเชื่อถือในสิ่งกุศลและอกุศล ในจิตมีแต่ความละโมบโลภมาก มิรู้จักการบริจาคทานและผลแห่งทาน โมหะลุ่มหลงไร้สติปัญญา มีอินทรีย์คือศรัทธาที่บกพร่อง สั่งสมธนสารสมบัติไว้มากมาย ทั้งปกป้องหวงแหนไว้ เมื่อคราได้ผู้ขอในจิตก็มิยินดี แม้นตนมิยอมรับและบริจาคทานแล้ว ยังดุจว่าตนได้ถูกชำแหละมังสาออกไป มีความตระหนี่ถี่เหนียวยิ่งนัก
復有無量慳貪有情,積集資財,於其自身尚不受用,何況能與父母、妻子、奴婢作使,及來乞者?彼諸有情,從此命終生餓鬼界,或傍生趣。由昔人間曾得暫聞藥師琉璃光如來名故,今在惡趣,暫得憶念彼如來名,即於念時從彼處沒,還生人中;得宿命念,畏惡趣苦,不樂欲樂,好行惠施,讚歎施者,一切所有悉無貪惜,漸次尚能以頭目手足血肉身分施來求者,況餘財物?」
อีกยังมีหมู่สัตว์ที่ละโมบมิสิ้นสุด สั่งสมทรัพย์ศฤงคารไว้มากมาย จนแม้นสำหรับตนเองก็มิอาจนำมาใช้ได้ แล้วจักประสาใดกับการให้บิดามารดา ภริยาบุตร ทาสทาสีแห่งตนและผู้ขออื่นๆอีกเล่า หมู่สัตว์เหล่านั้น เมื่อชีพสังขารแตกดับจากชาตินี้แล้วย่อมไปกำเนิดยังโลกแห่งเปรต ฤๅเดรัจฉานภูมิ เหตุที่เมื่อคราเป็นมนุษย์ หากเคยสดับพระนามพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้าแม้เพียงชั่วขณะ เมื่อขณะที่อยู่ในอบายภูมิ จะระลึกจดจำพระนามของพระตถาคตเจ้านั้นได้อีกครั้ง ก็เมื่อคราที่ระลึกถึงอยู่นั้นแลย่อมจักได้พ้นจากที่แห่งนั้นทันที แล้วหวนมากำเนิดยังมนุษยภูมิ เป็นผู้มีปุพเพนิวาสานุสติญาณ [6]หวั่นเกรงทุกข์แห่งอบายภูมิยิ่งนัก มิยินดีในกามสุข จักเป็นผู้เผื่อแผ่บริจาคทานด้วยความอ่อนน้อม สดุดีโมทนาแก่ผู้บริจาคทานอื่น สรรพสิ่งบรรดามีทั้งปวงจักมิตระหนี่หวงแหน จนค่อยๆ สามารถนำศีรเศียร นัยเนตร หัตถา บาทา โลหิต มังสาในกายตนแบ่งออกเป็นทานแก่ผู้ขอได้ แล้วจักประสาใดกับทรัพย์อื่นอีกเล่า
[1] ตามศัพท์ อันประณีต อาจแปลว่า อันเป็นทิพย์ ก็ได้
[2] ในข้อนี้ มีนัยยะถึงความเสมอภาค มิได้แบ่งแยกว่าเป็นหญิง หรือเป็นชาย มิได้เป็นข้อความเหยียดหยามเพศหญิงประการใด
[3] อัญมณี ๗ ชนิด มี ทอง เงิน ไพฑูรย์ ผลึก บุษราคัม มรกต ทับทิม
[4] อนันตะ คือประมาณกะเกณฑ์ไม่ได้ อสงไขย คือ สังขยาชนิดหนึ่ง คือจำนวนนับที่แสดงให้รู้ว่ามากมายมหาศาลนับไม่ได้ ,นับไม่ได้ถ้วน
[5] คือ พระมหาโพธิสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิด เพื่อสั่งสมบารมีอีกชาติเดียว ก็จักได้สำเร็จพระพุทธภูมิในทันที เช่น พระเมตไตรยโพธิสัตว์เป็นต้น
[6] ญาณระลึกชาติหนหลังได้ , หนึ่งในอภิญญา ๖ ของพระพุทธศาสนา มี ๑)อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ ๒)ทิพยจักษุ ตาทิพย์ ๓)ทิพยโสต หูทิพย์ ๔)เจโตปริยญาณ ญาณที่กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ๕) บุพเพนิวาสานุสสติญาณ การระลึกชาติได้ และ ๖)อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ (ข้อ ๖ นี้มีเฉพาะพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา) ห้าข้อแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อท้ายเป็นโลกุตตระ
「復次、曼殊室利!若諸有情,雖於如來受諸學處,而破尸羅;有雖不破尸羅而破軌則;有於尸羅、軌則,雖則不壞,然毀正見;有雖不毀正見而棄多聞,於佛所說契經深義不能解了;有雖多聞而增上慢,由增上慢覆蔽心故,自是非他,嫌謗正法,為魔伴黨。如是愚人,自行邪見,復令無量俱胝有情,墮大險坑。
ดูก่อนมัญชุศรี หากหมู่สัตว์ทั้งหลาย แม้ได้สมาทานสิกขาบททั้งปวงจากพระตถาคตเจ้า แล้วได้ละเมิดศีล ฤๅมิได้ละเมิดศีล แต่ล่วงข้อบัญญัติสำคัญ อันศีลและบัญญัตินั้นแล แม้มิได้ล่วงก็ดี แต่กลับเสื่อมจากสัมมาทิฐิ ฤๅแม้มิได้เสื่อมจากสัมมาทิฐิแต่ยังเป็นผู้ละเลยการสดับ ในบรรดาอรรถะที่ลึกซึ้งของพระพุทธวจนะ พระสูตรคัมภีร์ก็มิอาจเข้าใจ ฤๅหากเป็นผู้พหูสูตคือเป็นผู้สดับมากก็ยิ่งด้วยมานะ[1] ด้วยเหตุที่มานะปิดกั้นจิตไว้ ตนจึงเป็นผู้ทำลายพระสัทธรรมเองหาใช่ผู้อื่นไม่ เพราะมีมารเป็นสหาย[2] อันโมหบุรุษนี้แล เพราะตนเองดำเนินในมิจฉาทิฐิ แล้วยังให้หมู่สัตว์อื่นจำนวนอนันตโกฏิ[3]หาประมาณมิได้ ได้ตกสู่หลุมมหาภัย[4]ด้วย
此諸有情,應於地獄、傍生、鬼趣流轉無窮。若得聞此藥師琉璃光如來名號,便捨惡行,修諸善法,不墮惡趣;設有不能捨諸惡行、修行善法,墮惡趣者,以彼如來本願威力令其現前,暫聞名號,從彼命終還生人趣,得正見精進,善調意樂,便能捨家趣於非家,如來法中,受持學處無有毀犯,正見多聞,解甚深義,離增上慢,不謗正法,不為魔伴,漸次修行諸菩薩行,速得圓滿」。
ก็หมู่สัตว์ทั้งหลายนี้ สมควรเวียนว่ายในห้วงนรก เดรัจฉาน เปรตมิสิ้นสุด หากได้สดับพระนามพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้านี้ จักยังให้ละทิ้งจริยาชั่วนั้นได้ แล้วบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งปวง มิต้องตกสู่อบายภูมิ หากมีผู้มิอาจละทิ้งจริยาที่หยาบช้าต่างๆ แล้วมาบำเพ็ญกุศลธรรมได้ ย่อมตกสู่อบายภูมิ แต่ด้วยพลานุภาพแห่งมูลปณิธานของพระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น จักมาสำแดงยังเบื้องหน้าผู้นั้น ยังให้ได้สดับพระนามเพียงชั่วครู่ เมื่อสิ้นอายุขัยในภูมินั้นแล้ว จึงกลับมากำเนิดในมนุษยภูมิอีก จักเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ วิริยแกล้วกล้า มีจิตใจเกษมศานติอ่อนโยน แม้นสามารถสละเรือนเป็นผู้ไม่ข้องด้วยเรือน[5] ดำรงในธรรมแห่งตถาคต จักสมาทานและดำรงสิกขาบทอย่างมิด่างพร้อย เป็นผู้มีสัมมาทิฐิ พหูสูต รู้แจ้งจำแนกคัมภีรอรรถที่ลึกซึ้ง ห่างไกลจากอติมานะ มิทำลายพระสัทธรรม มิสมาคมมารเป็นสหาย แล้วจึงค่อยประพฤติโพธิสัตวจริยาต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว
「復次、曼殊室利!若諸有情慳貪、嫉妒,自讚毀他,當墮三惡趣中,無量千歲受諸劇苦!受劇苦已,從彼命終,來生人間,作牛、馬、駝、驢,恆被鞭撻,饑渴逼惱,又常負重隨路而行。或得為人,生居下賤,作人奴婢,受他驅役,恆不自在。若昔人中曾聞世尊藥師琉璃光如來名號,由此善因,今復憶念,至心歸依。以佛神力,眾苦解脫,諸根聰利,智慧多聞,恆求勝法,常遇善友,永斷魔罥,破無明殼,竭煩惱河,解脫一切生老病死憂愁苦惱」。
ดูก่อนมัญชุศรี หากหมู่สัตว์ทั้งหลายผู้มัจฉริยะตระหนี่และโลภมาก อิจฉาและริษยา สรรเสริญตนเองกล่าวร้ายผู้อื่น พึงตกสู่อบายภูมิสาม[6] รับโทษทัณฑ์ทรมานนับหลายพันปีหาประมาณมิได้ เมื่อรับโทษนั้นและสิ้นชีพจากภูมินั้นแล้ว จึงมากำเนิดยังโลกมนุษย์ เป็นโค ม้า อูฐ ลา ถูกโบยตีด้วยแส้เป็นเนืองนิจ ทุกข์ทรมานเพราะหิวกระหาย ต้องบรรทุกสิ่งของหนักตามหนทางอยู่สม่ำเสมอ ผิว่าได้กำเนิดเป็นมนุษย์ จักเกิดในครอบครัวยากจน เป็นทาสทาสี ถูกผู้อื่นหยามเหยียด มิได้รับอิสรภาพ หากในสมัยที่เป็นมนุษย์นั้น ได้เคยสดับพระนามพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตแล้วไซร้ ด้วยกุศลเหตุประการนี้ จักยังให้ระลึกถึงพระองค์ได้อีก แล้วน้อมมาเป็นสรณะด้วยความเป็นที่สุดแห่งใจ อาศัยพระพุทธานุภาพนั้นแล ยังให้หลุดพ้นจากสรรพทุกข์ทั้งมวล มีพีชะเป็นผู้เฉลียวฉลาด มากด้วยปัญญาญาณและพหูสูต ใฝ่มุ่งวิชยธรรมอันประเสริฐอยู่เป็นนิจ ประสบกัลยาณมิตรอยู่เสมอ ตัดบ่วงแห่งมารให้ขาดสิ้น ทำลายเปลือกแห่งอวิชชา ยังกิเลสสาครให้เหือดแห้ง แล้วหลุดพ้นจากทุกขเวทนา ความโศกาดูรแห่งชาติ ชรา โรคาและมรณะทั้งปวง
「復次、曼殊利室!若諸有情好喜乖離,更相鬥訟,惱亂自他,以身語意,造作增長種種惡業,展轉常為不饒益事,互相謀害。告召山林樹塚等神;殺諸眾生,取其血肉祭祀藥叉、羅剎婆等;書怨人名,作其形像,以惡咒術而咒詛之;厭魅蠱道,咒起屍鬼,令斷彼命,及壞其身。是諸有情,若得聞此藥師琉璃光如來名號,彼諸惡事悉不能害,一切展轉皆起慈心,利益安樂,無損惱意及嫌恨心,各各歡悅,於自所受生於喜足,不相侵凌互為饒益」。
ดูก่อนมัญชุศรี หากหมู่สัตว์นิยมวิวาทะ ต้องพิพากษาในชั้นศาล ยังให้ตนเองและผู้อื่นเป็นทุกข์หาความสงบมิได้ ด้วยเพราะกาย วาจาและใจที่กระทำอกุศลกรรมนานายิ่งขึ้นไม่รู้หยุด ยิ่งกระทำสิ่งมิยังประโยชน์มากขึ้น ทำร้ายแก่กัน เรียกภูติแห่งวนาวาส สิงขร สุสานมาสังหารสรรพสัตว์ต่างๆ ใช้โลหิตและมังสานั้นสังเวยยักษ์ รากษส ขีดเขียนชื่อและทำรูปรอยศัตรู ใช้อาคมชั่วร้ายและไสยเวทย์อาถรรพ์ ใช้คาถาเรียกภูติผีจากซากศพ เพื่อปหารชีวิตฤๅทำลายร่างกายผู้อื่น หมู่สัตว์ทั้งหลายนี้ หากได้สดับพระนามของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้าแล้วไซร้ สิ่งอกุศลที่กระทำทั้งปวงนั้นจักมิอาจบันดาลโทษภัย ต่างจะยิ่งเกิดมีเมตตาจิต ก่อเกิดคุณประโยชน์และผาสุก มิเกิดจิตอาฆาตและพยาบาท ต่างจักยินดีพอใจในสิ่งที่เกิดแต่ตนเองอย่างทั่วพร้อม มิข่มเหงแก่กัน แต่ร่วมกันยังประโยชน์ให้เกิดขึ้น
「復次、曼殊室利!若有四眾:苾芻、苾芻尼、鄔波索迦、鄔波斯迦,及餘淨信善男子、善女人等,有能受持八分齋戒,或經一年、或復三月受持學處,以此善根,願生西方極樂世界無量壽佛所聽聞正法而未定者,若聞世尊藥師琉璃光如來名號,臨命終時,有八大菩薩,其名曰:文殊師利菩薩,觀世音菩薩,得大勢菩薩,無盡意菩薩,寶檀華菩薩,藥王菩薩,藥上菩薩,彌勒菩薩。是八大菩薩乘空而來,示其道路,即於彼界種種雜色眾寶華中,自然化生」。
ดูก่อนมัญชุศรี หากบริษัท ๔ มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และกุลบุตร กุลธิดาต่างๆที่มีศรัทธาจิต สามารถสมาทานแลธำรงไว้ซึ่งอุโบสถศีล[7] เป็นเวลา ๑ ปี ฤๅสมาทานธำรงสิกขาบทอยู่เป็นเพลา ๓ เดือน ด้วยจักอาศัยกุศลมูลนี้ ไปอุบัติยังสุขาวดีโลกธาตุเบื้องประจิมทิศ แห่งพระอมิตายุสพุทธะ[8] เมื่อได้สดับพระธรรมแล้วยังมิตั้งมั่น หากได้สดับยลยินพระนามพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตแล้วไซร้ เมื่อกาลมรณะมาถึง จักมีมหาโพธิสัตว์ ๘ องค์ นามว่า มัญชุศรีโพธิสัตว์๑ อวโลกิเตศวรโพธิสัตว์๑ มหาสถามปราปตโพธิสัตว์๑ อักษยมติโพธิสัตว์๑ ทานรัตนศรีโพธิสัตว์๑ ไภษัชยราชโพธิสัตว์๑ ไภษัชยสมุทคตโพธิสัตว์๑ เมตไตรยโพธิสัตว์๑ อันโพธิสัตว์ทั้ง ๘ นี้จะดำเนินมาแต่นภากาศ แล้วนำทางผู้นั้นไปอุบัติยังท่ามกลางรัตนมาลีหลากสีในโลกธาตุแห่งนั้น[9] แล้วกำเนิดโดยอุปปาติกวิธี[10]
[1] คือ ความถือตัว ว่ามีความรู้แล้วเหยียดหยาม วิพากษ์วิจารณ์ ใส่ใคล้ผู้อื่น
[2] ในกรณีนี้หมายถึงมิตรชั่ว ยกยอกันและกันเป็นมานะปิดกั้นตนเอง ให้ร้ายผู้อื่น ฯลฯ เป็นต้น
[3] โกฏิ จำนวนนับ เท่ากับ สิบล้าน
[4] มีความหมายคือ นิรยภูมิ อุปมาเป็นดั่งหลุมบ่อ ที่อันตรายจะปีนขึ้นมาได้ยาก ในประการนี้แสดงให้เห็นว่าผู้เป็นพหูสูตร แต่มากด้วยมานะ ไม่ยอมฟังคำสอนอื่นใด และจะสั่งสอนผู้อื่นให้หลงผิดตาม
[5] ความหมายคือ การออกบวช ไม่ข้องด้วยกามคุณ ตามวิสัยของผู้ครองเรือน
[6] มี นรกภูมิ เปรตภูมิ เดรัจฉานภูมิ
[7] ศีล ๘ ข้อ มี ๑) เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒)เว้นจากการลักทรัพย์ ๓)เว้นจากการเสพกาม ๔)เว้นจากการพูดเท็จ ๕)เว้นจากการดื่มน้ำเมา ๖)เว้นจากการทัดทรงดอกไม้และลูบไล้ด้วยของหอม ๗)เว้นจากการนั่งนอนในที่นั่งนอนสูงใหญ่ ๘)เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล
[8] แปลว่าพระพุทธเจ้าผู้มีอายุยืนยาวไม่มีประมาณ พระนามหนึ่งของพระอมิตาภะพุทธเจ้า
[9] มีนัยยะว่าจะได้ไปอุบัติยังสุขาวดีโลกธาตุ และศุทธิไวฑูรย์ได้ตามปรารถนา เพราะโลกธาตุทั้ง ๒ แห่งนี้มีคุณาลังการเหมือนกันทุกประการ
[10] เกิดแบบผุดขึ้น ได้แก่กำเนิดพรหม เทวดาและสัตว์นรกเป็นต้น ซึ่งเกิดผุดขึ้นแบบทันใด ก็ใหญ่โตเป็นวิญญูชนทันที มิต้องเป็นทารกแล้วเจริญเติบโตอย่างกำเนิดแบบอื่น เมื่อสิ้นอายุขัยก็หายวับไปไม่ทิ้งซากไว้
「或有因此,生於天上,雖生天上,而本善根,亦未窮盡,不復更生諸餘惡趣。天上壽盡,還生人間,或為輪王,統攝四洲,威德自在,安立無量百千有情於十善道;或生剎帝利、婆羅門、居士大家,多饒財寶,倉庫盈溢,形相端嚴,眷屬具足,聰明智慧,勇健威猛,如大力士。若是女人,得聞世尊藥師琉璃光如來名號,至心受持,於後不復更受女身」。
ฤๅด้วยเหตุนี้[1] จักยังให้กำเนิดบนเทวโลก แม้นได้กำเนิดยังเทวโลกก็ตาม กุศลมูลนี้ก็ยังมิสูญสิ้น มิต้องไปกำเนิดยังอบายภูมิอื่นๆ เมื่ออายุขัยบนเทวโลกสิ้นแล้ว จักหวนกลับมากำเนิดยังโลกมนุษย์ บ้างเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ปกครองไปทั่วจตุรทวีป [2]มีอิสรานุภาพไพศาล ยังให้หมู่สัตว์จำนวนอนันตะร้อยพันได้ตั้งอยู่ในทศกุศลมรรค[3] บ้างถือกำเนิดเป็นกษัตริย์ พราหมณ์ บัณฑิตผู้มากด้วยรัตนสมบัติ จักมีโกศาคารที่เต็มเปี่ยม มีรูปลักษณ์สง่างาม บริวารพงษาบริบูรณ์ มีปัญญาญาณเฉลียวฉลาด วีรภาพหาญกล้า ดุจมหาพลเทพ หากสตรีได้สดับพระนามของพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต แล้วน้อมรับยึดถือด้วยความเป็นที่สุดแห่งใจแล้วไซร้ ภายหลังจักมิต้องมีกายแห่งสตรีอีก
「復次、曼殊室利!彼藥師琉璃光如來得菩提時,由本願力,觀諸有情,遇眾病苦瘦攣、乾消、黃熱等病;或被厭魅、蠱毒所中;或復短命,或時橫死;欲令是等病苦消除所求願滿」。
ดูก่อนมัญชุศรี เมื่อสมัยที่พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้าพระองค์นั้นทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณแล้ว ด้วยกำลังของมูลปณิธานเมื่อกาลก่อน ยังให้พิจารณาในหมู่สัตว์ทั้งปวง แล้วทรงประจักษ์ในความทุกข์ทรมานต่างๆ จากโรคาพาธมี ความซูบผอมซีดเซียว นิ้วมือเท้างอหงิก ไข้เหลือง[4]บ้างต้องคุณไสยอาถรรพ์ร้าย บ้างมีอายุสั้น บ้างมรณะก่อนเวลาอันควร[5] จึงมีพุทธประสงค์จักยังให้โรคาพาธต่างๆสิ้นไป ยังปณิธานทั้งปวงได้สมมโนรถ
「時彼世尊,入三摩地,名曰除滅一切眾生苦惱。既入定已,於肉髻中出大光明,光中演說,大陀羅尼曰:『
ครั้นแล้ว พระโลกนาถเจ้าพระองค์นั้นจึงทรงเจริญสมาธินามว่า สรวสัตวทุกขภินทนา[6] แลเมื่อเข้าสู่สมาธิแล้ว พระพุทธอุษณีษ์[7]ได้บังเกิดมหารัศมีโอภาสสว่างไสว ในระหว่างรัศมีนั้นแลได้ตรัสมหาธารณีว่า...
那謨薄伽筏帝,裨殺社窶嚕,薛琉璃缽剌婆喝囉闍也,怛陀揭多耶,阿羅訶帝,三藐三勃陀耶。怛姪阤:唵,鞞殺逝,鞞殺逝,鞞殺社,三沒揭帝娑訶』」。
นโม ภควเต ไภษชฺย คุรุ ไวฑูรฺย ปรภา ราชาย ตถาคตาย อรฺหเต สมยกฺ สมพุทฺธาย ตทฺยถา โอม ไภษชฺเย ไภษชฺเย มหา ไภษชฺย ราชา สมุทฺคเต สฺวาหา
爾時、光中說此咒已,大地震動,放大光明,一切眾生病苦皆除,受安隱樂。
เมื่อเพลาที่ตรัสมนตรานี้หว่างรัศมีอันโอภาสแล้ว มหาปฐพีดลก็กัมปนาทสั่นไหว บังเกิดเป็นมหารัศมีรุ่งเรืองไปทั่ว บรรดาโรคาพาธของหมู่สัตว์ทั้งปวงได้สูญสิ้น ได้รับความผาสุกสวัสดีโดยทั่วกัน
「曼殊室利!若見男子、女人有病苦者,應當一心,為彼病人,常清淨澡漱,或食、或藥、或無蟲水、咒一百八遍,與彼服食,所有病苦悉皆消滅。若有所求,志心念誦,皆得如是無病延年;命終之後,生彼世界,得不退轉,乃至菩提。
ดูก่อนมัญชุศรี หากพบชาย หญิงผู้มีทุกข์จากโรค พึงมีจิตแน่วแน่ให้ผู้ป่วยไข้นั้นชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เป็นนิจ นำอาหาร โอสถ หรือน้ำที่ปราศจากสิ่งสกปรก เสกด้วยคาถานี้ ๑๐๘ จบ พร้อมกับอาภรณ์และอาหารนั้น บรรดาทุกข์แห่งโรคก็จักดับสิ้นไป หากปรารถนาสิ่งใด แล้วภาวนาสาธยายด้วยความเป็นที่สุดแห่งใจแล้วไซร้ ย่อมบรรลุได้ตามประสงค์ทุกประการ จักเป็นผู้ไร้โรคาพาธเบียดเบียน อายุสิริวัฒนา เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วในภายหลัง จักไปอุบัติยังศุทธิไวฑูรย์พุทธเกษตรแห่งนั้น มิเสื่อมถอยย้อนกลับตราบจนถึงพระโพธิญาณ
是故曼殊室利!若有男子、女人,於彼藥師琉璃光如來,至心殷重,恭敬供養者,常持此咒,勿令廢忘」。
ด้วยเหตุนี้ มัญชุศรี หากมีชาย หญิงผู้ถวายสักการะและนอบน้อมพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้น ด้วยความเป็นที่สุดแห่งใจแล้วไซร้ ก็พึงยึดมั่นในธารณีนี้ อย่าให้ลืมเลือนเสียหายเถิด
「復次、曼殊室利!若有淨信男子女人,得聞藥師琉璃光如來應正等覺所有名號,聞已誦持。晨嚼齒木,澡漱清淨,以諸香花,燒香、塗香,作眾伎樂,供養形象。於此經典,若自書,若教人書,一心受持,聽聞其義。於彼法師,應修供養:一切所有資身之具,悉皆施與,勿令乏少。如是便蒙諸佛護念,所求願滿,乃至菩提」。
ดูก่อนมัญชุศรี หากมีกุลบุตร กุลธิดาผู้มีศรัทธาบริสุทธิ์ [8]เมื่อได้สดับพระนามต่างๆ ของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ เมื่อสดับแล้วก็ยึดมั่นภาวนา ยามอรุณรุ่งพึงขบเคี้ยวทนตกาษฐ์[9] ชำระกายาให้สะอาด แล้วนำมวลบุปผชาติมีกลิ่นหอม ร่ำสุคนธ์ (ประพรม)น้ำหอม บรรเลงมวลสังคีต เพื่อสักการะต่อพระพุทธปฏิมา อันพระธรรมสูตรปกรณ์นี้ หากตนเองได้ขีดเขียน หากสอนผู้อื่นให้ขีดเขียน ได้น้อมรับปฏิบัติด้วยเอกจิต เมื่อสดับฟังอรรถะแห่งพระสูตรนี้แล้ว ได้ถวายกัปปิยภัณฑ์อันจำเป็นสำหรับกาย เป็นทานต่อพระธรรมาจารย์ผู้สั่งสอนธรรมนั้นมิให้ขาดแคลนแล้วไซร้ เช่นนี้ จักยังให้พระพุทธเจ้าทั้งปวงตามระลึกดูแล ยังปณิธานทั้งปวงให้สมบูรณ์พร้อม ตราบจนถึงพระโพธิญาณ
爾時、曼殊室利童子白佛言:「世尊!我當誓於像法轉時,以種種方便,令諸淨信善男子、善女人等,得聞世尊藥師琉璃光如來名號,乃至睡中亦以佛名覺悟其耳。
สมัยนั้น พระมัญชุศรีกุมารภูตะทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า ข้าพระองค์ขอ ปฏิญานว่าเมื่อกาลที่พระสัทธรรมเสื่อมถอยนั้น ข้าพระองค์จักใช้อุปายโกศลนานาประการ เพื่อยังให้กุลบุตร กุลธิดาผู้มีศรัทธาบริสุทธิ์ ได้สดับยลยินพระนามแห่งพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต แม้นในยามนิทราก็จักรู้สึกว่าได้ยินนามของพระพุทธเจ้าองค์นี้
世尊!若於此經受持讀誦。或復為他演說開示;若自書、若教人書;恭敬尊重,以種種華香、塗香、末香、燒香、花鬘、瓔珞、幡蓋、伎樂,而為供養;以五色綵,作囊盛之;掃灑淨處,敷設高座,而用安處。爾時、四大天王與其眷屬,及餘無量百千天眾,皆詣其所,供養守護。
ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า หากปฏิบัติยึดถือ อ่านท่องสาธยายในพระธรรมสูตรนี้ ฤๅประกาศสั่งสอนแก่บุคคลอื่น หากได้จารึกด้วยตนเอง ฤๅสอนให้ผู้อื่นจารึก มีการเคารพนอบน้อมอย่างที่สุด บูชาด้วยมาลีที่มีกลิ่นหอม น้ำหอม ผงหอม ร่ำสุคนธ์ พวงมาลา สายสร้อยเกยูระ ธวัชฉัตรธง เครื่องดุริยางค์ดนตรีนานาชนิด ใช้ผ้าเบญจรงค์บรรจุพระสูตรนี้ แล้วประดิษฐานไว้ยังที่บริสุทธิ์ บนอาสนะที่ยกสูงแล้วไซร้ ในเพลานั้น จตุเทวราชพร้อมเทวบริษัท และเทวนิกรอื่นจำนวนอนันตะร้อยพัน จักมายังสถานที่แห่งนั้น เพื่อถวายสักการะและอารักขา
世尊!若此經寶流行之處,有能受持,以彼世尊藥師琉璃光如來本願功德,及聞名號,當知是處無復橫死;亦復不為諸惡鬼神奪其精氣,設已奪者,還得如故,身心安樂」。
ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า หากพระสูตรที่มีค่าดุจรัตนะนี้ได้แผ่กำจายไปยังสถานใด แล้วสามารถน้อมปฏิบัติตามความดีงามในมูลปณิธาน และได้สดับพระนามของพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตแล้วไซร้ พึงทราบเถิดว่าสถานแห่งนั้นจะไม่มีการมรณะก่อนเวลาอันควรอีกต่อไป แลจักไม่มีปีศาจร้ายทั้งปวงที่ฉุดคร่าดวงวิญญานนั้นอีก ผู้ที่ถูกฉุดคร่าไปแล้วย่อมหวนกลับคืนมาได้ดังเหตุนี้ กายและใจจึงสุขศานติ
佛告曼殊室利:「如是!如是!如汝所說。曼殊室利!若有淨信善男子、善女人等,欲供養彼世尊藥師琉璃光如來者,應先造立彼佛形像,敷清淨座而安處之。散種種花,燒種種香,以種種幢幡莊嚴其處。七日七夜,受八分齋戒,食清淨食,澡浴香潔,著清淨衣,應生無垢濁心,無怒害心,於一切有情起利益安樂,慈、悲、喜、捨平等之心,鼓樂歌讚,右遶佛像。復應念彼如來本願功德,讀誦此經,思惟其義,演說開示。隨所樂求,一切皆遂:求長壽,得長壽,求富饒,得富饒,求官位得官位,求男女得男女」。
ครั้งนั้น พระพุทธองค์รับสั่งกับพระมัญชุศรีว่า เป็นเช่นนั้นๆ ดังที่เธอได้กล่าว มัญชุศรีหากมีกุลบุตร กุลธิดาผู้มีศรัทธาบริสุทธิ์ ปรารถนาจักถวายสักการะพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้น พึงสร้างรูปปฏิมาของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นขึ้นก่อน จัดเตรียมสถานที่บริสุทธิ์เพื่อประดิษฐาน แล้วโปรยบุปผชาตินานาพรรณ ร่ำสุคันธชาตินานาชนิด ประดับสถานอลังการด้วยธงฉัตรนานาประการ เป็นเพลา ๗ ทิวาแลราตรีให้สมาทานอุโบสถศีล บริโภคอาหารบริสุทธิ์[10]ชำระกายให้หอม(เพราะความ)สะอาด สวมใส่อาภรณ์ที่ใหม่และสะอาด พึงเกิดจิตมิเคลือบย้อมแปดเปื้อน[11] จิตมิอาฆาตพยาบาท เกิดจิตที่ยังประโยชน์ต่อหมู่สัตว์ทั้งปวง จิตเมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขาเสมอกัน แล้วบรรเลงดนตรีสรรเสริญ เวียนประทักษิณรอบพุทธปฏิมา พึงระลึกถึงความดีงามแห่งมูลปณิธานของพระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น แล้วสังวัธยายพระสูตรนี้ โดยตรึกตรองอรรถะแห่งพระสูตร แล้วประกาศสั่งสอน เมื่อปรารถนาสิ่งใด ย่อมสมปรารถนาทุกประการ หากต้องการอายุยืนยาว ย่อมได้อายุยืนยาว ต้องการความมั่งคั่ง ย่อมได้ความมั่งคั่ง ต้องการบรรดาศักดิ์ ย่อมได้บรรดาศักดิ์ ต้องการชายหญิง ย่อมได้ชายหญิงสมตามมโนจินต์
[1] เหตุนี้ คือเหตุแห่งการภาวนาพระนามของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า หากมีศรัทธาหรือมีกุศลปัจจัยไม่เพียงพอให้ไปกำเนิดยังพุทธเกษตร ก็จักไม่ตกอบายภูมิ และไปกำเนิดบนเทวโลกแทน
[2] ทวีปทั้ง ๔ ทางคติพุทธศาสนา มี ๑)ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ของเขาสุเมรุ ๒)ปูรววิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสุเมรุ ๓)อมรโคยานทวีป อยู่ทางตะวันตกของเขาสุเมรุ ๔)อุตตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของเขาสุเมรุ หรือคือดินแดนที่แผ่กว้างออกไปจรดแผ่นดิน แผ่นน้ำทั้งสี่ทิศ
[3] ความดี ๑๐ อย่าง แบ่งเป็น ความดีทางกาย ๓ มี ๑)เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๒)เว้นจากการลักทรัพย์ ๓)เว้นจากการผิดในกาม ความดีทางวาจา ๔ มี ๑)เว้นจากการพูดเท็จ ๒)เว้นจากการพูดคำหยาบ ๓)เว้นจากการพูดส่อเสียด ๔)เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อโปรยเสียซึ่งประโยชน์ และความดีทางใจ ๓ มี ๑)เว้นจากการโลภของผู้อื่น ๒)เว้นจากการพยาบาท ๓)เว้นจากการเห็นผิด
[4] โรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง เกิดจากเชื้อไวรัส มียุงเป็นพาหะ ผู้ป่วยมักมีอาการเวียนและปวดศีรษะ คลื่นเหียน อาเจียน และปวดหลัง ไข้ขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเต้นช้าลง ผิวและตาเหลือง อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตภายใน ๖-๗ วัน
[5] ตามศัพท์คือ อกาลมรณะ คือ ตายโหง, ตายร้าย
[6] คือ สมาธิที่ทำลายความทุกข์ของสรรพสัตว์
[7] หรือ อุณหิสในบาลี หมายถึงกรอบหน้าพระพักตร์, ก้อนพระมังสะหน้าพระเศียร ซึ่งเป็นอาการหนึ่งในอาการ ๓๒ ของพระพุทธเจ้า โดยมากทำเป็นเปลวเพลิง แสดงถึงพระปัญญาอันรุ่งโรจน์ ประติมากรรมฝ่ายมหายาน บางแห่งทำเป็นก้อนพระมังสะงอกขึ้นมาเหนือพระนลาตขึ้นไปเล็กน้อย
[8] คือ ผู้ศรัทธาด้วยปัญญา พิจารณารู้ถึงคุณประโยชน์อย่างมิสงสัยเคลือบแคลง มิเป็นผู้มีศรัทธาไม่บริสุทธิ์ เพราะอวิชชา ลุ่มหลงงมงาย
[9] คือ ไม้ใช้เคี้ยวเพื่อทำความสะอาดฟัน
[10] หมายถึง อาหารที่ไม่มีเลือดเนื้อสรรพสัตว์อื่นเจือปน, อาหารเจ
[11] คือ จิตศรัทธาแท้จริง ไม่เคลือบย้อมด้วยความสงสัย,จิตอกุศล
「若復有人,忽得惡夢,見諸惡相;或怪鳥來集;或於住處百怪出現。此人若以眾妙資具,恭敬供養彼世尊藥師琉璃光如來者,惡夢、惡相諸不吉祥,皆悉隱沒,不能為患。或有水、火、刀、毒、懸險、惡象、師子、虎、狼、熊、羆、毒蛇、惡蠍、蜈蚣、蚰蜒、蚊、虻等佈;若能至心憶念彼佛,恭敬供養,一切怖畏皆得解脫。若他國侵擾,盜賊反亂,憶念恭敬彼如來者,亦皆解脫」。
หากมีผู้นิทราแล้วนิมิตร้าย ได้พบลักษณะชั่วร้ายทั้งปวง บ้างมีวิหคประหลาดมาประชุมรวมกลุ่มกัน บ้างเกิดอาเภทแปลกประหลาดในเคหสถาน บุคคลนี้หากนำบรรดาเครื่องสักการะชั้นเลิศ มาน้อมถวายพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้นแล้วไซร้ สุบินร้ายและทุรลักษณ์อัปมงคลทั้งปวง จักมิปรากฏ มิอาจให้โทษภัย บ้างมีความหวั่นกลัว(ภัยจาก)อุทก อัคคี ศาตราวุธ โอสถพิษ ภัยประหลาด คชสารดุ สิงห์ พยัคฆ์ สุนัขป่า หมี อสรพิษ แมลงป่อง ตะขาบ แมงคาเรือง[1] ยุง แมลงและเหลือบ หากสามารถน้อมระลึกถึง และถวายสักการะต่อพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยความเป็นที่สุดแห่งใจแล้วไซร้ ก็จักหลุดพ้นจากสรรพอันตรายได้ หากมีประเทศอื่นมารุกราน กรรโชกแย่งชิง เมื่อได้น้อมระลึกและถวายความเคารพต่อพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้วไซร้ ก็จักหลุดพ้นได้เช่นกัน
「復次、曼殊室利!若有淨信善男子、善女人等,乃至盡形不事餘天,唯當一心,歸佛法僧,受持禁戒:若五戒、十戒,菩薩四百戒、苾芻二百五十戒,苾芻尼五百戒。於所受中或有毀犯,怖墮惡趣,若能專念彼佛名號,恭敬供養者,必定不受三惡趣生。
ดูก่อนมัญชุศรี หากกุลบุตร กุลธิดาผู้มีศรัทธาบริสุทธิ์ ตลอดชีวิตมิได้ข้องเกี่ยวกับเทพเจ้าอื่นใด มีเอกจิตเป็นหนึ่งต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รับสมาทานศีลสังวร อันมีศีล ๕ ศีล ๑๐ โพธิสัตวศีล ๔๐๐ ภิกษุศีล ๒๕๐ [2]ภิกษุณีศีล ๕๐๐ หากได้ละเมิดศีลเหล่านั้น แล้วหวั่นเกรงจักตกสู่อบายภูมิ หากสามารถตั้งจิตระลึกถึงพระนามของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น แล้วถวายความเคารพสักการะแล้วไซร้ ย่อมมิต้องอุบัติยังอบายภูมิทั้ง ๓ อย่างแน่นอน
或有女人,臨當產時,受於極苦;若能志心稱名禮讚,恭敬供養彼如來者,眾苦皆除。所生之子,身分具足,形色端正,見者歡喜,利根聰明,安隱少病,無有非人,奪其精氣」。
ฤๅมีอิสตรีผู้ใกล้คลอด ได้รับทุกขเวทนาเป็นที่สุด หากสามารถสรรเสริญพระนาม ถวายความเคารพแลสักการะพระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น ด้วยความเป็นที่สุดแห่งใจแล้วไซร้ สรรพทุกข์ทั้งปวงจักมลายสิ้น บุตรที่ถือกำเนิดจะมีองคาพยพบริบูรณ์ รูปลักษณ์สง่างาม เป็นที่ยินดีแก่ผู้ได้ประสบ เฉลียวฉลาด เป็นสุขและมีโรคน้อย ปราศจากอมนุษย์ใดมาช่วงชิงดวงวิญญาณไปได้
爾時、世尊告阿難言:「如我稱揚彼世尊藥師琉璃光如來所有功德,此是諸佛甚深行處,難可解了,汝為信不?」
ครั้นนั้น พระโลกนาถเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า ดั่งที่ตถาคตได้พรรณนาถึงพระคุณธรรมบารมีของพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้น อันเป็นจริยาวัตรที่คัมภีรภาพแยบคายของพระพุทธเจ้าทั้งปวงที่เข้าใจได้ยากอยู่เช่นนี้ เธอมีความศรัทธาเชื่อมั่นหรือไม่
阿難白言:「大德世尊!我於如來所說契經不生疑惑,所以者何?一切如來身語意業無不清淨。世尊!此日月輪可令墮落,妙高山王可使傾動,諸佛所言無有異也」。
พระอานนท์เถรเจ้าทูลว่า ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า ข้าพระองค์มิบังเกิดวิจิกิจฉาต่อพระธรรมคัมภีร์ทั้งปวงที่พระตถาคตเจ้าตรัสแสดงแล้ว ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤๅ เพราะกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรมของพระตถาคตทั้งปวงบริสุทธิ์ ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า อันดวงสุริยันและจันทราอาจยังให้ตกลงได้ สุเมรุคิรีราชอาจยังให้พลิกคว่ำ แต่พระวจนะแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวงมิอาจเปลี่ยนแปลง
「世尊!有諸眾生,信根不具,聞說諸佛甚深行處,作是思惟:云何但念藥師琉璃光如來一佛名號,便獲爾所功德勝利?由此不信,還生誹謗。彼於長夜失大利樂,墮諸惡趣,流轉無窮!」
ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า มีบรรดาสรรพสัตว์ที่อินทรีย์คือศรัทธาไม่สมบูรณ์ เมื่อได้สดับจริยาวัตรที่คัมภีรภาพของพระพุทธเจ้าทั้งปวงแล้ว ย่อมจักมีมนสิการเช่นนี้ว่า “เพียงได้ระลึกถึงพระพุทธนามของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าพระองค์เดียว จักได้รับกุศลานิสงค์วิเศษปานฉะนี้เลยหรือกระไร” ด้วยเหตุแห่งการไม่ศรัทธานี้ ยังให้เกิดการว่าร้าย บุคคลนี้ในยามค่ำคืนย่อมพลาดสูญประโยชน์สุขมหาศาล[3] แล้วตกสู่อบายภูมิทั้งปวง เวียนว่ายอยู่มิจบสิ้น
佛告阿難:「是諸有情若聞世尊藥師琉璃光如來名號,至心受持,不生疑惑,墮惡趣者無有是處」。
พระพุทธองค์รับสั่งต่อพระอานนท์ว่า หมู่สัตว์ทั้งหลายหากสดับยลยินพระนามของพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต แล้วน้อมรับปฏิบัติด้วยความเป็นที่สุดแห่งใจ โดยมิเกิดวิจิกิจฉาเคลือบแคลง แล้วยังตกสู่อบายภูมิอีกย่อมเป็นไปมิได้ในสถานนี้
「阿難!此是諸佛甚深所行,難可信解;汝今能受,當知皆是如來威力。
ดูก่อนอานนท์ นี้คือพระจริยาวัตรที่คัมภีรภาพแยบคายของพระพุทธเจ้าทั้งปวง อันหยั่งใจเชื่อได้ยาก การที่เธอสามารถน้อมรับได้นี้ พึงทราบเถิดว่าล้วนคือพลานุภาพแห่งพระตถาคตเจ้าบันดาลให้เป็นไป
阿難!一切聲聞、獨覺,及未登地諸菩薩等,皆悉不能如實信解,唯除一生所繫菩薩。
อานนท์ บรรดาสาวก ปัจเจกโพธิ และโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้ยังมิบรรลุถึงโพธิสัตวภูมิ ล้วนมิสามารถศรัทธาได้อย่างแท้จริง เว้นแต่เอกชาติปฏิพันธ์โพธิสัตว์เท่านั้น(ที่จักศรัทธาได้อย่างแท้จริง)
阿難!人身難得;於三寶中,信敬尊重,亦難可得聞世尊藥師琉璃光如來名號,復難於是」。
อานนท์ เป็นการยากที่จะมีกายแห่งมนุษย์ และมีศรัทธามั่นในพระรัตนตรัย แต่การได้สดับพระนามแห่งพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตนั้นเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า
「阿難!彼藥師琉璃光如來,無量菩薩行,無量善巧方便,無量廣大願;我若一劫,若一劫餘而廣說者,劫可速盡,彼佛行願,善巧方便無有盡也!」
อานนท์ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญโพธิสัตวจริยาจำนวนประมาณมิได้ ทรงใช้อุปายโกศลที่ชาญฉลาดจำนวนประมาณมิได้(ในการช่วยเหลือสรรพสัตว์) ทรงมีมหาปณิธานที่ไพบูลย์จำนวนประมาณมิได้ หากตถาคตจักกล่าววิภาษาให้กว้างขวางออกไปเป็นเวลา ๑ กัลป์ หรือแม้ในกัลป์อื่นๆ ด้วยแล้วไซร้ กัลป์นั้นแลจะสิ้นไปอย่างรวดเร็ว แต่ทว่าพระจริยาปณิธาน และพระอุปายโกศลของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นจักพรรณนาได้มิรู้หมดสิ้นเลย
爾時、眾中,有一菩薩摩訶薩,名曰救脫,即從座起,偏袒一肩,右膝著地,曲躬合掌而白佛言:「大德世尊!像法轉時,有諸眾生為種種患之所困厄,長病贏瘦,不能飲食,喉脣乾燥,見諸方暗,死相現前,父母、親屬、朋友、知識啼泣圍繞;然彼自身臥在本處,見琰魔使,引其神識至於琰魔法王之前。然諸有情,有俱生神,隨其所作若罪若福,皆具書之,盡持授與琰魔法王。
สมัยครั้งนั้นแล ณ ท่ามกลางมหาชน ยังมีพระโพธิสัตว์มหาสัตว์พระองค์หนึ่งนามว่า วิมุตติ ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ ลดผ้าลงข้างหนึ่ง คุกชานุเบื้องขวาลงกับพื้นดิน ประณมกร แล้วทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า เมื่อกาลที่พระสัทธรรมเสื่อมถอย จักมีสรรพสัตว์ได้รับทุกข์ทรมานนานัปการ มากด้วยโรคซูบผอมอ่อนแอ มิสามารถดื่มกินอาหารได้ ลำคอแห้งเหือด มองไปทิศใดให้พบแต่ความมืดมิด อันเป็นมรณลักษณะที่มาปรากฏยังเบื้องหน้า บิดามารดา ญาติพงษา มิตรสหาย กัลยาณมิตรต่างร่ำไห้อยู่รอบกาย ในสถานที่กายแห่งตนนอนอยู่นั้นแล จักพบยมฑูตนำพาวิญญาณไปยังเบื้องหน้าพญายมราชผู้ทรงธรรม [4]อันหมู่สัตว์ทั้งปวง ผู้มีวิญญาณเกิดขึ้นแล้ว จักกระทำสิ่งใดมิว่าบาปหรือคุณนั้น ล้วนถูกบันทึกไว้โดยพญายมราชผู้ทรงธรรมทั้งสิ้น
爾時、彼王推問其人,計算所作,隨其罪福而處斷之。時彼病人,親屬、知識,若能為彼歸依世尊藥師琉璃光如來,請諸眾僧,轉讀此經,然七層之燈,懸五色續命神旛,或有是處彼識得還,如在夢中明了自見。或經七日,或二十一日,或三十五日,或四十九日,彼識還時,如從夢覺,皆自憶知善不善業所得果報;由自證見業果報故,乃至命難,亦不造作諸惡之業。是故淨信善男子善女人等,皆應受持藥師琉璃光如來名號,隨力所能,恭敬供養」。
ครั้นแล้ว ยมธรรมราชาจักตรัสถามผู้นั้น แล้วคำนวณผลแห่งบาปและบุญตามที่กระทำมา แล้วจึงตัดสินตามนั้น ในเพลานั้น หากญาติและกัลยาณมิตรของผู้ป่วย สามารถน้อมพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเป็นสรณะแทนผู้ป่วยไข้นั้น โดยอาราธนาหมู่สงฆ์มาสังวัธยายพระสูตรนี้ จุดประทีป ๗ ชั้น แขวนธงต่ออายุขัย ๕ สีแล้วไซร้ วิญญาณผู้นั้นอาจกลับมาอีกก็เป็นได้ ประดุจผู้ที่นิทราฝันไปแล้วได้สติรู้แจ้งด้วยตนเอง อาจผ่านไป ๗ วาร หรือ ๒๑ วาร หรือ ๓๕ วาร หรือ ๔๙ วาร เมื่อคราที่วิญญาณหวนกลับมา ก็ดุจตื่นจากความฝัน ตนเองย่อมเข้าใจในวิบากผลแห่งกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่จักได้รับ ด้วยเหตุที่ตนเองได้ประจักษ์มาแล้ว แม้นมีภัยถึงแก่ชีวาวาตย์ ก็จักมิกระทำอกุศลทั้งปวง ด้วยเหตุนี้ กุลบุตร กุลธิดาผู้มีศรัทธาบริสุทธิ์ จึงควรน้อมรับยึดมั่นในพระนามของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้า แลถวายความเคารพสักการะตามกำลังสามารถเถิด
[1] สัตว์ชนิดหนึ่งมีขา ๑๕ คู่ ตัวยาวประมาณ ๑ นิ้ว
[2] ภิกษุศีลของมหายานมี ๒๕๐ ข้อ จำแนกเป็นปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิตย ๒ นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๐ (เถรวาทมี ๙๒) ปาฏิเทศนีย์ ๔ เสขิยะ ๑๐๐ (เถรวาทมี ๗๕) และอธิกรณ์สมถะ ๗
[3] ประโยคนี้เปรียบได้ว่า สังสารวัฏนี้ คือยามค่ำคืนที่มืดมิด จะมีก็แต่แสงสว่างแห่งดวงจันทร์ คือพระพุทธธรรมที่ส่องแสงนำทาง
[4] ความหมายคือ พญายมราช เป็นผู้มีความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง ตัดสินชี้ขาดบุญและบาปด้วยความยุติธรรม ในรูปเคารพของมหายานบางแห่งจะถือ กงล้อพระธรรมจักรไว้ในมือ หมายถึงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม(ความถูกต้อง) เป็นผู้ปกป้องพระศาสนา อีกชื่อว่า ธรรมราชา
爾時、阿難問救脫菩薩曰:「善男子!應云何恭敬供養彼世尊藥師琉璃光如來?續命旛燈復云何造」?
สมัยนั้น พระอานนท์เถรเจ้าได้กล่าวปุจฉาพระวิมุตติโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร พึงน้อมถวายความเคารพสักการะพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้นด้วยประการเช่นไรหนอ ธงต่ออายุขัยแลดวงประทีปนั้นแลจักประดิษฐ์ขึ้นโดยวิธีใดเล่า
救脫菩薩言:「大德!若有病人,欲脫病苦,當為其人,七日七夜受持八分齋戒。應以飲食及餘資具,隨力所辦,供養苾芻僧。晝夜六時,禮拜行道,供養彼世尊藥師琉璃光如來。讀誦此經四十九遍,然四十九燈;造彼如來形像七軀,一一像前各置七燈,一一燈量大如車輪,乃至四十九日光明不絕。造五色綵旛,長四十九褶手,應放雜類眾生至四十九,可得過度危厄之難,不為諸橫惡鬼所持」。
พระวิมุตติโพธิสัตว์จึ่งกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า หากมีผู้ป่วยไข้ปรารถนาพ้นจากโรคาทุกข์นั้น พึงให้ผู้นั้นสมาทานและรักษาอุโบสถศีลเป็นเวลา ๗ ทิวาราตรี พึงนำเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งอื่นๆ สุดแต่กำลังสามารถ ถวายต่อภิกษุสงฆ์ ทั้งทิวาราตรี ๖ เพลา[1]จงได้กระทำนมัสการเจริญมรรค ถวายสักการะต่อพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้น สังวัธยายอ่านท่องพระธรรมสูตรนี้ ๔๙ จบ จุดประทีป ๔๙ ดวง สร้างรูปปฏิมาของพระตถาคตเจ้าพระองค์นั้นขึ้น ๗ พระรูป เบื้องหน้าของพระรูปหนึ่งๆ นั้นจงตั้งประทีป ๗ ดวง ประทีปดวงหนึ่งๆนั้นให้มีขนาดใหญ่เท่ากงล้อ (จุดถวาย)เป็นเวลา ๔๙ วันมิให้ดับแสงลง สร้างธงเบญจรงค์ยาว ๔๙ คืบฝ่ามือ และปลดปล่อยสรรพสัตว์ต่างๆตลอด ๔๙ วาร จึงจักผ่านพ้นทุร- วิบัติภัย ยังให้ปีศาจร้ายทั้งปวงมิอาจกระทำการ
「復次、阿難!若剎帝利、灌頂王等,災難起時,所謂:人眾疾疫難,他國侵逼難,自界叛逆難,星宿變怪難,日月薄蝕難,非時風雨難,過時不雨難。彼剎帝利灌頂王等,爾時應於一切有情起慈悲心,赦諸繫閉。依前所說供養之法,供養彼世尊藥師琉璃光如來。
พระคุณเจ้าอานนท์ หากกษัตริย์ ผู้อภิเษกเป็นราชาแห่งแคว้นนั้น เมื่อเพลาที่เกิดภัยพิบัติ อันมี ภัยจากโรคระบาด ภัยจากประเทศอื่นรุกราน ภัยจากคนภายในเป็นกบฏ ภัยจากนักษัตรประหลาดไป ภัยจากสุริยจันทรคลาส ภัยจากลมฝนมิถูกฤดู ภัยจากฝนมิตกต้องตามกาล อันกษัตริย์ผู้อภิเษกเป็นราชานั้น ในกาลนั้นพึงบังเกิดจิตเมตตากรุณาต่อหมู่สัตว์ทั้งปวง อภัยโทษผู้ถูกคุมขัง แล้วดำเนินตามสักการวิธีที่กล่าวแล้วเบื้องต้น เพื่อถวายสักการะต่อพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตพระองค์นั้นเถิด
由此善根及彼如來本願力故,令其國界即得安隱,風雨順時,穀稼成熟,一切有情無病歡樂。
ด้วยเหตุแห่งกุศลมูลนี้ และด้วยกำลังแห่งมูลปณิธานของพระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น จักยังให้แว่นแคว้นแห่งนั้นได้บรรลุถึงความผาสุก ลมและฝนต้องตามฤดูกาล พืชพรรณธัญญาหารและการกสิกรรมให้ผลสมบูรณ์ หมู่สัตว์ทั้งปวงจักไร้โรคภัย เกษมโสมนัสถ้วนหน้า
於其國中,無有暴惡藥叉等神惱有情者,一切惡相皆即隱沒;而剎帝利灌頂王等壽命色力,無病自在,皆得增益」。
ในประเทศนั้น จักปราศจากยักษ์ร้ายและเทวดาใจบาปผู้ก่อเวรให้หมู่สัตว์ อกุศลลักษณะทั้งปวงจักมลายหาย อีกกษัตริย์ผู้อภิเษกเป็นราชาแห่งแคว้นนั้น จักจำเริญด้วยอายุ วรรณะ พละ เป็นผู้มีสุขะเพราะไร้โรคา จักได้บรรลุถึงประโยชน์วัฒนายิ่งเช่นนี้แล
「阿難!若帝后、妃主,儲君、王子,大臣、輔相,中宮、綵女,百官、黎庶,為病所苦,及餘厄難;亦應造立五色神旛,然燈續明,放諸生命,散雜色花,燒眾名香;病得除愈,眾難解脫」。
พระคุณเจ้าอานนท์ หากมเหสี สนม รัชทายาท ราชบุตร มหาอำมาตย์ ขุนนาง นางใน ข้าราชการ ราษฏรทั้งปวงที่เป็นทุกข์จากโรคและภัยอื่นๆ ก็พึงสร้างธงเบญจรงค์ จุดดวงประทีปมิให้ดับ ปลดปล่อยสรรพชีวิต โปรยมวลมาลีหลากพรรณ ร่ำสุคันธชาติชั้นเลิศ โรคาพาธจึงถูกกำจัดหมดไป และล่วงพ้นภยันตรายทั้งปวง
爾時,阿難問救脫菩薩言:「善男子!云何已盡之命而可增益」?
ในเพลานั้น พระอานนท์ด้ปุจฉาพระอนุเคราะห์วิมุตติโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนกุลบุตร จักกระทำเช่นไรหนอ ให้อายุขัยที่หมดสิ้นแล้วได้ยืนยาวต่อไป
救脫菩薩言:「大德!汝豈不聞如來說有九橫死耶?是故勸造續命旛燈,修諸福德,以修福故,盡其壽命不經苦患」。
พระอนุเคราะห์วิมุตติโพธิสัตว์ว่า พระคุณเจ้า ท่านมิเคยได้สดับพระตถาคตเจ้าตรัสถึงอกาลมรณะ ๙ ประการดอกหรือ ด้วยเหตุนี้จึงบังควรสร้างธงและประทีปแห่งความมีอายุวัฒนา บำเพ็ญกุศลทั้งปวง ด้วยเหตุที่บำเพ็ญกุศล จักยังให้เมื่อวายชนม์มิต้องทุกข์มรมาน
阿難問言:「九橫云何」?
พระอานนท์ว่า อกาลมรณะทั้ง ๙ ประการเป็นเช่นไรหนอ
救脫菩薩言:「若諸有情,得病雖輕,然無醫藥及看病者,設復遇醫,授以非藥,實不應死而便橫死。
พระโพธิสัตว์ว่า หากหมู่สัตว์เป็นโรคแม้น้อยนิด แต่ไร้แพทย์ผู้รักษา ปราศจากโอสถและผู้พยาบาล แม้ได้พบแพทย์ แต่ได้รับโอสถที่ผิด ที่แท้ยังมิพึงสิ้นชีพแต่กลับต้องมรณะก่อนเวลาอันควร
又信世間邪魔、外道妖孽之師妄說禍福,便生恐動,心不自正,卜問覓禍,殺種種眾生,解奏神明,呼諸魍魎,請乞福祐,欲冀延年,終不能得。愚癡迷惑,信邪倒見,遂令橫死入於地獄,無有出期,是名初橫。
อีกประการยังมีผู้เลื่อมใสพาหิรมิจฉามาร[2]ของโลก เมื่อได้ฟังคำลวงหลอกของครูผีเวทย์มนตร์ที่ทำนายโชคดีฤๅร้ายแล้ว จึงยิ่งทวีความหวาดกลัว จิตมิอาจตั้งมั่นเป็นสัมมาอยู่ได้ เมื่อทำนายว่ามีเคราะห์ภัย จึงประหารชีวิตสัตว์อื่นๆ เพื่อสังเวยต่อเทพเจ้า แล้วเรียกเชิญภูติผีปีศาจให้มอบวาสนาคุ้มครอง และความมีอายุยืนยาว ที่สุดแล้วก็มิอาจได้ตามนั้น เพราะความโง่เขลาลุ่มหลง มีมิจฉาศรัทธาและวิปลาสทิฐิ[3]เป็นต้น เมื่อ(บุคคลนี้)ได้มรณะก่อนเวลาอันควรแล้วจักเข้าสู่นรกภูมิ ไร้ซึ่งกำหนดกาลหลุดพ้นออกมา นี้แลชื่อว่า อกาลมรณะประการแรก
二者、橫被王法之所誅戮。三者、畋獵嬉戲,耽淫嗜酒,放逸無度,橫為非人奪其精氣。四者、橫為火焚。五者、橫為水溺。六者、橫為種種惡獸所噉。七者、橫墮山崖。八者、橫為毒藥、厭禱、咒詛、起屍鬼等之所中害。九者、饑渴所困,不得飲食而便橫死。
ประการที่ ๒ มรณะด้วยต้องราชอาญาประหารชีวิต
ประการที่ ๓ ผู้ล่าสัตว์ มัวเมาในกามและสุรา ประมาทมิอาจฉุดช่วยได้ จึงต้องมรณะเพราะอมนุษย์มาฉุดคร่าดวงวิญญาณ
ประการที่ ๔ มรณะด้วยเพลิงเผาผลาญ
ประการที่ ๕ มรณะด้วยจมชลชาติ[4]
ประการที่ ๖ มรณะด้วยสัตว์ร้ายต่างๆ กัดกิน
ประการที่ ๗ มรณะด้วยพลัดตกจากภูผา
ประการที่ ๘ มรณะด้วยต้องโอสถพิษ ยาเบื่อ เวทย์มนตร์และภัยจากการปลุกภูติผี[5]
ประการที่ ๙ ผู้หิวกระหายด้วยเพราะอดอยาก มิได้ดื่มกินอาหารจนมรณะ
是為如來略說橫死,有此九種,其餘復有無量諸橫,難可具說!
นี้คือการมรณะก่อนเวลาอันควร ที่พระตถาคตเจ้าทรงแสดงไว้โดยสังเขป ๙ ประการ ซึ่งยังมีมรณะประเภทต่างๆอีกหาจำนวนมิได้ อันจะกล่าวให้ครบถ้วนได้ยาก
「復次、阿難!彼琰魔王主領世間名籍之記,若諸有情,不孝五逆,破辱三寶,壞君臣法,毀於性戒,琰魔法王隨罪輕重,考而罰之。是故我今勸諸有情,然燈造旛,放生修福,令度苦厄,不遭眾難」。
ข้าแต่พระคุณเจ้าอานนท์ ก็พญายมราชาธิบดีผู้บันทึกรายชื่อของสัตว์โลก หากมีหมู่สัตว์ที่ทุรยศ อกตัญญู ก่ออนันตริยกรรม[6]ให้ร้ายดูหมิ่นพระรัตนตรัย ละเมิดกฎหมายของผู้ปกครอง ทำลายศีลาจาร พญายมผู้เป็นเจ้าแห่งธรรมจักพิจารณากรรมที่หนักเบา แล้วตัดสินโทษทัณฑ์ตามนั้น เหตุนี้เราจึงขอให้หมู่สัตว์ทั้งปวง จุดประทีป ประดิษฐ์ธงทิว ปลดปล่อยชีวิตสัตว์อื่นเพื่อบำเพ็ญกุศล จึงจักล่วงพ้นทุกข์ภัย และมิต้องประสบกับเคราะห์กรรมทั้งปวง
爾時、眾中有十二藥叉大將,俱在會坐,所謂:宮毘羅大將,伐折羅大將,迷企羅大將,安底羅大將,頞你羅大將,珊底羅大將,因達羅大將,波夷羅大將,摩虎羅大將,真達羅大將,招杜羅大將,毘羯魔大將:此十二藥叉大將,一一各有七千藥叉,以為眷屬。
ครั้งนั้น ท่ามกลางมหาชนมีมหายักษ์เสนาบดี ๑๒ ตน ประทับนั่งอยู่ในมหาสมาคมนั้นด้วย อันมี กุมภีระมหาเสนาบดี๑ วัชระมหาเสนาบดี๑ มิหิระมหาเสนาบดี๑ อัณฑิระมหาเสนาบดี๑ อนิละมหาเสนาบดี๑ ศัณฑิละมหาเสนาบดี๑ อินทระมหาเสนาบดี๑ ปัชระมหาเสนาบดี๑ มโหรคะมหาเสนาบดี๑ กินนระมหาเสนาบดี๑ จตุระมหาเสนาบดี๑ วิกราละมหาเสนาบดี๑[7]
ซึ่งมหายักษ์เสนาบดีทั้ง ๑๒ ตนนี้ ล้วนมียักษบริวารตนละ ๗,๐๐๐ ตน[8]
同時舉聲白佛言:「世尊!我等今者蒙佛威力,得聞世尊藥師琉璃光如來名號,不復更有惡趣之怖。我等相率,皆同一心,乃至盡形歸佛法僧,
(มหายักษ์เสนาบดี)ได้กราบทูลสมเด็จพระพุทธองค์พร้อมกันว่า ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า เหล่าข้าพระองค์ทั้งผอง บัดนี้เพราะได้พระพุทธเดชานุภาพปกป้อง ยังให้ได้สดับพระนามแห่งพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต จึงมิต้องหวั่นเกรงอบายภูมิอีกต่อไป ปวงข้าพระองค์ล้วนมีเอกจิตเสมือนกันว่า ตราบนี้ไปจนสิ้นชีพสังขารจักมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้าเป็นที่พึ่ง
誓當荷負一切有情,為作義利,饒益安樂。隨於何等村城圍邑,空閑林中,若有流布此經,或復受持藥師琉璃光如來名號恭敬供養者,我等眷屬衛護是人,皆使解脫一切苦難,諸有願求悉令滿足。或有疾厄求度脫者,亦應讀誦此經,以五色縷,結我名字,得如願已,然後解結」。
ขอประกาศปณิธานว่าจักแบกรับหมู่สัตว์ทั้งปวง จักกระทำคุณธรรมความดีอันเป็นประโยชน์และความผาสุกสวัสดี(แก่หมู่สัตว์ทั้งปวง) หากสถานแห่งใด ในสถานคามนิคม ชนบท ราชธานี ในที่โล่งเปล่าฤๅวนาสนฑ์ หากมีพระธรรมสูตรนี้แผ่ไปถึง มีผู้น้อมรับยึดถือพระนามของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้าและน้อมบูชาด้วยความเคารพแล้วไซร้ ข้าพระองค์พร้อมบริวารจักตามอารักขาผู้นั้น ให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวง ความปรารถนาต่างๆจักบริบูรณ์พร้อม หากผู้มีโรคภัยต้องการให้ช่วยเหลือแล้วไซร้ พึงสังวัธยายพระสูตรนี้ แล้วนำด้ายเบญจรงค์มาผูกเป็นปมอักษรชื่อพวกข้าพระองค์ เมื่อได้สมปณิธานแล้วจึงค่อยคลายปมนั้นออก
爾時、世尊讚諸藥叉大將言:「善哉!善哉!大藥叉將!汝等念報世尊藥師琉璃光如來恩德者,常應如是利益安樂一切有情」。
ครั้งนั้น สมเด็จพระโลกนาถเจ้าได้ตรัสสรรเสริญ มหายักษ์เสนาบดีทั้งหลายว่า สาธุ สาธุ มหายักษ์เสนาบดี เธอทั้งหลายเป็นผู้รู้สำนึกจักตอบแทน พระมหากรุณาธิคุณแห่งพระโลกนาถเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต จึงสมควรยังหิตประโยชน์ สุขศานติแก่หมู่สัตว์ทั้งหลายโดยเนืองนิจเช่นนี้เถิด[9]
[1] แบ่งเป็นช่วงเวลากลางวัน ๓ ช่วงคือ ๑)ยามตะวันขึ้น ๒)ยามเที่ยงวัน ๓)ยามตะวันตกดิน และกลางคืน ๓ ช่วง คือ ๑)ราตรียามแรก(ฟ้ามืด) ๒)ยามเที่ยงคืน ๓)ยามหลังเที่ยงคืน
[2] หมายถึง กลุ่มบุคคลที่อยู่นอกธรรมดีงามของพระศาสนา หรือเรียก “พาหิร หรือ นอกรีต” ซึ่งกระทำสิ่งที่ปราศจากธรรมอันดีงาม มีความหลงผิด จึงเรียก “มิจฉา” และชักนำให้ผู้อื่นหลงผิดตามไปด้วย จึงเรียกว่า “มาร”
[3] มิจฉาศรัทธา คือ การเชื่อถือในสิ่งผิด ที่ไม่เป็นประโยชน์มีแต่โทษสถานเดียวไม่เป็นเหตุปัจจัยสู่การพ้นทุกข์ วิปลาสทิฐิ คือ ความเห็นที่ผลิกผัน เห็นผิดเป็นชอบ เห็นชอบเป็นผิด เช่นการลุ่มหลงงมงาย การทำร้ายสัตว์อื่น(บาป) เพื่อตนเองได้รับพร(บุญ) เช่นการฆ่าสัตว์เพื่อบูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษ เป็นต้น
[4] คือ น้ำ
[5] ในข้อนี้มีความหมาย ๒ นัยยะ คือ ๑)ผู้ที่ต้องมรณะด้วยการถูกผู้อื่นกระทำ และ ๒)ผู้ที่ปลุกภูติผีเป็นผู้มรณะเสียเอง
[6] กรรมอันร้ายแรงที่สุดของพระพุทธศาสนา ๕ อย่างคือ ๑)ปิตุฆาต ฆ่าพ่อ ๒)มาตุฆาต ฆ่าแม่ ๓)อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔)สังฆเภท ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๕)โลหิตุปบาท การทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิตขึ้นไป และยังมีกรรมอีก ๕ ประการที่ร้ายแรงเทียบเท่าอนันตริยกรรม คือ ๑)ประทุษร้ายหญิงที่เป็นพระอรหันต์ ๒)ฆ่าพระโพธิสัตว์ที่ดำรงอยู่ในนิตยภูมิ(คือผู้ไม่เสื่อมถอยจากพระโพธิญาณ) ๓)ฆ่าพระเสขะบุคคล(พระอริยะบุคคลอื่นๆ ที่ยังไม่บรรลุอรหันตผล) ๔)ลักของสงฆ์ ๕)ทำลายพระสถูป
[7] มหายักษ์ ๑๒ ตนนี้ มีคือนักษัตรทั้ง ๑๒ ของมนุษย์โดยมีนัยยะว่า สรรพสัตว์ทั้งปวงล้วนถูกมหายักษ์ทั้ง ๑๒ นี้ หรือคือวัฏฏสงสารที่วนเวียนอยู่ไม่จบสิ้น ประดุจนักษัตรจักราศี ที่กลืนกินอายุขัยให้น้อยลงอยู่ตลอดเวลา หากได้พ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงแล้ว จึงจักพ้นจากการกลืนกินของพญายักษ์เหล่านี้ รูปเคารพของมหายานจะสร้างเป็นรูปพญายักษ์ดุดัน บนศีรษะหรือเท้าจะมีรูปสัตว์ประจำนักษัตรทั้ง ๑๒ ไว้ตนละชนิดเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ทราบ บางแห่งจะสร้างเป็นร่างมนุษย์ ๑๒ คนแต่มีศีรษะเป็นนักษัตรทั้ง ๑๒ แตกต่างกันไป
[8] มหายักษ์เสนาบดีทั้ง ๑๒ มียักษบริวารตนละ ๗,๐๐๐ นั้นหมายถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้าที่คอยช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ ประการ(ธรรมขันธ์) เพราะเมื่อนำ ๑๒ คูณ ๗,๐๐๐ จะได้ ๘๗,๐๐๐ พอดี
[9] มีนัยยะคือ ถ้าผู้ใดปฏิบัติบูชาพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ก็จักรอดพ้นภยันตรายจากดวงชะตาและจักรราศี เพราะพญายักษ์ให้การปกป้องคุ้มครอง ดังนั้นชาวพุทธมหายาน จึงนิยมภาวนาพระนามและธารณีของพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ในพิธีสืบอายุและงานมงคลต่างๆ
爾時、阿難白佛言:「世尊!當何名此法門?我等云何奉持?」佛告阿難:此法門名說藥師琉璃光如來本願功德;亦名說十二神將饒益有情結願神咒;亦名拔除一切業障;應如是持」!
เมื่อนั้น พระอานนท์ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า ข้าแต่พระโลกนาถเจ้า อันพระธรรมกถานี้จักมีนามว่ากระไร หมู่ข้าพระองค์จักยึดถือเช่นไร พระพุทธเจ้าข้า
มีพระพุทธดำรัสว่า ธรรมกถานี้มีนามว่า ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร[๑] แลอีกนามคือ ทวาทศมหายักษสัตตวารถกริยาปณิธานศักดามนตร์[๒] แลอีกนามคือ ปหารสรววิปากกรรมสมุทเฉท[๓]พึงยึดถือเช่นนี้
時薄伽梵,說是語已,諸菩薩摩訶薩,及大聲聞,國王、大臣、婆羅門、居士、天龍、藥叉、健達縛、阿素洛、揭路荼、緊捺洛、莫呼洛伽、人、非人等一切大眾,聞佛所說,皆大歡喜,信受奉行。
ก็โดยอภิสมัยครั้งนั้น เมื่อสมเด็จพระภควันต์ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลง บรรดาพระโพธิสัตว์ผู้เป็นมหาสัตว์ และมหาสาวก ราชาธิราช มหาอำมาตย์ พราหมณ์ บัณฑิต เทพ นาค ยักษ์ คนธรรพ์ อสุร ครุฑ กินนร มโหราค มนุษย์และอมนุษย์ทุกหมู่เหล่า ที่ได้สดับยลยินพระพุทโธวาทนี้ ล้วนพากันบังเกิดมหาโสมนัสร่าเริงยินดี แล้วมีศรัทธาน้อมรับใส่เกล้ากระหม่อมเพื่อปฏิบัติสืบไป...
[๑] คือ พระสูตรที่ว่าด้วยกุศลแห่งมูลปณิธานของพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตเจ้า
[๒] คือ การกล่าวถึงธารณีมนตร์ของมหายักษ์เสนาบดีทั้ง ๑๒ ตนที่ร่วมมีปณิธานจักยังประโยชน์แก่สรรพชีวิต
[๓] คือ การถอดถอนทำลายซึ่งวิบากกรรมทั้งปวง(ชื่อพระสูตรทั้ง ๓ นี้ได้แปลตามอักษรจีน
จบ
พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร
(คัดจาก http://www.mahaparamita.com/)
ชมรมบารมีเมตตาธรรม ที่ 03:49
‹
›
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ
จัดทำโดย.. กลุ่มชมรมบารมีเมตตาธรรม
รูปภาพของฉัน
ชมรมบารมีเมตตาธรรม
ชมรมบารมีเมตตาธรรม จ.ชลบุรี ก่อตั้งขึ้นโดยคณะสาธุชนที่มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคทรัพย์ เพื่อช่วยเหลือผู้พิการ ผู้ยากไร้ และเผยแผ่พุทธธรรมคำสอน เพื่อบำเพ็ญโพธิสัตวจริยา ตามปณิธานของพระไภษัชยคุรุสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน
ขับเคลื่อนโดย Blogger.
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563
วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563
โปรไฟรนักเรียนบล็อคดอท.คอม
โปรไฟรนักเรียบล้อกดิท.คอม
โปรไฟโพสจัง.คอม
หาแฟน
นักเรียนวิกิฮาว
ลงประกาศขายสินค้า
วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ทางไปนรก8ขุม
ตายแล้วไปไหนรายละเอียดของมหานรกแต่ละขุมมหานรกขุมที่ 1 ชื่อ สัญชีวมหานรกมหานรกที่ไม่มีวันตายแม้ขาดใจตายก็ต้องฟื้นชีพมารับกรรมต่อสัญชีวมหานรก หมายถึง มหานรกที่ไม่มีวันตาย นรกขุมนี้ เป็นนรกขุมแรกที่อยู่ใต้เขาตรีกูฏ มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดามหานรกทั้งหมด สัตว์นรกในขุมนี้แม้ถูกลงโทษจนตายจะฟื้นมีชีวิตรับโทษใหม่อีกเป็นอยู่ดังนี้โดยตลอด ผู้ลงโทษคือนายนิรยบาลมีมือถืออาวุธมีแสง ไล่ฆ่าฟันสัตว์นรกทั้งหลายให้ตาย ตายแล้วก็กลับเป็นขึ้นใหม่ดังนี้ (สัญชีวะ แปลว่า ชีวิตที่เป็นขึ้นมาใหม่) ผู้ที่จะต้องไปเกิดเป็นสัว์นรกขุมที่หนึ่งนี้ ส่วนใหญ่ ได้แก่ พวกที่ชอบทำกรรมปาณาติบาตเป็นส่วนมาก เช่น ชอบบี้มดตบยุงเป็นประจำ หรือฆ่ามนุษย์ด้วยกัน รวมทั้งฆ่าตัวตายด้วยเป็นส่วนมาก ผู้ที่เมื่อครั้งเกิดเป็นมนุษย์มีอำนาจมาก ใช้อำนาจนั้นเบียดเบียนบุคคลที่ต่ำกว่าตนโดยไม่เป็นธรรม หรือพวกมหาโจรที่ปล้นทำลายบ้านเมือง ตลอดถึงฆ่าคนเอาทรัพย์สัตว์นรกถูกนายนิรยบาลลงโทษตามกรรมชั่วที่ตนเคยทำไว้ชีวิตในสัญชีวมหานรก นรกขุมนี้เป็นนรกที่เมื่อใครตกลงไปแล้ว จะได้รับทุกข์ทรมานอย่างสาหัส เช่น ถูกนายนิรยบาลจับมัดแล้วบังคับให้นอนลงเหนือแผ่นเหล็กแดงที่ร้อนด้วยไฟนรก ถูกฟันด้วยดาบนรกอันคมกล้าจนร่างกายขาดเป็นท่อนๆ ถูกถาก ถูกเฉือนเนื้อจนหมดร่างกาย เหลือแต่เพียงโครงกระดูก เมื่อสิ้นใจตายจะมี ลมกรรม พัดมาต้องกายให้กลับฟื้นขึ้นมาอีก แล้วก็รับทุกข์ทรมานจากนายนิรยบาลเหมือนเช่นเดิม โดยมีอายุขัยของสัญชีวมหานรกเท่ากับ 500 ปีนรก 1 วันในมหานรกขุมนี้ เมื่อเทียบกับเวลาในมนุษยโลกแล้ว เท่ากับ 9 ล้านปีของมนุษยโลก ถ้า 500 ปีนรก ก็เท่ากับ 1,620,000 ล้านปีในเมืองมนุษย์
มหานรกขุมที่ 2 กาฬสุตตมหานรกสัตว์นรกที่เกิดในมหานรกขุมที่ 2 นี่มาจากพวกผิดศีลข้อที่ 2กาฬสุตตมหานรก หมายถึง มหานรกด้ายดำ นรกขุมนี้ เป็นนรกขุมที่ 2 อยู่ถัดลงมาจากขุมสัญชีวมหานรก มีขนาดใหญ่กว่าสัญชีวมหานรก สัตว์นรกในขุมนี้จะถูกตีหรือขึงด้วยเส้นเชือกสีดำ (เหมือนที่ช่างไม้ใช้เชือกชุบสีดำตีลงเป็นแนวในเนื้อไม้ เพื่อสะดวกในการเลื่อยหรือไส) นายนิรยบาลจะใช้เครื่องมือที่มีคมถากหรือตัดสัตว์นรกตามแนวเส้นสีดำที่ตีไว้ เครื่องประหารต่างๆ เหล่านั้นมีขวาน จอบ มีด เลื่อย เป็นต้น (กาฬะ แปลว่า ดำ สุตตะแปลว่า เชือก) สัตว์นรกที่เกิดอยู่ในมหานรกขุมที่สองนี้มาจากพวกที่ชอบ ลักขโมย ลักทรัพย์ ฉ้อโกงเป็นส่วนมาก ชีวิตในกาฬสุตตมหานรก สัตว์ในกาฬสุตตมหานรกนี้ จะถูกนายนิรยบาลจับมัดให้นอนเหนือแผ่นเหล็กแดงที่ร้อนแรงด้วยไฟนรก แล้วเอาด้ายดำซึ่งทำด้วยเหล็กนรกใหญ่โตเท่าลำตาล มาตีบนร่างของสัตว์นรกซึ่งเป็นร่างกายที่ใหญ่โตมาก จนทำให้เป็นรอยเส้น แล้วก็ทำการเลื่อย ด้วยเลื่อยนรกอันลุกแดงด้วยแสงไฟ ค่อยๆ เลื่อยไปจนกายขาดเป็นท่อนๆ สัตว์นรกก็ดิ้นรนกระวนกระวาย บางทีถึงกับทะลึ่งลุกดิ้นพลาดๆ นายนิรยบาลก็บังคับจับมัดให้แน่นเข้าไปอีก แล้วเลื่อยตัดร่างกายของสัตว์นรกเหล่านั้นต่อไป จนกว่าจะถึงอายุขัยตายไปจากนรกขุมนี้ โดยมีอายุขัยของกาฬสุตตมหานรกเท่ากับ 1,000 ปีนรก วันหนึ่งคืนหนึ่งในมหานรกขุมนี้ เมื่อเทียบกับเวลาในมนุษยโลกแล้ว เท่ากับ 36 ล้านปีของมนุษยโลก ถ้า 1,000 ปีนรก ก็เท่ากับ 12,960,000 ล้านปีในเมืองมนุษย์
มหานรกขุมที่ 3 สังฆาฏมหานรก
สัตว์นรกต้องไปมหานรกขุมที่ 3 จากกรรมที่ผิดศีลข้อที่ 3สังฆาฏมหานรก หมายถึง มหานรกที่ถูกภูเขาเหล็กบดขยี้ร่างกาย นรกขุมนี้ เป็นนรกขุมที่ 3 อยู่ถัดลงมาจากกาฬสุตตมหานรก มีขนาดใหญ่กว่ากาฬสุตตมหานรก มีภูเขาเหล็กสูงใหญ่ ลุกโพลงด้วยไฟ กลิ้งบดทับเหล่าสัตว์นรกให้จมลงไปในแผ่นดินเหล็ก มีประมาณแค่สะเอว แหลกจน เป็นจุณเป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบประพฤติผิดในกามเป็นส่วนมากชีวิตในสังฆาฏมหานรก สัตว์ในสังฆาฏมหานรกนี้มีร่างกายพิกลพิการต่างๆ และมีรูปร่างแปลก พิลึก เช่น บางตนมีหัวเป็นควาย มีตัวเป็นคน บางตัวมีหัวเป็นคน มีตัวเป็นควาย บางตัวมีหัวเป็นหมา หมู เป็ด ไก่ แต่มีตัวเป็นคน มีความวิปริตแห่งกายพิกลสุดที่จะพรรณนาให้ถูกต้องหมดสิ้นได้นายนิรยบาลลงทัณฑ์สัตว์นรกในมหานรกขุมที่ 3นายนิรยบาลในมือถือศัสตราวุธเที่ยวเดินไป ร้องคำรามว่า กูจะฆ่ามึง กูจะฆ่ามึง กูจะฆ่ามึง สัตว์นรกได้ยินเสียงนั้นต่างก็วิ่งหนีอย่างไม่คิดชีวิต แต่ด้วยอำนาจกรรมบันดาลทำให้เกิดกองไฟกองใหญ่ขวางหน้าสัตว์นรกนั้นไว้ พอจะหันหลังวิ่งหนีกองไฟนั้น หันหลังกลับมาก็เจอไฟอีกกองหนึ่ง ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็มีกองไฟปรากฏเกิดขึ้น เผาสัตว์นรกเหล่านั้นให้ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส ไฟนรกนี้ร้อนแรงกว่าไฟในโลกมนุษย์มากมายนัก แม้จะถูกไฟเผาไหม้แล้วสัตว์นรกนั้นก็ไม่ได้ตายง่ายๆ ในไม่ช้าจะมีภูเขาเหล็กนรก 2 ลูก กลิ้งมาบีบขยี้ร่างกายของสัตว์นรกนั้นให้แหลกลาญ เปรียบเหมือนหีบอ้อยที่บดอ้อยให้แหลกละเอียดฉะนั้น โดยมีอายุขัยของสังฆาฏมหานรกเท่ากับ 2,000 ปีนรก วันหนึ่งคืนหนึ่งในมหานรกขุมนี้ เมื่อเทียบกับเวลาในมนุษยโลกแล้ว เท่ากับ 144 ล้านปีของมนุษยโลก ถ้า 2,000 ปีนรก ก็เท่ากับ 103,680,000 ล้านปีในเมืองมนุษย์
มหานรกขุมที่ 4 โรรุวมหานรก
มหานรกขุม 4 เต็มไปด้วยเสียงร้องครวญครางของสัตว์นรกที่กระทำผิดศีลข้อ 4โรรุวมหานรก หมายถึง มหานรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องระงมครวญครางอย่างน่าเวทนา นรกขุมนี้ เป็นนรกขุมที่ 4 อยู่ถัดลงมาจากสังฆาฏมหานรก มีขนาดใหญ่กว่าสังฆาฏมหานรก ชีวิตในโรรุวมหานรก สัตว์นรกขุมนี้ต้องรับทุกขเวทนาในดอกบัวเหล็ก โดยวิธีที่แปลกประหลาด คือ ต้องนอนคว่ำหน้าอยู่กลางดอกบัวเหล็กอันโตใหญ่ ศีรษะมิดเข้าไปในดอกบัวแค่คาง ปลายเท้าจมมิดเข้าไปในดอกบัวเหล็กแค่ข้อเท้า มือทั้งสองข้าง ก็กางจมมิดเข้าไปในดอกบัวเหล็กแค่ข้อมือ นอนคว่ำหน้าอยู่ด้วยอาการพิลึกพิกลเช่นนั้น เปลวไฟก็ปรากฏขึ้น เผาไหม้ดอกบัวเหล็กพร้อมกับสัตว์นรกเหล่านั้น เปลวไฟแลบเข้าหูซ้ายออกหูขวา แลบเข้าหูขวาออกหูซ้าย เข้าปาก ตา จมูก สัตว์นรกได้แต่ร้องครวญครางเสียงสนั่นหวั่นไหวอื้ออึง จะตายก็ไม่ตาย มีกายลำบากอย่างแสนสาหัส ต้องทนทุกขเวทนาอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะถึงอายุขัยตายไปจากนรกขุมนี้ เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบ พูดโกหก พูดคำหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ มีวจีกรรมชั่วหยาบเป็นส่วนมาก โดยมีอายุขัยของโรรุวมหานรกเท่ากับ 4,000 ปีนรก วันหนึ่งคืนหนึ่งในมหานรกขุมนี้ เมื่อเทียบกับเวลาในมนุษยโลกแล้ว เท่ากับ 576 ล้านปีของมนุษยโลก ถ้า 4,000 ปีนรก ก็เท่ากับ 829,440,000 ล้านปีในเมืองมนุษย์
มหานรกขุมที่ 5 มหาโรรุวมหานรก
มหานรกขุมที่ 5 เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบดื่มสุรา เสพยาเสพติดมหาโรรุวมหานรก หมายถึง มหานรกที่เต็มไปด้วยเสียงร้องระงมครวญครางมากมาย นรกขุมนี้ เป็นนรกขุมที่ 5 อยู่ถัดลงมาจากโรรุวมหานรก มีขนาดใหญ่กว่าโรรุวมหานรก สัตว์นรกในมหานรกขุมนี้ร้องดังกว่าในขุมโรรุวะ เพราะถูกเปลวไฟร้อนแรงไหม้อยู่มิใช่ควันเผาไหม้อยู่ตลอด ชีวิตในมหาโรรุวมหานรก สัตว์ทั้งหลายที่ต้องตกไปอยู่ในนรกขุมนี้ ต้องเข้าไปยืนอยู่ในดอกบัวเหล็กนรกซึ่งมีกลีบคมเป็นกรด มิหนำซ้ำยังร้อนแรงแดงฉานไปด้วยไฟนรก ซึ่งลุกโพลงอยู่ในดอกบัวเป็นเนืองนิตย์ เผาไหม้สัตว์นรกซึ่งอยู่ในดอกบัวนั้น ตั้งแต่ศีรษะจรดพื้นเท้า เปลวไฟแลบเข้าทวารทั้ง 9 เผาไหม้ทั้งข้างในข้างนอก นรกขุมนี้จึงมีชื่ออีกอย่างว่า "ชาลโรรุวมหานรก"สัตว์นรกถูกลงทัณฑ์ทรมานจะตายก็ไม่ตายทรมานจริงๆนรกที่เต็มไปด้วยเสียงครวญคราง เพราะเปลวไฟ จะตายก็ไม่ตาย ถูกไฟไหม้ขนาดนี้ยังไม่พอ ยังถูกนายนิรยบาลถือกระบองเหล็กอันมีไฟลุกโชน ตีกระหน่ำลงบนศีรษะซ้ำเข้าไปอีกจนแตกยับ ถึงขนาดนี้แล้วก็ยังไม่ตาย ด้วยอำนาจของกรรมทำให้มีชีวิตได้รับทุกข์ต่อไป จนกว่าจะหมดอายุขัยไปจากนรกขุมนี้ เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบ ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือเสพสิ่งมึนเมา ยาเสพติดเป็นส่วนมาก โดยมีอายุขัยของมหาโรรุวมหานรกเท่ากับ 8,000 ปีนรก วันหนึ่งคืนหนึ่งในมหานรกขุมนี้ เมื่อเทียบกับเวลาในมนุษยโลกแล้ว เท่ากับ 2,304 ล้านปีของมนุษยโลก ถ้า 8,000 ปีนรก ก็เท่ากับ 6,635,520,000 ล้านปีในเมืองมนุษย์
มหานรกขุมที่ 6 ตาปนมหานรกมหานรกขุมที่ 6 เป็นสถานที่ของพวกที่ชอบเล่นการพนันตาปนมหานรก หมายถึง มหานรกที่ทำสัตว์ให้เร่าร้อน นรกขุมนี้ เป็นนรกขุมที่ 6 อยู่ถัดลงมาจากมหาโรรุวมหานรก มีขนาดใหญ่กว่ามหาโรรุวมหานรก ชีวิตในตาปนมหานรก สัตว์ทั้งหลายที่ตกไปอยู่ในนรกขุมนี้ จะถูกนายนิรยบาลไล่ให้ขึ้นไปบนปลายหลาวเหล็กซึ่งโตเท่าลำตาล และแดงฉานด้วยเปลวไฟ เสียบสัตว์นรกบนปลายหลาวนั้น ไฟไหม้สัตว์นรกนั้นเป็นนิจนิรันดร์ เนื้อหนังของสัตว์นรกนั้นก็สุกพองไปด้วยอำนาจไฟนรก พอสุกแล้วจะมีสุนัขนรกรูปร่าง แปลกประหลาดมีขนาดตัวเท่าช้าง ร้องเสียงดังกึกก้องด้วยความหิวกระหาย วิ่งเข้ามาหาสัตว์นรกนั้น กระชากลากสัตว์นรกออกมาจากเหล็กหลาว เคี้ยวกินจนเหลือแต่กระดูก แล้วต้องกลับไปมีชีวิตใหม่ เป็นอย่างนี้จนกว่าจะหมดอายุขัยของตาปนมหานรกมหานรกขุมที่ 6 มีไว้รองรับพวกที่ชอบเล่นหวย เล่นไพ่ เล่นการพนันต่างๆเป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบ เล่นการพนัน หรือเกี่ยวกับการพนันเป็นส่วนมาก โดยมีอายุขัยของตาปนมหานรกเท่ากับ 16,000 ปีนรก วันหนึ่งคืนหนึ่งในมหานรกขุมนี้ เมื่อเทียบกับเวลาในมนุษยโลกแล้วเท่ากับ 9,216 ล้านปีของมนุษยโลก ถ้า 16,000 ปีนรก ก็เท่ากับ 53,084,160,000 ล้านปีในเมืองมนุษย์
มหานรกขุมที่ 7 มหาตาปนมหานรก
มหาตาปนมหานรก หมายถึง มหานรกที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อนอย่างมากมาย นรกขุมนี้ เป็นนรกขุมที่ 7 อยู่ถัดลงมาจากตาปนมหานรก มีขนาดใหญ่กว่าตาปนมหานรก ชีวิตในมหาตาปนมหานรก สัตว์นรกขุมนี้ อยู่ที่ลึกและกว้าง มีกำแพงเหล็กลุกเป็นไฟล้อมรอบ ภายในกำแพงกว้างขวางใหญ่โต มีภูเขาเหล็กลุกเป็นไฟตั้งอยู่เป็นลูกๆ ตามพื้นข้างๆ ภูเขานั้นมีขวากเหล็ก แหลมคม ปักเรียงรายอยู่เหนือพื้นเหล็กแดงซึ่งร้อนแรงด้วยไฟมากมาย นายนิรยบาลทั้งหลายต่างถืออาวุธ หอก ดาบ แหลน หลาว ลุกแดงด้วยแสงไฟไล่ทิ่มแทงสัตว์นรก บังคับให้ขึ้นไปบนภูเขาไฟอันแดงฉานมหานรกขุมที่ 7 นี้ สำหรับพวกที่ชอบเที่ยวกลางคืนเข้าผับเข้าบาร์มัวเมาในอบายมุขพอนายนิรยบาลไล่ทิ่มแทงทุบตี สัตว์นรกพากันตกใจ วิ่งหนีขึ้นไปบนยอดเขานรก และแล้วในไม่ช้าก็มีลมกรด อันร้อนแรง พัดมาด้วยกำลังแห่งลมนรก ให้สัตว์นรกพลัดตกมาจากยอดเขา ตกลงมาถูกลวดหนาม ซึ่งมีอยู่ในเบื้องล่าง เสียบร่างกายทะลุเลือดแดงฉาน บางตนตกลงมาถูกบดขยี้กายข้างซ้ายทะลุข้างขวา เป็นอย่างนี้ตลอดจนหมดเวลาของอายุในนรกขุมนี้ มหานรกขุมนี้เป็นสถานที่สำหรับพวกที่ชอบ เที่ยวกลางคืน มัวเมาในอบายมุข เป็นนักเลงอบายมุขเป็นส่วนมาก โดยมีอายุขัยของมหาตาปนมหานรก มีอายุประมาณครึ่งอันตรกัป
มหานรกขุมที่ 8 อเวจีมหานรก
อเวจีมหานรก หมายถึง มหานรกที่ปราศจากคลื่น คือ ความเบาบางแห่งความทุกข์ ระหว่างแห่งเปลวไฟและความทุกข์ไม่มีว่างเว้นเลย เป็นมหานรกขุมสุดท้าย ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีโทษแห่งการกระทำหนักที่สุด และมีอายุขัยนานที่สุดชีวิตในอเวจีมหานรก สัตว์นรกในขุมนี้จะได้รับความทุกข์แสนสาหัส เป็นนรกที่ขุมใหญ่ที่สุด ราวกับเมืองใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยกำแพงเหล็กอันรุ่งโรจน์ ภายในมีเปลวไฟร้อนระอุไหม้สัตว์นรกอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางคืนกลางวันไม่มีว่างเว้น สัตว์ที่ต้องไปอุบัติในอเวจีมหานรกนี้มีมากกว่าขุมอื่นๆ แออัดยัดเยียดเบียดเบียนกันอยู่ ทั้งการเสวยทุกข์โทษในมหานรกขุมนี้ก็แตกต่างกันไปหลายอิริยาบถ หลายท่าหลายทาง เช่น ถ้าเคยยืนทำบาปอกุศลกรรมไว้ ก็ต้องมาทนทุกข์อยู่ในอิริยาบถยืน เคยเดินทำบาปไว้ ก็ต้องเดินทนทุกข์อยู่ เคยนั่งเคยนอนทำบาปไว้ ก็ต้องมานั่งมานอนเสวยทุกข์อยู่ในอเวจีมหานรกนี้อเวจีมหานรกหรือนรกขุม 8 เป็นที่สำหรับพวกที่ฆ่าพ่อฆ่าแม่ทำสงฆ์ให้แตกกันเป็นสถานที่สำหรับพวกที่ทำอนันตริยกรรม เช่น ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกกัน หรือทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต (ถึงแม้จะทำเพียงครั้งเดียว ไม่ว่าด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม ก็ถือเป็นกรรมที่หนักมาก ต้องตกอเวจีมหานรก ได้รับโทษทัณฑ์ทรมานที่แสนสาหัส มีอายุยาวนานกว่านรกขุมอื่นๆ )โดยมีอายุขัยของสัตว์นรกขุมนี้มีประมาณ 1 อันตรกัปในตอนต่อไปจะนำเสนอในเรื่องของนรกขุมบริวารหรืออุสสทนรก[[videodmc==9564]]บทความที่เกี่ยวข้องกับตายแล้วไปไหน
บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/ตายแล้วไปไหน/มหานรกทั้ง8ขุม-รายละเอียดมหานรกแต่ละขุม.html
เมื่อ 13 สิงหาคม 2563 20:02
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2563 http://www.dmc.tv
วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563
อานิสงฆการสวดมนต์์
วัดกลางคลองข่อย
อยากให้อ่าน
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพหล่อรูปเหมือน
สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต)พรหมฺรํสี
เพิ่อประดิษฐาน ณ.ใต้ต้นโพธิ์
วัดกลาง ต.คลองข่อย อ.โพธาราม
ราชบุรี 70120
วันเสาร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๑
เวลา ๑๔.๓๐ น.
สนใจร่วมบุญติดต่อ
พระวุฒิชัย กิตฺติชโย 083-059-9480
หรือ
บัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย สาขา โพธาราม
708 -
อานิสงส์การสวดมนต์ข้ามปีเพื่อทรงจำและสืบต่อคำสั่งสอน ของพระพุทธองค์โดยตรง โดยพระสงฆ์สาวกสมัยพุทธกาลได้นำพระสูตรต่างๆ มาสวดสาธยายในรูปแบบการบริกรรมภาวนา ให้เกิดเป็นสมาธิ จึงเรียกว่า พระพุทธมนต์ การเจริญพระพุทธมนต์มีจุดกำเนิดมาจาก การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์
เมื่อบริกรรมภาวนาพระพุทธพจน์จนจิตเป็นสมาธิ ย่อมเกิดพลานุภาพในด้านต่างๆ เช่น ทำให้เกิดสิ่งที่ดีงามขึ้นในชีวิต จิตใจไม่ดีก็จะดี ชีวิตไม่ดีก็จะดี สุขภาพไม่ไก้ก็จะดี หน้าที่การงานไม่ดีก็จะดี ครอบครัวไม่ดีก็จะดี ในขณะเดียวกันก็ต้านทานสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากชีวิต ต่อมาจึงมีผู้นิยมนำพระพุทธพจน์มาใช้เป็นพระพุทธมนต์เพื่อต้านทานสิ่งไม่ดีทั้งหลาย พระพุทธมนต์จึงถูกเรียกว่า “พระปริตร” แปลว่า เครื่องต้านทาน ป้องกัน รักษา ต่อมาภายหลัง พระพุทธมนต์ที่มีอานุภาพในการต้านทาน คุ้มครอง ป้องกัน รักษา จึงถูกเรียกว่า พระปริตร ตามไปด้วย
การศึกษาเล่าเรียนพระพุทธพจน์ในครั้งพุทธกาลนั้น ใช้วิธีเรียนแบบบอกปากต่อปาก แล้วท่องจำสวดสาธยายต่อๆ กันมาเรียกว่า มุขปาฐะ วิธีเล่าเรียนพระพุทธพจน์ที่เรียกว่ามุขปาฐะนี้ พระสาวกใช้มาตั้งแต่สมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ โดยพระสงฆ์ในสมัยนั้นแบ่งหน้าที่กันท่องเป็นหมู่คณะตามความถนัด เช่น
๏ พระอุบาลีเถระทำหน้าที่ทรงจำพระวินัย ภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระวินัยก็เรียนพระวินัยจากพระอุบาลีเถระ
๏ พระอานนท์เถระทรงจำพระสูตร ภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระสูตรก็เรียนพระสูตรต่อจากพระอานนท์เถระ
๏ พระสารีบุตรเถระทรง จำพระอภิธรรม ภิกษุผู้สนใจเกี่ยวกับพระอภิธรรมก็เรียนพระอภิธรรมต่อจากพระสารีบุตรเถระ แล้วก็ร่วมกันสวด สาธยายเป็นหมู่คณะๆ ตามโอกาส แม้ที่พักอาศัยก็จะอยู่รวมกันเป็นคณะ เพื่อสะดวกต่อการร่วมกันสวดสาธยายพระพุทธพจน์ที่ตนถนัด
การสืบต่อพระพุทธพจน์ด้วยวิธีท่องจำยังปรากฏว่า ครั้งหนึ่ง พระเถระรูปหนึ่งชื่อว่าโสณกุฏิกัณณะเดินทางจากชนบทห่างไกลมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงรับสั่งให้พระเถระพักอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกับพระองค์ พอตกดึก จึงให้ท่านสวดพระสูตรให้สดับ พระเถระสวดพระสูตรให้พระพุทธองค์ สดับถึง ๑๖ สูตรก็พอดีสว่าง และเมื่อพระพุทธองค์ประชวรก็ได้ให้ พระ มหาจุนทะสวดโพชฌงคสูตรให้สดับ จนหายจากอาการประชวร
นอกจากนั้น ในพระวินัยปิฎกยังระบุว่า ในอาวาสที่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่มากรูป จะต้องให้มีพระภิกษุสวดปาติโมกข์ คือ การสวดทบทวนศีล ๒๒๗ ข้อของพระสงฆ์ได้หนึ่งรูปเป็นอย่างน้อย หากไม่มีจะต้องขวนขวายส่งไปเรียนยังสำนักที่มีผู้สวดได้ หาก ไม่ทำเช่นนั้นก็จะปรับอาบัติแก่เจ้าอาวาสเพราะโทษที่ไม่ใส่ใจจะให้มี ผู้ทรงจำพระปาติโมกข์ แสดงให้เห็นว่าสมัยพุทธกาลนั้นได้มีการนำ พระพุทธพจน์มาท่องบ่นสาธยายกันอย่างกว้างขวางอยู่แล้ว ลำดับพระเถระที่สืบต่อพระพุทธพจน์ ในสมันตปาสาทิกา คัมภีร์อรรถกถาอธิบายพระวินัยปิฎกได้ แสดงลำดับพระเถระที่สืบต่อพระวินัยตั้งแต่พระอุบาลีเถระจนถึง สังคายนาครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช มีลำดับพระเถระ ๕ ท่าน ดังนี้
๏ พระอุบาลีเถระ ทรงจำไว้เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้า
๏ พระทาสกะ ทรงจำต่อจากพระอุบาลีเถระ
๏ พระโสณกะ ทรงจำต่อจากพระทาสกะ
๏ พระสิคควะ ทรงจำต่อจากพระโสณกะ
๏ พระโมคคัลลีบุตรติสสะ ทรงจำต่อจากพระสิคควะ
นอกจากนั้น เมื่อพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ พระสารีบุตร เถระได้มีการริเริ่มจัดหมวดหมู่พระพุทธพจน์ไว้เป็นแบบอย่างแล้ว เพื่อสะดวกแก่การทรงจำ จนเกิดพระสูตรๆ หนึ่งชื่อสังคีติสูตร แปลว่า พระสูตรว่าด้วยการสังคายนา หรือพระสูตรว่าด้วยการจัดระเบียบ คำสอนนั่นเอง ภายหลังพระพุทธองค์ปรินิพพานได้ ๓ เดือน ได้มีการจัดระเบียบแบบแผนการทรงจำคำสอนใหม่อย่างเป็นระบบ เรียกว่า การสังคายนา โดยพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป มีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน และได้มีมติจะรักษาพระพุทธพจน์ที่จัดระเบียบไว้แล้วด้วยวิธีมุขปาฐะ หรือวิธีท่องจำ ภายหลังพระพุทธองค์ปรินิพพานประมาณ ๔๕๐ ปี จึงได้มีการบันทึกพระพุทธพจน์เป็นตัวหนังสือที่ลังกาทวีป สาเหตุมาจากบ้านเมืองมีความผันผวนอันเกิดจากภาวะสงครามจึงยากแก่การทรงจำพระพุทธพจน์ การสวดมนต์และอานุภาพแห่งการสวดมนต์พระพุทธพจน์นั้น ดำรงอยู่ในรูปคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ที่พระสงฆ์สาวกทรงจำไว้และสืบต่อมาเพื่อนำผู้ปฏิบัติออกจากทุกข์ แต่หากพระพุทธพจน์ถูกนำมาใช้สำหรับเป็นบทบริกรรมภาวนาหรือสวด สาธยายตามความเหมาะสมแก่โอกาส พระพุทธพจน์จึงถูกเรียกว่า พระพุทธมนต์ เมื่อพระพุทธมนต์อาศัยจิตที่เป็นสมาธิเกิดอานุภาพในการต้านทาน คุ้มครอง ป้องกัน รักษา พระพุทธมนต์ก็ถูกเรียกว่า พระปริตรตามอานุภาพแห่งการต้านทานไปด้วย ปัจจุบันจึงมีผู้นิยมเรียก พระปริตรแทนพระพุทธมนต์กันอย่างกว้างขวาง การนำพระพุทธพจน์มาเจริญภาวนา ในรูปแบบการเจริญพระ พุทธมนต์ จนเกิดอานุภาพในการต้านทานนั้น มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เช่น พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุสวดขันธปริตรเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้าย และทรงห้ามเรียนเดรัจฉานวิชา ซึ่งเป็นวิชาที่ขวางการบรรลุธรรม แต่เรียนพระพุทธมนต์เพื่อ คุ้มครองป้องกันตนได้
บทสวดมนต์ที่มีพลานุภาพ
ในการคุ้มครอง ป้องกัน รักษา
พระพุทธมนต์จะทรงพลานุภาพในการต้านทาน คุ้มครอง ป้องกัน รักษาได้ ต้องอาศัยจิตที่อ่อนโยนมีเมตตา เป็นสมาธิมั่นคง แน่วแน่เป็นหลักการที่สำคัญ พระพุทธพจน์ที่นำมาเป็นพระพุทธมนต์นั้น บางสูตรพระพุทธองค์ทรงใช้สวดเอง บางสูตรทรงแนะนำให้พระสงฆ์สาวกใช้ บางสูตรเทวดาเป็นผู้ นำมาแสดง
โพชฌงคสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์สวดให้พระมหากัสสปะ และมหาโมคคัลลานะฟังจนหายจากเป็นไข้ไม่สบายและเมื่อ พระองค์ประชวรก็ได้ให้พระมหาจุนทะสวดโพชฌงคสูตรให้สดับจนหายจากอาการประชวร
กรณียเมตตสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำภิกษุ ให้แผ่เมตตาจิตไปในมวลสรรพสัตว์ ตลอดจนเทพเทวาภูติผีปีศาจทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต ไม่จำกัดว่าสัตว์นั้นหรือเขาผู้นั้นจะเกี่ยวข้อง กับเราหรือไม่ นอกจากเทวดาจะไม่แสดงสิ่งที่น่ากลัวหลอกหลอนแล้ว ยังมีใจอนุเคราะห์ภิกษุโดยไมตรีจิตด้วยความอ่อนโยนมีเมตตา
รัตนสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระอานนท์เถระน้อมระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และ สังฆรัตนะแล้วทำสัจกิริยา คือ การตั้งสัจอธิษฐานตามความเป็นจริง เป็นหลักการที่สำคัญ ของการเจริญพระพุทธมนต์ ที่จะทำให้เกิดอานุภาพ ให้เกิดเป็นอานุภาพขจัด ปัดเป่าภัยพิบัติที่เกิดแก่ชาวเมืองเวสาลี ภายหลังได้กลายเป็นแบบอย่างใน การทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับพระสงฆ์สาวกต่อมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น ยังปรากฏในประวัติพระองคุลิมาลเถระว่า พระพุทธองค์ ทรงแนะนำให้พระองคุลิมาลเถระทำสัตยาธิฐานเพื่อให้ หญิงคนหนึ่งคลอดบุตรง่าย เมื่อพระเถระกล่าวคาถาจบทารกก็คลอด โดยง่าย มีความปลอดภัยทั้งแม่และลูก อานุภาพนั้นได้คุ้มครองไปถึงผู้ที่ ป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ด้วย
สำหรับอาฏานาฎิยสูตร เป็นคาถาที่ท้าวจาตุมหาราชผูกขึ้นมา แสดงแก่พระพุทธองค์ เพื่อให้ภิกษุสวดป้องกันเหล่าอมนุษย์บางพวกที่ ไม่หวังดีต่อพระสงฆ์สาวกที่ไปบำเพ็ญเพียรอยู่ตามป่าเขาลำเนาไพร เมื่อ ไม่มีอะไรป้องกัน เหล่าอมนุษย์ที่ไม่เลื่อมใสก็จะรบกวนเบียดเบียนให้ ได้รับความลำบาก ท้าวมหาราชจึงได้แสดงเครื่องป้องกันรักษาชื่อ อาฏานาฏิยรักษ์นี้ไว้ พระพุทธมนต์ตามที่กล่าวมานั้น จะมีอานุภาพต้องอาศัยการสวดอย่างสม่ำเสมอจนจิตแน่วแน่มั่นคงเป็นสมาธิเป็นพื้นฐานที่สำคัญ
การเจริญสมาธิภาวนาไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ย่อมมีพลานุภาพในการต้าน ทานสิ่งไม่ดีทั้งหลาย ในเบื้องต้นสามารถต้านทานกิเลสภายในตัวเองก่อน แล้วขยายอานุภาพออกไปสู่การต้านทานสิ่งไม่เป็นมงคลอันเกิดจากมนุษย์ และอมนุษย์ที่เป็นพาลสันดานหยาบทั้งหลาย ในขณะเดียวกันก็เป็นพลัง แห่งการก่อเกิดสิ่งดีงาม คือ ความอ่อนโยนมีเมตตาเอื้ออาทรภายในตน เองก่อน แล้วขยายอานุภาพกว้างออกไปสู่การก่อเกิดสิ่งอันเป็นมงคลภายนอกทั้งหลาย ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ประสบผลสำเร็จในสิ่งปรารถนาทุกประการ ใ
ในอรรถกถาคัมภีร์อธิบายพระไตรปิฎก ได้แสดงวิธีการเจริญ พระพุทธมนต์ไว้ว่า
หากเรียนด้วยความตั้งใจจนเกิดความช่ำชองคล่องปาก ไม่ตกหล่นทั้งอรรถและพยัญชนะ มีจิตประกอบด้วยเมตตาหวังให้ผู้คน พ้นจากทุกข์ บริกรรมพระพุทธมนต์แผ่เมตตาไปไม่เห็นแก่ลาภ ย่อมจะ บังเกิดเป็นอานุภาพคุ้มครองป้องกันเหล่าอมนุษย์และสรรพอันตรายทั้งหลาย
สำหรับผู้เจริญพระพุทธมนต์ และผู้ฟังการเจริญพระพุทธมนต์ หากกระทำด้วยจิตเลื่อมใส ไม่มีกิเลสมาครอบงำจิต ไม่มีกรรมหนัก มาตัดรอน อีกทั้งยังไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย พระพุทธมนต์ย่อมจะมีอานุภาพ ในการบำบัดทุกข์โศกโรคภัย ความเจ็บป่วยไข้ และสรรพอันตรายทั้งหลายได้ สามารถดับความเร่าร้อนกระวนกระวายใจ ขจัดลางร้ายและฝันร้ายทั้งหลาย ปัดเป่าเสนียดจัญไร อุบัติเหตุ สิ่งอัปมงคลอันเกิดจาก บาปเคราะห์ ฤกษ์หามยามร้ายและสิ่งที่ไม่พึงพอใจต่างๆ ป้องกันแม้ โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย อสรพิษ สัตว์ร้าย อมนุษย์ ภูตผีปีศาจ ยักษ์ นาค คนธรรพ์ และเทวดาที่ไม่หวังดีทั้งหลาย คุ้มครอง ป้องกันรักษาให้ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยนานาประการ แคล้วคลาด ปลอดภัย จากผู้จองเวรที่คอยจ้องผลาญ นอนหลับก็สบายไม่ฝันร้าย เป็นผู้ มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ และเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนาตลอด กาลทุกเมื่อ
พระพุทธมนต์ที่สวดด้วยจิตเลื่อมใสเป็นสมาธิแน่วแน่ ย่อม แผ่อานุภาพคุ้มครองป้องกันตลอดทั้งหมู่ญาติ พวกพ้องและบริวารทั้งหลาย
เหตุที่ต้องสวดมนต์เป็นภาษาบาลี
การเจริญสมาธิภาวนา คือ การที่จิตผูกหรือเพ่งอยู่กับคำใดคำหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น พุทโธ พุทโธ, พองหนอ-ยุบหนอ, สัมมา-อะระหัง เป็นต้น ให้จิตเกาะเกี่ยวไหลไปตามกระแสของคำนั้นๆ เพื่อเป็นสื่อให้จิตเข้าถึงความสงบ มีค่าเท่ากับจิตผูกเพ่งอยู่กับการสวดมนต์ที่จิตเกาะเกี่ยวไปกับทุกอักระของบทสวดมนต์
จิตที่ไหลไปเป็นกระแสตามทุกอักขระเช่นนี้ ไม่เปิดโอกาสให้นิวรณ์ ๑ คือ สิ่งที่ขวางกั้นจิตไม่ให้ทำความดี เช่น ความรักโลภ โกรธหลง กามราคะ อาฆาตพยาบาท หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญ เบื่อหน่ายแทรกเข้ามาครอบงำจิตได้ ทำให้จิตมีความผ่องใส เป็นจิตมีพลังในการต้านทานกิเลสที่จะเข้ามามีอำนาจเหนือสติปัญญา มีความฉับไวต่อการรับรู้อารมณ์ และคมต่อการแยกแยะความถูกผิด
การสวดมนต์ คือ การเจริญสมาธิภาวนา
การเจริญพระพุทธมนต์ เป็นรูปแบบของการเจริญสมาธิภาวนาอย่างหนึ่ง แต่แทนที่จะใช้วิธีนั่งบริกรรม ให้จิตเกาะเกี่ยวอยู่กับคำใดคำหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว เช่น พุทโธ พุทโธ เป็นต้น เพื่อเป็นสื่อให้เข้าถึงความสงบ ก็ใช้วิธีให้จิตเกาะเกี่ยวไปกับอักขระเป็นกระแสเช่นนี้ ไม่ปล่อยให้ความ รักโลภโกรธหลง กามราคะ อาฆาตพยาบาทได้โอกาสแทรกเข้ามา ครอบงำจิต ทำให้จิตมีความผ่องใสเป็นจิตมีพลังในการต้านทานกิเลสที่จะ เข้ามามีอำนาจเหนือสติปัญญา จิตเช่นนี้เป็นจิตสงบ คือ สงบจากกาม ราคะ อาฆาตพยาบาท หงุดหงิดฟุ้งซ่าน รำคาญ เบื่อหน่าย จึงชื่อว่า “จิตเป็นสมาธิ”
การสวดมนต์คือการทรงจำพระพุทธพจน์
การสวดมนต์ คือ การท่องบ่นสาธยายพระพุทธพจน์ ซึ่งถูกบันทึกไว้เป็นภาษาบาลี เพื่อการทรงจำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้ยืนยาวสืบต่อไปการสวดมนต์ในอีกด้านหนึ่งก็คือการเจริญสมาธิภาวนาที่ได้นำเอาพระพุทธพจน์มาเป็นบทบริกรรมภาวนา ให้จิตเกาะเกี่ยวไปกับทุกขณะของอักขระที่กำลังสาธยาย ไม่ปล่อยให้ นิวรณ์แทรกเข้ามาทำให้จิตเศร้าหมองได้นั่นเอง
พระสงฆ์สาวกสมัยพุทธกาล นอกจากจะมีหน้าที่ในการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อนำตนออกจากทุกข์แล้ว ยังมีภาระหน้าที่ในการทรงจำพระพุทธพจน์ เพื่อสืบต่อคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ควบคู่กันไปอีกด้วย พระสาวกสมัยพุทธกาลจึงถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งที่จะต้องท่องบ่น สาธยายพระพุทธพจน์ เพื่อรักษาคำสอนของพระพุทธองค์เป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งความเพียรเพื่อนำตนออกจากทุกข์ในสังสารวัฏ จึงหาวิธีที่จะ ทรงจำพระพุทธพจน์ให้เป็นกิจกรรมในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการ เจริญสมาธิภาวนา
การเจริญพระพุทธมนต์ ที่ต้องสวดเป็นภาษาบาลีเพราะเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพระพุทธพจน์ ซึ่งกระทำควบคู่ไปกับการเจริญสมาธิภาวนา เป็นกิจวัตรในการดำเนินชีวิตของพระสงฆ์สาวกในสมัยพุทธกาล ที่ถ่ายทอด สืบต่อมาสู่พระสงฆ์สาวกในยุคปัจจุบัน
การสวดมนต์ช่วยให้เกิด การจัดระบบความสมดุลทางกายและจิต
การสวดมนต์ช่วยปรับความสมดุลทางกายและทางจิตเป็นการสร้างความสงบเยือกให้กับจิต ทำให้ความเครียดที่มีอยู่สลายลงได้ แล้วความรู้สึกดีๆ ของจิตสำนึกก็จะเกิดขึ้นมาแทนที่
เมื่อจิตสงบนิ่ง เย็นสบาย ย่อมทำให้ร่างกายสบายขึ้นตามไปด้วย เพราะลมหายใจที่สูดเข้าไปในขณะเปล่งเสียงสวดมนต์ จะทำให้ปอดขยายในจังหวะที่พอเหมาะสม่ำเสมอ เพิ่มออกซิเจนในเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้ผิดพรรณเปล่งใบหน้าเอิบอิ่มตามไปด้วย ในขณะเดียวกันก็ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอวัยวะทุกสัดส่วนไม่เกรง เป็นการผ่อนคลายระบบประสาททุกสัดส่วนของร่างกาย ทำให้ลดความตึงเครียดลงได้
ผู้ที่สวดมนต์เป็นปกติ จะลดอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดในสมองแตก เพราะจิตที่สงบนิ่งราบเรียบจะจัดความสมดุลของเส้นเลือดในสมองให้เกิดความสมดุล เนื่องจากหัวใจไม่เต้นแรงผิดธรรมชาติ ทำให้การสูบฉีดเลือดในหัวเป็นปกติ แม้จะตกอยู่ในสภาวะหน้าสิ่วหน้าขวาน
อานิสงส์ของการสวดมนต์
จิตที่สงบราบเรียบละเอียดอ่อนจากการสวดมนต์ จะทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดที่เปี่ยมล้นด้วยพลังแห่งความดีงาม ย่อมส่งผลดีต่อร่างกายได้ จิตที่สงบสุขย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากความอ่อนแอ ในขณะเดียวกันร่างกายที่มีโรคภัยไข้เจ็บ ย่อมจะทำให้จิตใจอ่อนแอตามไปด้วย ผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำ มักจะมีสุขภาพที่ดีภายใต้จิตใจที่เบิกบานแจ่มใส อยู่ในโลกได้อย่างมีความสุข การสวดมนต์เป็นประจำมีอานิสงส์ ดังนี้
๏ ทำให้เป็นคนไม่เคร่งเครียด หากความเคียดเกิดขึ้นก็จะคลายลงได้ จนกระทั่งความเครียดนั้นจางหายไปในที่สุด
๏ ทำให้จิตใจสงบนิ่งเยือกเย็น ผู้ที่มีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เสมอ การสวดมนต์จะช่วยให้ความเร่าร้อนทางอารมณ์ที่โหมไปด้วยเพลิงโทสะ เพลิงโมหะ เพลิงอิจฉาริษยาลดลงได้ ทำให้เป็นสุภาพชนที่มีลักษณะสุขุมเยือกเย็น ภายใต้จิตใจที่อ่อนโยนงดงาม
๏ ทำให้หลับสบายตื่นก็เป็นสุข ผู้ที่นอนหลับยาก การสวดมนต์จะช่วยปรับความสมดุลทางจิตให้ก้าวลงสู่ความหลับอย่างสบายไม่กระสับกระส่าย เพราะจิตใจไม่แปรปรวน ตื่นขึ้นมาก็สดชื่นไม่ง่วงซึม
๏ ทำให้อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหมดไป ความเครียดทำให้เกิดระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เพราะน้ำย่อยหรือน้ำดีจะหลั่งออกมาจากตับแล้วทำให้ระคายเคืองผนังกระเพราะอาหาร ผู้ที่มีเครียดมักจะปวดท้อง หรืออาเจียน
การสวดมนต์ช่วยให้ลดระดับการเกร่งของประสาททุกส่วนในร่างกาย จึงทำให้ความเคียดลดลง และทำให้อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหายไปด้วย เมื่อไม่มีความเครียดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารก็หมดไป เท่ากับว่าการสวดมนต์ช่วยปรับความสมดุลของระบบทางเดินอาหารในกระเพาะ
๏ ทำให้ปฏิบัติหน้าที่การงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากร่างกายมีสุขภาพดี จิตใจก็ย่อมปลอดโปร่งมีความสุข จิตใจที่ปลอดโปร่งย่อมทำงานได้ผลอย่าง มีประสิทธิภาพ
๏ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ผู้ที่มีจิตปลอดโปร่งเป็นสมาธิ ย่อมมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ต่างๆ มากมาย
๏ ครอบครัวมีความสุข มีอนาคต เป็นทรัพยากรบุคคลของชาติที่มีค่ายิ่ง ประเทศชาติจะกว้าไปข้างหน้าด้วยดีทุกวิถีทาง คนที่มีคุณงามความดีขนาดนี้แล้ว เรื่องที่ไม่ดีย่อมจะไม่มีให้เห็นได้เลย เพราะการสวดมนต์บำบัดนั้นมีผลดีมากมายและแปลกประหลาด ๏ ผู้คนก็เมตตาเทวดาก็รัก เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย จะอยู่ที่ไหน เทวดาก็ให้การคุ้มครองรักษา
สวดมนต์เป็นปกติ จะลดอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นเส้นเลือดในสมองแตก เพราะจิตที่สงบนิ่งราบเรียบจะจัดความสมดุลของเส้นเลือดในสมองให้เกิดความสมดุล เนื่องจากหัวใจไม่เต้นแรงผิดธรรมชาติ ทำให้การสูบฉีดเลือดในหัวเป็นปกติ แม้จะตกอยู่ในสภาวะหน้าสิ่วหน้าขวาน
มาอ่านพระไตรปิฎกกันเถิด
พระไตรปิฎก
เป็นที่เก็บรวบรวมพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงค้นพบและประกาศไว้เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ สมัยก่อนตอนเริ่มแรก ที่พระองค์ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไม่นาน ไม่ได้มีการบันทึกหรือจารึกพระไตรปิฎกในรูปอักษรเขียน แต่เป็นการถ่ายทอดในแง่ของการบอกกล่าวแบบปากต่อปากจากรุ่นสู่รุ่น แล้วจำสิ่งที่ได้รับการบอกกล่าวไว้ เรียกว่ามุขปาฐะ และเริ่มมีการบันทึกพระไตรปิฎก ลงเป็นลายลักษณ์อักษร ลงใน ใบลาน เมื่อพ.ศ. ๔๕๐ ในคราวที่มีการสังคายนา พระไตรปิฎกครั้งที่ ๔ ที่ประเทศศรีลังกา (รายละเอียดเรื่องพระไตรปิฎกขอให้ไปอ่านที่ พระไตรปิฎก : สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้)
ความสำคัญของพระธรรม
พระธรรมนั้นมีความสำคัญอย่างที่สุดและประมาณมิได้
(รายละเอียดให้ไปอ่านที่
การระลึกถึงพระคุณของพระธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)
ความสำคัญของพระธรรมอีกนัยหนึ่งก็คือ พระธรรมเปรียบเสมือนตัวแทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระธรรมเปรียบเสมือนตัวแทนของพระองค์ ซึ่งก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้ตรัสบอกแก่เหล่าสาวกทั้งหลายว่า ให้พระธรรมเป็นตัวแทนของพระองค์ ดังพุทธพจน์ดังต่อไปนี้
พุทธพจน์
[๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า
“ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอโดยกาลล่วงไปแห่งเรา"
พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสูงสุด เป็นบุคคลที่เป็นเอกของโลก ไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน มีพระปัญญาอันสูงสุด เป็นสัพพัญญู พระญาณหยั่งรู้ของพระองค์นั้น ไม่มีขอบเขตของกาลเวลา ดังนั้นสิ่งที่พระองค์ตรัสย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เป็นประโยชน์สูงสุด ดังนั้นเมื่อดูจากพุทธพจน์ จึงไม่ต้องสงสัยถึงความสำคัญอีกนัยหนึ่งของพระธรรม นั่นคือพระธรรมเปรียบเสมือนตัวแทนของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ไม่ได้แต่งตั้งใครเป็นตัวแทนพระองค์นอกจากพระธรรมคำสั่งสอน
ขอให้ทุกท่านพิจารณาให้ดีว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ก็ยังมีพระอรหันต์สาวก ซึ่งประกอบด้วย อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทาญาณ เป็นเอหิภิกขุ ได้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระองค์ ยังมีพระอรหันต์ที่ทรงคุณอันยิ่งใหญ่อีกมากมาย
พระมหากัสสปเถระ (เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์)
พระอนุรุทธเถระ (เอตทัคคะในทางทิพยจักขุญาณ)
พระอานนท์เถระ (เอตทัคคะในทาง : เป็นพหูสูต, เป็นผู้มีสติ, เป็นผู้มีคติ, เป็นผู้มีความเพียร, เป็นพุทธอุปัฏฐาก)
พระอุบาลีเถระ (เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย)
พระพากุลเถระ (เอตทัคคะในทางผู้มีอาพาธน้อย) ฯลฯ
ท่านเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งนั้น แต่พระองค์ก็มิได้มอบหมายให้พระอรหันต์สาวกผู้ทรงคุณอันยิ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เป็นตัวแทนของพระองค์
ซึ่งแม้แต่ครั้งหนึ่ง ในเหตุการณ์ที่พระเทวทัตทูลขอปกครองสงฆ์จากพระผู้มีพระภาคเจ้า (อ้างอิง๒)
พระเทวทัตก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“ พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชราแล้ว
เป็นผู้เฒ่า แก่หง่อมแล้ว ล่วงกาลผ่านวัยไปแล้ว บัดนี้
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงขวนขวายน้อย
ประกอบทิฏฐธรรมสุขวิหารอยู่เถิด
ขอจงมอบภิกษุสงฆ์แก่ข้าพระพุทธเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าจักปกครองภิกษุสงฆ์ ”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ ดูก่อนเทวทัต แม้แต่สารีบุตร และโมคคัลลานะ เรายังไม่มอบภิกษุสงฆ์ให้ ไฉนจะพึงมอบให้เธอ ผู้เช่นซากศพ ผู้บริโภคปัจจัย เช่นก้อนเขฬะเล่า ”
เมื่อดูจากพุทธพจน์ข้างต้นแล้ว ประเด็นที่กำลังอ้างอิงนั้นไม่ได้อยู่ในส่วนของพระเทวทัต แต่อยู่ในส่วนที่พระองค์กล่าวถึงในส่วนของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ซึ่งแม้แต่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ พระองค์ก็ยังทรงไม่ได้มอบหมาย ให้ปกครองคณะสงฆ์
อย่างนั้นในเมื่อ ถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่สามารถจะเป็นตัวแทนของพระองค์ได้แล้ว แต่ถ้ารวมกลุ่มเป็นคณะ จะสามารถเป็นตัวแทนของพระองค์ได้หรือไม่ เช่นคณะสงฆ์พอจะเป็นตัวแทนพระองค์ได้หรือไม่ เพราะว่าพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณแต่ละองค์นั้นมีความโดดเด่น และชำนาญต่างๆกัน องค์นี้มีความสามารถโดดเด่นด้านตาทิพย์ องค์นี้มีความโดดเด่นด้านพระวินัย ฯลฯ ถ้าให้คณะสงฆ์ผู้เป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ เป็นเอตทัคคะด้านต่างๆรวมตัวกันเป็นสภา เพื่อเป็นตัวแทนพระองค์พอจะได้หรือไม่
ซึ่งคำตอบก็คือ “ ไม่ได้ ” เพราะแม้แต่คณะสงฆ์ พระองค์ก็มิได้มอบหมายหน้าที่ให้คณะสงฆ์เป็นตัวแทนของพระองค์หลังจากพระองค์ปรินิพพาน
แล้วถ้าเป็นคณะพระโพธิสัตว์ล่ะ สามารถจะเป็นตัวแทนพระองค์ได้หรือไม่ ในคัมภีร์อนาคตวงศ์กล่าวถึง มหาโพธิสัตว์ ๑๐ พระองค์ ที่บำเพ็ญบารมีอันยิ่งยวดมาตลอดเวลาอันยาวนาน จนถึงขั้นเป็นนิยตโพธิสัตว์ นั่นคือพระโพธิสัตว์เหล่านั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอนในอนาคตกาล นั่นหมายความว่าพระโพธิสัตว์เหล่านั้นมีบารมีอันยิ่งใหญ่ทั้ง ๓๐ ทัศ ใกล้จะครบบริบูรณ์ (ซึ่งใน ๑๐ องค์นั้นมีพระโพธิสัตว์รามเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น ที่ไม่ได้มีการกล่าวถึงในพระไตรปิฎกในส่วนของการได้มีโอกาสมาพบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม) ดังนั้นถ้าให้คณะพระโพธิสัตว์ตั้งเป็นสภา แล้วทำหน้าที่เป็นตัวแทนพระองค์ได้หรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คงเหมือนเดิมนั่นคือไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นพระองค์ก็ต้องแต่งตั้งไปแล้ว
ส่วนในความคิดของผู้เขียนแล้ว คงจะเป็นไปไม่ได้เพราะ พระมหาโพธิสัตว์ทั้ง ๙ พระองค์นั้น เป็นมนุษย์ ๕ มาร ๑ สัตว์เดรัจฉาน ๒ อสูร ๑ และถึงแม้จะมีบารมีเยอะแต่ก็ไม่ได้อยู่ในวิสัยและยังไม่ถึงเวลาที่จะทำหน้าที่นั้นได้
สรุปแล้วในโลกต่างๆ ทั้งมนุษย์โลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก หรือไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง หรือใครก็ตามนั้น ไม่มีใครเหมาะสมมีความสามารถพอจะรับหน้าที่เป็นตัวแทนพระองค์ภายหลังจากพระองค์ทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ เพราะว่ามิฉะนั้นพระองค์ก็ต้องตรัสแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่งเป็นตัวแทนพระองค์ไปแล้ว พระองค์ย่อมรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ที่สุด สิ่งใดที่เหมาะจะเป็นตัวแทนของพระองค์ นั่นคือไม่มีใครเหมาะสมจะเป็นตัวแทนพระองค์มากกว่าพระธรรมคำสั่งสอน
ดังนั้นความสำคัญอีกนัยหนึ่งของพระธรรมนั้นเปรียบได้กับตัวแทนของพระองค์
พระธรรมนั้นเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเคารพ
พระองค์มิได้ตั้งพระธรรมเป็นตัวแทนของพระองค์เท่านั้น พระองค์ยังตั้งพระธรรมให้อยู่ในส่วนที่พระองค์เคารพ
พุทธพจน์
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ เราพักอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา เมื่อเราเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดปริวิตกขึ้นว่า บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะ เคารพ พึ่งพิงสมณะ หรือพราหมณ์ผู้ใด อยู่เล่าหนอ เราตรองเห็นว่า เราจะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงสมณะ
หรือพราหมณ์อื่นอยู่ ก็เพื่อทำสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ของเราที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ ก็แต่ว่าเราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติยิ่งกว่าตนในโลกทั้งเทวโลก ทั้งมารโลก ทั้งพรหมโลก ในหมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์ ทั้งสมณพราหมณ์ ซึ่งเราจะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงอยู่ได้ดังนี้แล้ว
เราตกลงใจว่า อย่ากระนั้นเลย ธรรมใดที่เราตรัสรู้นี้ เราพึงสักการะเคารพพึ่งพิงธรรมนั้นอยู่เถิด ”
โดยที่หลังจากพระองค์พิจารณาดังนี้แล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมได้เสด็จมาหาพระองค์ และได้ทรงยืนยันในสิ่งที่พระผูมีพระภาคเจ้าพิจารณาว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว ดูได้จากพุทธพจน์ต่อไปนี้
“ ครั้นแล้วสหัมบดีพรหมทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงที่พื้นดิน ประคองอัญชลีตรงมาทางเรา กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อที่พระองค์ทรงตกลงพระหฤทัยนั้นถูกแล้ว ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้อที่พระองค์ทรงตกลงพระหฤทัยนั้นชอบแล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เหล่าใดที่มีมา
แล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เหล่านั้น ก็ได้ทรงสักการะเคารพพึ่งพิงพระธรรมอยู่เหมือนกัน พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้เหล่าใดที่จักมีในอนาคตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เหล่านั้น ก็จักทรงสักการะเคารพพึ่งพิงพระธรรมนั่นแลอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลบัดนี้ ก็ขอจงทรงสักการะเคารพพึ่งพิงพระธรรมนั้นอยู่เถิด ”สหัมบดีพรหมได้กล่าวคำนี้แล้ว จึงกล่าวคำประพันธ์นี้ อีกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่ยังไม่มาถึงก็ดี พระพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายในปัจจุบันนี้ก็ดี พระพุทธเจ้าทั้งปวงนั้นเป็น ผู้ทรงเคารพพระสัทธรรมแล้ว ทรงเคารพพระสัทธรรมอยู่ และจักทรงเคารพพระสัทธรรม นี่เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ผู้รักตน จำนงความเป็นใหญ่ ระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรมเถิด
พระองค์ตั้งพระธรรมเป็นศาสดาแทนพระองค์ในเวลาที่พระองค์ไม่อยู่แล้ว แค่นี้ก็ไม่สามารถบรรยายถึงความยิ่งใหญ่ของพระธรรมได้แล้ว แต่นี่พระองค์ไม่เพียงให้พระธรรมเป็นตัวแทนพระองค์เท่านั้น แต่พระองค์ได้พิจารณาและตั้งให้พระธรรมอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าพระองค์ อยู่ในส่วนที่พระองค์ยังเคารพพึ่งพิง เมื่อพิจารณาถึงประเด็นนี้แล้วยิ่งประจักษ์คุณของพระธรรมให้ชัดแจ้งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะว่าแม้แต่พระองค์ผู้ซึ่งประเสริฐสูงสุดหาผู้ที่เปรียบมิได้ ยังเคารพและพึ่งพิงพระธรรม
อีกทั้งท้าวสหัมบดีพรหมก็ยังได้เสด็จมายืนยันในส่วนที่พระองค์พิจารณาว่า ไม่ใช่เฉพาะแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ปัจจุบันเท่านั้น แม้ในอดีต และอนาคต ก็จะทำในสิ่งนี้เช่นเดียวกัน
ดังนั้นอีกนัยหนึ่ง พระธรรมจึงอยู่ในส่วนที่พระองค์เคารพพึ่งพิงอยู่
(หมายเหตุ เมื่อกล่าวถึงประเด็นนี้แล้ว จึงขอแตกประเด็นสักเล็กน้อย ในเมื่อกล่าวถึงส่วนของสิ่งอันเป็นที่เคารพ เป็นที่พึ่ง ในประโยคที่พระองค์ได้พิจารณาว่า “บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์” แสดงว่าแม้แต่พระองค์ยังหาสิ่งที่พระองค์เคารพ ดังนั้นทุกท่านที่ยังไม่มีสิ่งใดเคารพ ไม่มีสิ่งใดยำเกรง น่าจะพิจารณาให้ดีว่าสิ่งที่เป็นอยู่นั้นเหมาะสมหรือไม่ เพียงแต่การหาสิ่งใดที่เราจะนำมาเป็นที่เคารพ เป็นที่พึ่งของเรานั้น ก็ควรจะพิจารณาอย่างรอบคอบให้ดีเสียก่อน โดยหาสิ่งที่ดีที่สุด เหมาะสมที่สุด เพราะว่า ในความคิดของผู้เขียน ถ้าบุคคลใดมีสิ่งอันเป็นที่เคารพ เป็นที่พึ่ง แต่ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ผิด นำพาเราไปสู่ความพินาศ การไม่มีสิ่งที่เราเคารพพึ่งพิง ก็ย่อมดีกว่า ไปเคารพไปพึ่งในสิ่งที่จะนำเราไปสู่ความฉิบหาย)
ความสำคัญของพระไตรปิฎก
จากที่ได้กล่าวข้างต้นถึงคุณอันยิ่งใหญ่มากประมาณมิได้ของพระธรรมนั้น เพื่อจะบอกกล่าวกับทุกท่านถึงความยิ่งใหญ่ของพระธรรม เพื่อที่จะสามารถพิจารณาถึงส่วนต่อมาได้อย่างชัดเจน นั่นคือส่วนของสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นสิ่งรวบรวมพระธรรมคำสั่งสอน นั่นคือพระไตรปิฎก
ถ้าจะพิจารณาให้ดีนั้น ตัววัตถุหรือสิ่งที่ทำหน้าที่ ไว้สำหรับเป็นที่อยู่ของตัวอักษรเพื่อบันทึกพระธรรม ล้วนๆนั้น อาจจะไม่ได้มีความสำคัญอะไร ถ้าเป็นพระไตรปิฎกที่จารึกบนใบลาน จริงๆแล้วก็จะเป็นแค่ใบลานธรรมดา ถ้าเป็นหนังสือพระไตรปิฎกก็จะเป็นแค่กระดาษกองหนึ่งเท่านั้น ยิ่งเป็นสมัยก่อนด้วยแล้ว พระไตรปิฎกอยู่ในความทรงจำของพระภิกษุที่แบ่งกันท่องจำกันมา(มุขปาฐะ) ก็จะเป็นแค่จิตกับสัญญาของผู้ที่ทำหน้าที่ท่องจำเท่านั้น แต่ความสำคัญอย่างสูงสุดของพระไตรปิฎกนั้นหาได้อยู่กับสิ่งที่พระไตรปิฎกบันทึกหรือจารึกอยู่บนสิ่งใดไม่ แต่กลับอยู่ในสิ่งที่กระดาษหรือใบลานเหล่านั้นบันทึกไว้ต่างหาก นั่นคือเป็นสิ่งที่จัดเก็บรวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เปรียบเสมือนตัวแทนของพระองค์และเป็นสิ่งที่พระองค์เคารพ เมื่อกระดาษหรือใบลานเหล่านั้นได้ไปติดอยู่กับสิ่งล้ำค่าที่สุด กระดาษหรือใบลานเหล่านั้นจึงเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดไปโดยปริยาย
ถ้าเกิดมีใครตั้งใจเจตนาที่จะไปทำลายพระไตรปิฎกใบลานหรือเผาหนังสือพระไตรปิฎก ก็เหมือนกับไปทำลายสิ่งที่ทำหน้าที่เผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน ไปทำลายสิ่งที่เป็นโอกาสให้เหล่าสัตว์ได้ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอน บาปหรือโทษก็จะเกิดขึ้นด้วยเหตุนั้น แล้วยิ่งถ้าเกิดสมัยก่อน สมมติมีใครไปฆ่าพระอรหันต์ที่ทำหน้าที่ท่องจำ(มุขปาฐะ)พระไตรปิฎกด้วยแล้ว ก็เหมือนกับไปทำลายสิ่งที่รวบรวมพระธรรมคำสอน และพระอรหันต์ในคราวเดียวกัน
ดังที่กล่าวมาแล้ว ความสำคัญของพระไตรปิฎกอยู่ที่การเป็นตัวบันทึกพระธรรมคำสั่งสอน แต่ถ้าจะแบ่งแยกให้ชัดเจน ก็อาจจะแบ่งได้เป็น ๒ ส่วนดังนี้
๑. คุณค่าทางโอกาส นั่นคือการที่สิ่งนั้นได้เป็นโอกาสให้สัตว์ได้อ่าน ตราบใดที่ยังมีหนังสือเล่มนี้หรือใบลานแผ่นนี้อยู่ สัตว์ก็ยังมีโอกาสอยู่เสมอ โอกาสที่คนจะหยิบมาอ่านก็ยังจะมีเสมอ ขอเพียงยังมีหนังสือที่บันทึกพระธรรมเล่มนี้อยู่ สัตว์ก็ยังมีความหวังอยู่
๒. คุณค่าอีกอย่างหนึ่งคือทำหน้าที่เป็นสื่อในการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอน เมื่อมีคนใดคนหนึ่งหยิบหนังสือเหล่านั้นไปอ่านและเข้าใจเท่านั้น คุณค่าในข้อนี้จะปรากฏขึ้นมาในทันที โดยคุณค่าในข้อที่ ๒ นี้ จึงนับเป็นคุณค่าอย่างแท้จริง
แต่ในปัจจุบันนี้ คุณค่าที่เด่นชัดที่สุดของหนังสือพระไตรปิฎกส่วนมากจะเป็นคุณค่าในข้อที่ ๑ เท่านั้น นั่นคือเป็นเพียงแค่คุณค่าทางโอกาสเสียมากกว่า โดยปราศจากคุณค่าอย่างแท้จริงในข้อที่สอง จึงเป็นที่น่าเสียดายเป็นอย่างมาก ถ้าปราศจากคนหยิบมาอ่านแล้วคุณค่าในข้อที่ ๒ จะไม่มีวันปรากฏขึ้นมาเลย เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ปัจจุบันนี้ ส่วนมากหนังสือพระไตรปิฎกจะอยู่ในตู้และถูกเก็บไว้อย่างดี แต่แทบจะไม่มีคนสนใจเลยแม้แต่น้อย การปล่อยให้พระไตรปิฎกทิ้งไว้อยู่ในตู้เฉยๆ จึงเป็นการเสียประโยชน์อย่างน่าเสียดายที่สุด ส่วนผู้คนที่ไม่ได้อ่าน ก็ไม่ได้รู้ว่าตนได้รับความสูญเสียทางโอกาสขนาดไหน เป็นความสูญเสียทางโอกาสแทบจะประมาณมิได้อยู่ทุกครั้งที่เดินผ่านโดยไม่ได้ใส่ใจที่จะหยิบมาอ่าน
ทำไมถึงต้องอ่านพระไตรปิฎก
การที่บุคคลหนึ่งจะได้เกิดมาในยุคที่มีพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ซึ่งขณะนี้มีสิ่งที่บันทึกพระธรรมคำสั่งสอนนั่นคือพระไตรปิฎกตั้งอยู่ข้างหน้าของท่านแล้ว ท่านจะปล่อยให้พระไตรปิฎกตั้งทิ้งไว้เฉยๆโดยไม่สนใจ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็นับว่าเป็นการสูญเสียทางโอกาสที่มากมายมหาศาลนับไม่ได้ทีเดียว
ท่านอาจจะไม่รู้หรอกว่าถ้าท่านได้อ่านพระไตรปิฎกเพียงหนึ่งธรรมบท อาจจะเปลี่ยนวิถีการเดินทางในวัฏสงสารของท่านประมาณไหน นักปรัชญาบางคนกล่าวว่า คำพูดเพียงหนึ่งคำ หรือประโยคจากหนังสือเพียงหนึ่งประโยคที่ท่านได้อ่าน อาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิตท่านทั้งชีวิต ส่วนพระธรรมอันล้ำค่านั้น ถ้าท่านได้อ่านพระไตรปิฎก แล้วศึกษาพระธรรมหนึ่งธรรมบทจนถ่องแท้ ผลของสิ่งนี้อาจจะเปลี่ยนวิถีการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารของท่านขนาดไหน
(ตัวอย่างที่บางท่านได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียวนั้น สามารถยังความเจริญให้แก่ตนเองอย่างประมาณมิได้)
เอกธัมมสวนิยเถระ (ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรมครั้งเดียว) (อ้างอิง ๔)
ในสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ครั้งนั้นได้มีชฎิลผู้หนึ่ง เหาะอยู่ในอากาศ แต่แล้วชฎิลผู้นั้นไม่สามารถเหาะผ่านเหนือพระปทุมุตตระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ซึ่งลักษณะอาการเหมือนกับนก ที่เข้าไปใกล้ภูเขาแล้วก็มิอาจผ่านไปได้ ชฎิลผู้นั้นจึงนึกขึ้นว่า
“ เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยปรากฏขึ้นกับเรามาเลย เราควรจะหาสาเหตุนั้น ”
จึงได้เหาะลงมาจากอากาศ เมื่อเหาะลงมาแล้ว ก็ได้พบกับพระผู้มีพระภาค และมีโอกาสฟังธรรม เมื่อพระศาสดาตรัสถึงว่าสังขารไม่เที่ยง ด้วยพระสุรเสียงที่น่ายินดี น่าฟัง กลมกล่อมขณะนั้น ชฎิลผู้นั้นได้เรียนถึง อนิจจลักษณะ ครั้นเรียนอนิจจลักษณะได้แล้ว ก็ไปสู่อาศรมของตน และก็อยู่ในอาศรมนั้นจนตราบเท่าสิ้นอายุขัย ขณะที่กำลังจะสิ้นอายุขัย ได้ระลึกถึงการฟังพระสัทธรรม ด้วยกรรมอันนั้นเมื่อละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รื่นรมย์อยู่ในเทวโลกถึง ๓ หมื่นกัปได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๑ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๑ ครั้ง
และได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ ได้เสวยบุญของตน ถึงความสุขในภพน้อยใหญ่เมื่อท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ก็ยังระลึกได้ถึงสัญญานั้น
จนมาถึงชาติหนึ่ง ได้มีโอกาสฟังธรรมจากสมณะผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ท่านได้แสดงธรรมโดยยก อนิจจลักษณะขึ้นมาในธรรมกถานั้น
“ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้น สงบระงับ เป็นความสุข ”
ท่านพระเอกธัมมสวนิยเถระได้กล่าวภาษิตเหล่านี้
“ เราจึงนึกถึงสัญญาขึ้นได้ทุกอย่าง เรานั่ง ณ อาสนะเดียว บรรลุอรหัตแล้ว เราได้บรรลุอรหัต โดยเกิดได้ ๗ ปี พระพุทธเจ้าทรงให้เราอุปสมบทแล้ว นี้เป็นผลแห่ง การฟังธรรม ย้อนหลังไปแสนกัป จากการที่เราได้ฟังธรรม
ในครั้งนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการฟังธรรม เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอนของพระพุทธเจ้า เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้ ”
ทุกท่านลองคิดดูเถิดว่า ในอดีตมีบุคคลหนึ่งได้ฟังธรรมเพียงครั้งเดียว แล้วนำสิ่งที่ได้ฟังนั้น มาสร้างความเจริญให้กับตนได้อย่างมากมายจนถึงที่สุดแห่งทุกข์
บ่อยครั้งที่ทุกท่านได้ยินได้ฟังพระเทศน์เรื่องต่างๆ หรือไม่ก็ได้อ่านบทความต่างๆที่ยกขึ้นมาซึ่งมีแหล่งที่มาจากพระไตรปิฎก ท่านก็จะได้ยินได้ฟังได้อ่านจากผู้อื่นเล่ามาอีกต่อหนึ่ง เปรียบก็เหมือนกับว่า ท่านได้ฟังคนๆหนึ่งที่มีโอกาสไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ แล้วก็นำสิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาเล่าให้ท่านฟังอีกต่อหนึ่ง ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่มีคนมาเล่าสิ่งที่พระองค์ตรัสมาเล่าให้ท่านฟัง ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนเล่า แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าแล้วทำไมท่านถึงไม่ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรงเองเสียเล่า ทำไมต้องมาผ่านผู้คนอีกทอดหนึ่งเสียก่อน ก่อนที่จะมาถึงท่าน ท่านมีเวรกรรมอะไรหรือที่ทำให้ไม่สามารถไปเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยตรง ทำไมต้องผ่านคนอีกทอดหนึ่งก่อนที่จะมาถึงท่าน
ฉันใดก็ฉันนั้น ทำไมท่านไม่ไปอ่านพระไตรปิฎกโดยตรงเองเสียเล่า การอ่านพระไตรปิฎกโดยตรงก็เปรียบเหมือนกับการที่ท่านได้ไปพบกับพระองค์โดยตรง ไม่ต้องไปผ่านคนอื่น ได้ยินคนอื่นเล่าให้ฟังบางครั้งแล้ว ก็ควรจะไปอ่านเองโดยตรงเสียบ้าง ไม่ใช่คอยเอาแต่จะฟังคนอื่นมาเล่าต่ออีกทอดหนึ่ง
มิฉะนั้นท่านจะรู้ได้อย่างไรว่า คนอื่นที่มาเล่าให้ท่านฟังอีกต่อหนึ่ง ได้อ่านมาอย่างดี มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ไม่ได้เข้าใจผิด ไม่ได้เล่าในสิ่งที่ได้อ่านมาผิด ไม่ได้นำความเป็นตัวเองมาปรุงใส่ก่อนมาเล่าให้ท่านฟัง ท่านจะไว้วางใจคนเหล่านั้นได้อย่างไร ถ้าท่านเคยเล่นเกมที่ให้คนสิบคนมาเรียงเข้าแถวต่อกัน แล้วให้กระซิบบอกข้อความแก่หัวแถวคนแรก โดยไม่ให้คนอื่นได้ยิน แล้วให้หัวแถวกระซิบบอกคนที่สองถัดไป เมื่อคนที่สองได้รับข้อความแล้ว ก็ให้คนที่สองกระซิบบอกต่อคนที่สาม ทำอย่างนี้ต่อๆกันไปจนถึงคนสุดท้าย โดยส่วนมากผลลัพท์ที่ออกมาถึงคนสุดท้ายก็จะผิดเพี้ยนเป็นอย่างมาก
ต่อให้ผู้นั้นไม่ได้เล่าผิด แต่เล่าไม่ครบ ก็นับว่าเป็นการเสียโอกาสเป็นอย่างมากที่ไม่ได้ฟัง ประโยคที่สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะขาดในช่วงที่สำคัญมากก็เป็นไปได้
อีกทั้งชาวพุทธนั้นมีการเกี่ยวข้องกับพระในหลายเหตุการณ์ การเข้าวัดเพื่อเหตุผลต่างๆของชาวพุทธนั้นก็มีมากมาย และก็เป็นเรื่องปกติของชาวพุทธที่จะต้องเข้าวัด
ดังนั้นเพื่อประโยชน์ของตัวท่านเองควรจะศึกษาวินัยของพระให้ดี เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ในกรณีที่ท่านจะต้องวางตัวอย่างไรเมื่อต้องไปเกี่ยวข้องกับพระ ซึ่งปัจจุบันนี้ชาวพุทธส่วนมากขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติ และแต่งตั้งไว้เป็นตัวแทนพระองค์
ถ้าท่านขาดการศึกษาให้ดี แทนที่ท่านจะเป็นส่วนหนึ่งในการอุปถัมภ์จรรโลงพุทธศาสนา ก็จะกลายเป็นว่าท่านเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนในการกระทำที่ขัดกับหลักธรรม เช่น พระห้ามทำน้ำมนต์ (อ้างอิง๕) เมื่อท่านได้ศึกษาแล้วก็จะได้ ไม่ไปขอให้พระทำน้ำมนต์ซึ่งเป็นเหตุให้พระผิดศีล
อีกทั้งยังสามารถตักเตือนบอกกล่าวกับผู้อื่น ถึงการกระทำที่ถูกต้องตามหลักธรรมที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้ด้วย เช่นถ้าหากญาติของท่านไปบวช การที่ท่านศึกษาก็จะทำให้รู้เรื่อง และสามารถแนะนำตักเตือนคนที่จะไปบวชได้เพื่อไม่ให้เขาไปประพฤติผิดจากพระธรรมวินัย
พระไตรปิฎกไม่ใช่เรื่องไกลตัว
เมื่อก่อนพระไตรปิฎกก็จะมีอยู่เฉพาะในวัด โดยที่จะเก็บไว้ในตู้พระไตรปิฎกอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ราคาจำหน่ายก็ค่อนข้างสูง คนที่จะอ่านได้ส่วนมากก็จะเป็นพระหรือผู้ที่อยู่ในวัดเป็นส่วนมาก
แต่ปัจจุบันนี้พระไตรปิฎกไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว เพราะปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีการสื่อสารได้ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และได้มีการทำเอกสารให้อยู่ในรูปไฟล์คอมพิวเตอร์ ทำให้มีพระไตรปิฎกที่อยู่ในรูปแบบของโปรแกรม หรือไฟล์เอกสาร (สามารถดาวน์โหลดได้ที่ ดาวน์โหลดพระไตรปิฎก) ซึ่งสามารถเปิดอ่านได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ก็อาจจะมีข้อเสียบ้างในคำบางคำที่พิมพ์ผิดหรือพิมพ์ตก ถ้าคอยสังเกตดีๆก็จะรู้ว่าคำนี้พิมพ์ผิด
เมื่อท่านมีโอกาสและทุนทรัพย์มากพอ ก็สามารถซื้อพระไตรปิฎกมาไว้ศึกษา แต่ถ้ายังไม่มีโอกาส การอ่านพระไตรปิฎกทางคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ขัด ยังไงก็ยังดีกว่าท่านไม่ได้มีโอกาสศึกษาเลย
ส่วนปัญหาสำคัญนั้น การอ่านพระไตรปิฎก อาจจะดูยากบ้างสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยในตอนแรกๆ แต่ถ้าทุกคนลองพยายามอ่านไป ค่อยๆพยายามทำความเข้าใจก็จะเริ่มคุ้นเคย
เคยเห็นหลายคนที่พยายามศึกษาวิชาการต่างๆ เพื่อใช้ในการสอบหรือการทำงานเป็นต้น แต่ละคนมีความเพียรพยายามมากจนมีความเข้าใจในที่สุด ซึ่งทำให้แต่ละคนได้ประโยชน์ในการศึกษานั้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านการสอบเข้าสถาบันต่างๆ หรือเกี่ยวกับการทำงาน
แต่เรื่องพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีความสำคัญเป็นที่สุด มีความสำคัญมากกว่า ถ้าหากท่านมีความพยายามในการศึกษาด้านอื่นได้ การศึกษาในส่วนของพระธรรมคำสั่งสอนก็ควรจะทำได้เช่นเดียวกัน และควรจะทำได้ดียิ่งกว่าอีกด้วย
การศึกษาพระธรรมเป็นการศึกษาที่คุ้มค่าและให้ผลเอนกอนันต์อย่างหาที่เปรียบมิได้ การศึกษาวิชาการทางโลกเมื่อสิ้นชีวิตตายจากชาตินี้ก็จบสิ้น ชาติหน้าก็อาจจะไปเรียนไปศึกษาด้านอื่นอีกไม่รู้จบ แต่การศึกษาทางธรรม แล้วน้อมนำธรรมมาประพฤติปฏิบัตินั้น สามารถที่จะให้ผลเอนกอนันต์ประมาณมิได้ข้ามภพข้ามชาติ
จึงขอเชิญชวนทุกท่าน เริ่มมาศึกษาอ่านพระไตรปิฎกโดยตรง ค่อยๆเริ่มอ่าน เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ จนเริ่มมีความชำนาญในการอ่านในที่สุด ศัพท์บางศัพท์ที่ไม่เข้าใจก็สามารถเปิดดูความหมายได้จากพจนานุกรม เมื่อเปิดดูศัพท์ และจำศัพท์ได้แล้ว พอพบกับคำศัพท์คำเดิมเมื่อคราวต่อไปก็จะจำได้ และสามารถอ่านได้คล่องขึ้นในที่สุด ถ้าไม่เข้าใจในส่วนไหนก็เก็บไว้ก่อน ค่อยๆศึกษาถามผู้ที่มีความเข้าใจ ผู้เขียนเชื่อว่าทุกท่านจะสามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ ส่วนความเข้าใจในแง่หลักธรรม และการปฏิบัติอาจจะต้องค่อยๆศึกษาและปฏิบัติไปตามความเหมาะสม
ลองพยายามอ่านทุกๆวัน ยังไงก็คิดว่ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆวัน ยังไงเสียก็ยังดีกว่าไปทำอะไรที่ไร้ประโยชน์ ซึ่งทุกๆวันเราก็เสียเวลาไปกับเรื่องที่ไร้ประโยชน์เป็นส่วนมากอยู่แล้ว แบ่งเวลามาศึกษาพระธรรมคำสอน เพื่อจะได้น้อมนำพระธรรมคำสอนมาประพฤติปฏิบัติ อันสมควรแก่ธรรม จนกระจ่างธรรม สร้างความเจริญให้กับตนและผู้อื่นได้จนถึงความเจริญที่สุด นั่นคือที่สุดแห่งทุกข์
ส่วนท่านใดที่กำลังศึกษาอยู่แล้ว ก็ขอให้กำลังใจทุกท่าน เพื่อจะได้ทำหน้าที่ของพุทธบริษัท ๔ อย่างบริบูรณ์ไม่มีส่วนใดบกพร่อง ให้สมกับที่ได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในพุทธบริษัท ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มอบหน้าที่ในการดูแลพระพุทธศาสนา เพื่อที่พระพุทธศาสนาจะได้รุ่งเรืองสืบไปเป็นที่พึ่งกับเหล่าสัตว์ได้ตราบนานที่สุดเท่าที่จะนานได้
อ้างอิง๑ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๐ ข้อที่ ๑๔๑
อ้างอิง๒ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๙ พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๘๒ ข้อที่ ๓๖๑
อ้างอิง๓ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๓๕ พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๕๒ ข้อที่ ๒๑
อ้างอิง๔ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๗๒ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ ๔๑ ข้อที่ ๑๗
อ้างอิง๕ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๑๘ ข้อ ๑๒๐
จบบทความที่1
พระวินัย
พระวินัยหรือศีลของพระ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เพื่อเป็นข้อห้ามสำหรับพระภิกษุไม่ให้ประพฤติหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่จะทำให้มีความเสื่อมเสียหรือเสียหายเกิดขึ้น
การกำหนดโทษของภิกษุผู้ฝ่าฝืนละเมิดพระวินัย เรียกว่าอาบัติ
ซึ่งอาบัตินั้นมี ๗ ประการ โดยเรียงลำดับตามโทษหนัก ไปหาเบาดังนี้
๑. ปาราชิก ๒. สังฆาทิเสส ๓. ถุลลัจจัย ๔. ปาจิตตีย์
๕. ปาฏิเทสนียะ ๖. ทุกกฏ ๗. ทุพภาสิต
หลักเกณฑ์ในการบัญญัติสิกขาบท
หลักเกณฑ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางไว้ในการบัญญัติสิกขาบทคือ เมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่งมีความประพฤติที่เสื่อมเสียเกิดขึ้นเมื่อใด พระองค์จะทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามสงฆ์ทั้งหลายประพฤติสิ่งนั้นอีกเมื่อนั้น
หลักเกณฑ์ในการบัญญัติสิกขาบทของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น สามารถดูได้จากพุทธพจน์ที่พระองค์ตรัสกับพระสารีบุตร ในครั้งที่พระสารีบุตรทูลขอให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อจะทำให้พระพุทธศาสนายืนยาวนาน และพระพุทธองค์ตรัสตอบว่า (อ้างอิง ๑)
“ จงรอก่อนสารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีนั้น
พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรม(ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ) บางเหล่าปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ ”
ในตอนต้นของพุทธกาล ตั้งแต่มีพระสงฆ์รูปแรกบังเกิดขึ้นนั่นคือพระอัญญาโกณฑัญญะ เรื่อยไปจนถึงพรรษาที่ ๑๐ พระองค์ยังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบท เนื่องจากพระสงฆ์ในยุคเริ่มแรกยังเป็นพระสงฆ์ที่มีจริยวัตรงดงาม พระส่วนมากมีคุณธรรมขั้นต่ำก็คือพระโสดาบัน ดังนั้นพระจึงยังไม่มีความประพฤติที่เสื่อมเสียเกิดขึ้น ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ไปกว้างไกลมากขึ้นเรื่อยๆ คนบวชเริ่มมากมายหลากหลายขึ้น ดังนั้นเหตุผลของผู้ที่จะมาบวชในบวรพุทธศาสนาจึงมากมายแตกต่างกันไปด้วย ซึ่งผู้มาบวชบางคนก็มาบวชด้วยเหตุผลที่ผิด นั่นคือมิได้มาเพื่อประพฤติปฏิบัติธรรมเพื่อการพ้นทุกข์ ดังนั้นพระจึงเริ่มมีความประพฤติเสื่อมเสียเกิดขึ้น เมื่อมีความประพฤติเสื่อมเสีย จึงเป็นเหตุให้เกิดการบัญญัติสิกขาบทขึ้น
ความสำคัญของพระวินัย พระวินัยเปรียบเหมือนพระศาสดา (อ้างอิง ๒)
พุทธพจน์
[๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า “ ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่าปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอโดยกาลล่วงไปแห่งเรา ”
เมื่ออ่านจากพุทธพจน์แล้ว แสดงว่าพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ไม่ใช่เป็นแค่เพียงข้อห้ามเท่านั้น แต่ในอีกสถานะหนึ่ง พระวินัยเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของพระองค์ที่พระองค์ทรงวางไว้เพื่อปกครองคณะสงฆ์หลังจากพระองค์ทรงดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ดังนั้นความสำคัญในข้อนี้คือพระวินัยเปรียบได้ดั่งกับพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื่องจากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแต่งตั้งพระวินัยให้เป็นตัวแทนพระองค์ เพราะฉะนั้นความสำคัญของวินัย จึงมีความสำคัญอย่างที่สุด ใครที่มองข้ามพระวินัย ก็เหมือนประหนึ่งว่าได้มองข้ามพระองค์
ศีลทุกข้อนั้น ล้วนแล้วแต่มีการเกิดขึ้นโดยมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นทั้งนั้น อีกทั้งกระบวนการบัญญัติขึ้นของศีลแต่ละข้อนั้น ก็มีที่มาที่ไปอย่างชัดเจนนั่นคือ
มีภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่งกระทำความผิด
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกประชุมสงฆ์
ทรงสอบถาม
ตรัสถึงโทษ
ทรงติเตียน
ตรัสถึงประโยชน์ในการบัญญัติสิกขาบท
หลังจากนั้นพระองค์ค่อยทรงบัญญัติสิกขาบท
นอกจากมีที่มาในการบัญญัติอย่างชัดเจน ถึงขนาดมีรับสั่งให้เรียกประชุมสงฆ์แล้ว พระองค์ยังตรัสถึงประโยชน์สิบประการเหล่านี้คือ
ประโยชน์ ๑๐ ประการแห่งการบัญญัติสิกขาบท
พุทธพจน์
“ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัย อำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
เพื่อข่มบุรุษผู้เก้อยาก ๑
เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
เพื่อถือตามพระวินัย ๑ ”
หนังสือพุทธธรรม (ป.อ.ปยุตฺโต) หน้า ๔๓๖ ได้แปลประโยชน์ ๑๐ ประการเป็นภาษาที่เข้าใจง่ายดังนี้
๑. เพื่อความดีงามที่เป็นไปโดยความเห็นชอบร่วมกันของสงฆ์
๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์
๓. เพื่อกำราบคนหน้าด้านไม่รู้จักอาย
๔. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งเหล่าภิกษุผู้มีศีลดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะมีในปัจจุบัน
๖. เพื่อบำบัดความเสื่อมเสีย ความทุกข์ ความเดือดร้อนที่จะมีในภายหลัง
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส
๘. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นไปของคนที่เลื่อมใสแล้ว
๙. เพื่อความดำรงมั่นแห่งสัทธรรม
๑๐. เพื่อส่งเสริมความเป็นระเบียบเรียบร้อย สนับสนุนวินัยให้หนักแน่น
ถ้าทุกคนสังเกตให้ดีในประโยคที่พระองค์ตรัสว่า “ เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ ” ประโยคดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่พระองค์ตรัสในคราวก่อนที่จะมีการบัญญัติพระวินัย และไม่ใช่พระองค์จะตรัสแค่ครั้งเดียวเท่านั้น แต่กลับเป็นประโยคที่พระองค์ตรัสย้ำๆซ้ำๆกันบ่อยมาก ตรัสแทบทุกคราวที่พระองค์จะทรงบัญญัติสิกขาบทโดยที่พระองค์จะตรัสถึงประโยชน์สิบประการเหล่านี้ก่อนค่อยบัญญัติสิกขาบท ธรรมดาของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญูนั้นย่อมจะตรัสเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ ถึงแม้ว่าพระองค์จะตรัสแค่ครั้งเดียว ชาวพุทธก็ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดอยู่แล้ว แต่นี่กลับเป็นสิ่งที่พระองค์ตรัสย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีก
ชาวพุทธส่วนมากจะบอกว่าตนเองเคารพนับถือพระพุทธเจ้า แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วกลับหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะถ้ามีความเคารพต่อพระองค์จริงก็น่าจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งในความเป็นจริงชาวพุทธส่วนมากกลับไม่ฟังและไม่ปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์สั่งไว้ ทั้งที่สิ่งที่พระองค์สั่งไว้ก็เป็นสิ่งที่สร้างความเจริญให้กับผู้ที่กระทำตามนั่นเอง
ขอถามใจชาวพุทธว่า แล้วชาวพุทธล่ะ เห็นแก่พระองค์บ้างหรือไม่ เห็นแก่สิ่งที่พระองค์ตรัสบ้างหรือไม่ ที่ผ่านมานั้น แต่ละคนมีความยำเกรงในสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้หรือไม่ ถ้าแต่ละคนตอบว่า แต่ละคนเห็นแก่พระองค์ ก็ขอให้แต่ละคนลองถามใจตัวเองอีกทีเถิดว่าแต่ละคนเห็นแก่พระองค์แค่ไหน แต่ละคนให้ความยำเกรงแค่ไหนในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เห็นแก่สิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการแค่ไหน และจริงๆแล้วแต่ละคนนั้นเห็นแก่สิ่งที่พระองค์ทรงแต่งตั้งเป็นตัวแทนพระองค์หลังพระองค์ปรินิพพานหรือไม่ ที่ต้องถามย้ำๆหลายครั้งก็เพราะว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึง เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการ ซึ่งเป็นสาเหตุให้พระสัทธรรมเสื่อมนั่นคือ (อ้างอิง ๓)
“ ดูก่อนกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมเป็นไป พร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกาในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรง ใน พระศาสดา ๑ ใน พระธรรม ๑ ใน พระสงฆ์ ๑
ใน สิกขา ๑ ใน สมาธิ ๑ เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความ
ฟั่นเฟือนเพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ”
ตามพุทธพจน์นั้น ความไม่ยำเกรงในพระศาสดา ในสิกขา เป็นเหตุให้เกิดทั้งความฟั่นเฟือนและความเลือนหายในพระสัทธรรม ในความคิดของผู้เขียนนั้น สิ่งที่พระองค์ตรัสนั้น อีกนัยหนึ่งเป็นเหมือนกับการบอกเตือนกับพุทธบริษัท ๔ ไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นว่า ในภายภาคหน้าหลังจากที่พระองค์ปรินิพพาน จะมีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น นั่นคือความไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ความไม่เคารพยำเกรงในสิกขา ซึ่งเป็นเหตุฝ่ายต่ำที่จะทำให้พระสัทธรรมฟั่นเฟือน ซึ่งพุทธบริษัท๔ เมื่อได้รับรู้แล้วก็ต้องมีความระมัดระวังสอดส่องและควรเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรับมือและยับยั้งกับเหตุฝ่ายต่ำเหล่านี้เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมา แต่มิใช่ให้พุทธบริษัท๔ ไปร่วมผสมโรงสนับสนุน หรือทำตัวกลมกลืนเนียนไปกับเหตุการณ์ฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดความฟั่นเฟือนและเลือนหายแห่งพระสัทธรรม
พระวินัยเป็นกฎทางธรรม
พระวินัยเป็นสิ่งที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเป็นพระสัพพัญญู ผู้รู้ทุกสรรพสิ่ง ผู้มีปัญญาและเป็นผู้ประเสริฐสูงสุดเป็นผู้บัญญัติ ซึ่งจากที่ได้กล่าวข้างต้นมาแล้วว่า ผู้ที่เข้ามาบวชในบวรพระพุทธศาสนานั้น ต่างก็มีจำนวนมากมาย นอกจากมีจำนวนมากมายแล้ว ก็ยังมีความหลากหลายอีกด้วย ทั้งความหลากหลายในด้าน ต่างเหตุ ต่างผล ในการเข้ามาบวช และความหลากหลายทางด้าน โคตร ตระกูล ชนชั้น วรรณะ อัธยาศัย แต่ไม่ว่าผู้ที่เข้ามาบวชจะมาจากที่ใด หรือจะหลากหลายประมาณไหนก็ตาม เมื่อเข้ามาบวชแล้วก็จะมีพระวินัยเป็นสิ่งที่หล่อหลอม ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยเกิดขึ้นในหมู่สงฆ์ ยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นทั้งแก่ตนเองและคณะสงฆ์ ตัวอย่างเช่นผู้ที่เข้ามาบวชจะได้รับการสั่งสอนมารยาทมาก่อนหรือไม่ แต่เมื่อเข้ามาบวชแล้วได้ประพฤติปฏิบัติตนตามพระวินัย ก็จะมีความประพฤติและกิริยาที่งดงาม เช่น การฉันอาหาร ก็จะมีวินัย ในหมวดรับประทานอาหาร ชื่อเสขิยวัตร อบรมสั่งสอนหล่อหลอมขัดเกลาผู้นั้นให้เป็นผู้มีสติ มีกิริยาและวัตรงดงามในขณะรับประทานอาหาร ลองคิดดูว่าถ้าไม่มีวินัยกำหนดเกี่ยวกับการรับประทานอาหารแล้ว อีกทั้งคนที่เข้ามาบวชบางคนเป็นคนที่ไม่ได้รับการอบรมมารยาทมาก่อน ขณะทานอาหารก็ไม่สำรวม ไร้สติ มูมมาม ตะกละตะกลาม ส่งเสียงซูดปาก เคี้ยวก็เสียงดัง สร้างความสะอิดสะเอียนต่อผู้มาพบเห็น ถ้าเหตุการณ์เป็นเช่นนี้จะสร้างความเสื่อมเสียต่อคณะสงฆ์มากมายแค่ไหน
ดังนั้นการปฏิบัติตามพระวินัย ย่อมเกิดประโยชน์มากมายทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและคณะสงฆ์ ทำให้เกิดสังฆสามัคคีมีความพร้อมเพรียงในหมู่สงฆ์ ในทางกลับกันถ้าพระรูปใด เมื่อไปละเมิดหรือไม่ใส่ใจต่อสิกขาบทเมื่อใด ย่อมเกิดโทษอย่างมากมาย ทั้งต่อตัวท่านเอง และต่อคณะสงฆ์เมื่อนั้น
ทุกท่านลองพิจารณาให้ดีเถิดว่า กฎหมายทางโลกมีไว้เพื่อควบคุมประชาชนไม่ให้กระทำผิด แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่เคารพยำเกรงกฎหมายแล้ว บ้านเมืองจะวุ่นวายขนาดไหนเช่นมีการฆ่า ลักขโมย ข่มขืน ฯลฯ เกิดขึ้นอย่างมากมายโดยไม่เกรงกลัวกฎหมาย และถ้าผู้คนในบ้านเมืองนั้นถือว่าการฆ่า ลักขโมย ข่มขืน ฯลฯ เป็นเรื่องปกติที่ทุกๆคนก็ทำกัน กฎหมายเป็นเพียงสิ่งในอุดมคติที่สมควรจะตั้งไว้เฉยๆ บ้านเมืองตอนนั้นก็คงเป็นยุคทมิฬหาความสงบสุขมิได้ หรืออาจจะถึงขั้นล่มสลายเสียด้วยซ้ำไป ฉันใดก็ฉันนั้นสิกขาบทนั้นเปรียบเหมือนกับกฎหมายทางธรรมเพื่อควบคุมคณะสงฆ์ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งทั้งสิบประการ ถ้าชาวพุทธไม่เคารพยำเกรง และคิดว่ากฎหมายทางธรรมเป็นสิ่งที่อยู่ในอุดมคติเป็นเพียงสิ่งที่คนสมัยก่อนทำขึ้นมา สมควรที่จะตั้งไว้เฉยๆ ถ้าทำตามได้ก็จะทำ ถ้าทำตามไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ไม่จำเป็นต้องมีความเคารพยำเกรง การที่พระละเมิดศีลถือเป็นเรื่องปกติที่ใครๆเขาก็ทำกัน ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วก็ย่อมเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง
ขอให้ทุกท่านตั้งข้อสังเกตให้ดีว่า วิวัฒนาการของความเลวร้ายมักจะเริ่มจากสิ่งเล็กๆก่อน แล้วแต่ละคนก็ไม่ใส่ใจ ปล่อยให้มันเป็นไป และเริ่มเห็นเป็นเรื่องปกติ หลังจากนั้นก็เริ่มลุกลามมากขึ้นเรื่อยๆ
ถ้าผู้อ่านเป็นชาวพุทธ ท่านจะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับกฎทางธรรมหรือ และขอให้ทุกคนอย่าลืมว่ากฎหมายทางธรรมนั้นยิ่งใหญ่ครอบคลุมกว่ากฎหมายทางโลกมาก เนื่องจากมีการบัญญัติโดยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้รู้กฎแห่งธรรมชาติ ถ้ามีการละเมิดกฎของธรรมชาตินี้แล้ว ย่อมได้รับผลซึ่งน่ากลัวทุกข์ทรมานและยาวนานกว่าบทลงโทษของทางโลกมาก นั่นคืออบายภูมิ๔
ศีลเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก และเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ
สีลสัมปทามีอุปการะมากแก่อริยมรรค ดังพุทธพจน์ต่อไปนี้ (อ้างอิง ๔)
[๑๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่งมีอุปการะมาก เพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน คือความถึงพร้อมแห่งศีล ฯลฯ
(อ้างอิง ๕) พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์
กระทำธรรมีกถานี้แลเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า
ศีล มีอยู่ด้วยประการฉะนี้, สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้, ปัญญามีอยู่ด้วยประการฉะนี้,
สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก,
ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก,
จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดีโดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย
กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้
จากพุทธพจน์ดังกล่าว ศีลเป็นธรรมที่มีอุปการะมาก และด้วยประโยคที่ว่า
" สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก,
ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก,
จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดีโดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย "
จากพุทธพจน์ข้างต้น ศีลจึงเป็นพื้นฐานสำคัญ ที่จะทำให้เกิดสมาธิ และสมาธิเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดปัญญา ปัญญาก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะ
หน้าที่การเป็นเนื้อนาบุญ
หน้าที่ของพระภิกษุอีกหน้าที่หนึ่ง ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญก็คือ การเป็นเนื้อนาบุญ หน้าที่การเป็นเนื้อนาบุญนี้อาจจะถูกมองข้ามจากพระส่วนมากในสมัยนี้ ทั้งๆที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ซึ่งอาจจะเป็นส่วนมากที่สุดด้วยซ้ำไป ที่มาทำบุญตักบาตรโดยมีความคิดที่คาดหวังในบุญ เพื่อต้องการจะนำบุญไปใช้ในเหตุผลต่างๆนานาเช่น อาจจะต้องการให้บุญแก่ผู้ล่วงลับ หรือต้องการให้บุญกับตนเองเพื่อความสบายในภายภาคหน้า หรือต้องการบุญเพื่อจะทำให้พ้นจากสภาพความเป็นทุกข์ในปัจจุบัน
ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างของพระในสมัยก่อนนั้น มาเป็นตัวอย่างประกอบบทความ ซึ่งท่านเป็นตัวอย่างของพระที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม และหน้าที่ตรงนี้สูงมาก
ครั้งหนึ่งที่พระมหากัสสปเถระหลังจากได้รับการอุปสมบทจากองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรงด้วยวิธีการรับโอวาท๓ ซึ่งหลังจากที่ได้รับการอุปสมบทใหม่ๆ ท่านยังไม่ได้บรรลุธรรมอันใด ต่อมาท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ได้ ๗ วันท่านจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านได้กล่าวดังนี้ว่า
" ดูก่อนผู้มีอายุ เราเป็นหนี้บริโภค ก้อนข้าวของราษฎรถึง ๑ สัปดาห์ วันที่ ๘ พระอรหัตผลจึงปรากฏขึ้น " (อ้างอิง ๖)
คำพูดของท่านพระมหากัสสปเถระ ได้แสดงถึงความรับผิดชอบอย่างสูงต่อหน้าที่ของท่านว่า ขณะที่ท่านยังไม่ได้บรรลุธรรม ท่านเป็นหนี้ก้อนข้าวที่ผู้คนนำมาถวายท่านถึง ๑ สัปดาห์
ในส่วนนี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดีมากเช่นกัน เหมาะสำหรับเป็นตัวอย่างให้ผู้คนปฏิบัติตาม ในความคิดของผู้เขียนนั้น ไม่ใช่เฉพาะแต่ผู้ที่เป็นพระเท่านั้น ที่จะมีความรับผิดชอบในส่วนนี้ แม้แต่คฤหัสถ์ก็ยังนำส่วนนี้มาเป็นตัวอย่างได้ เช่นขณะที่เราทำงานหาเงิน เงินที่เราได้มานั้น เราได้ทำงานอย่างเต็มที่หรือไม่ เราเป็นหนี้ก้อนเงินที่นายจ้างหรือลูกค้านำมาให้เราหรือไม่ หรือ ขณะที่เราได้เงินจากบิดามารดา เราได้เป็นลูกที่ดีหรือไม่ เป็นต้น ความรับผิดชอบนั้นควรจะมีอยู่ในทุกส่วนในสังคม เมื่อมีอยู่ในทุกส่วนแล้ว ทุกส่วนย่อมมีความเจริญ
นอกจากเรื่องพระกัสสปเถระแล้ว ก็ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวอย่างของพระภิกษุที่ได้รับ อาหารจากชาวบ้านที่หาอาหารมาได้ด้วยความยากลำบาก ท่านจึงมีความเคารพในบิณฑบาตที่ชาวบ้านถวายด้วยความศรัทธา ซึ่งท่านจะพยายามปฏิบัติตนเพื่อสมกับได้บิณฑบาตของชาวบ้านนั้น (อ้างอิง ๗.๑)
เรื่องพระมหามิตตเถระ
เล่ากันว่า มีพระเถระรูปหนึ่งอาศัยอยู่ในถ้ำชื่อกสกะ และมีมหาอุบาสิกาผู้หนึ่งบำรุงพระเถระนั้นเหมือนบุตร วันหนึ่งนางจะต้องเข้าไปในป่า จึงสั่งลูกสาวว่า
" เมื่อพระเป็นเจ้ามิตตะ พี่ชายของเจ้ามาแล้ว ให้ลูกนำ ข้าวสาร น้ำนม เนยใส น้ำอ้อย ที่เก็บไว้ปรุงเป็นอาหารถวายด้วยนะลูก "
ลูกสาวถามว่า " ก็แม่จะรับประทานไหมจ๊ะ "
มหาอุบาสิกาตอบว่า " ก็เมื่อวานนี้ แม่รับประทานอาหารสำหรับค้างคืน (ปาริวาสกภัต)ที่ปรุงกับน้ำส้มแล้ว"
ลูกสาวถามว่า " แม่จะรับประทานกลางวันไหมจ๊ะ "
มหาอุบาสิกาสั่งว่า " เจ้าจงใส่ผักดองแล้วเอาปลายข้าวสาร ต้มข้าวต้มมีรสเปรี้ยวเก็บไว้ให้แม่เถอะลูก "
ขณะนั้นเอง พระเถระครองจีวรแล้ว กำลังนำบาตรออก(จากถลก) ได้ยินเสียงนั้นพอดี เมื่อได้ยินเสียงนั้นจึงสอนตนเองว่า
" ได้ยินว่า มหาอุบาสิการับประทานแต่อาหารสำหรับค้างคืนกับน้ำส้ม
แม้กลางวันก็จักรับประทานข้าวต้มเปรี้ยวใส่ผักดอง
นางบอกให้นำอาหารมี ข้าวสาร น้ำนม เนยใส น้ำอ้อย เพื่อประโยชน์แก่ตัวเราเอง
ก็มหาอุบาสิกานั้นมิได้หวังที่นาที่สวน อาหาร และผ้า เพราะอาศัยเราเลย
แต่ปรารถนาสมบัติ ๓ ประการ (มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ) จึงถวาย
แล้วตัวเรา จักสามารถให้สมบัติเหล่านั้นแก่มหาอุบาสิกานั้นได้หรือไม่เล่า "
เมื่อพระเถระสอนตัวเองเสร็จ จึงคิดต่อไปว่า
" บิณฑบาตนี้แล ตัวเรานี้ยังมีราคะ โทสะ โมหะ อยู่ไม่อาจรับได้ "
พระเถระคิดดังนี้แล้ว จึงเก็บบาตรเข้าถลก ปลดดุมจีวร กลับไปถ้ำกสกะทันที เก็บบาตรไว้ใต้เตียง พาดจีวรไว้ที่ราวจีวร นั่งลงอธิษฐานความเพียรว่า ถ้าเราไม่บรรลุพระอรหันต์ จะไม่ออกไปจากถ้ำดังนี้ ภิกษุผู้ไม่ประมาทอยู่มาช้านานเจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัตก่อนเวลาอาหารเช้า เป็นพระมหาขีณาสพ (สิ้นอาสวะแล้ว) นั่งยิ้มอยู่ เหมือนดอกปทุมที่กำลังแย้มฉะนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้ใกล้ประตูถ้ำเปล่งอุทานว่า
" ท่านบุรุษอาชาไนย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ท่านยอดบุรุษ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่าน
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว
ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน " ดังนี้
แล้วเทวดานั้นยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า
" ท่านเจ้าข้า พวกหญิงแก่ถวายอาหารแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย
เช่นท่านผู้เข้าไปบิณฑบาต เธอย่อมพ้นจากทุกข์ได้ "
พระเถระลุกขึ้นเปิดประตูเพื่อดูเวลา ทราบว่า ยังเช้าอยู่ จึงถือบาตร และจีวรเข้าสู่หมู่บ้าน ฝ่ายเด็กหญิง จัดเตรียมอาหารเสร็จแล้ว นั่งเฝ้าคอย ดูอยู่ตรงประตู ด้วยนึกว่า ประเดี๋ยวพี่ชายเราคงจะมา เมื่อพระเถระมาถึงประตูเรือนแล้ว เด็กหญิงนั้น ก็รับบาตรบรรจุเต็มด้วยอาหาร เจือน้ำนม ที่ปรุงด้วยเนยใส และน้ำอ้อยแล้ว วางไว้บนมือ(ของพระเถระ)
พระเถระทำอนุโมทนาว่า จงมีสุขเถิด แล้วก็หลีกไป เด็กหญิงนั้นยืนจ้องดูท่าน ซึ่งในคราวนั้น ผิวพรรณของพระเถระบริสุทธิ์ยิ่งนัก อินทรีย์ผ่องใส หน้าของท่านเปล่งปลั่งยิ่งนัก ประดุจผลตาลสุกหลุดออกจากขั้วฉะนั้น
เมื่อมหาอุบาสิกากลับมาจากป่าถามว่า " พี่ชายของเจ้ามาแล้วหรือลูก "
เด็กหญิงนั้นก็เล่าเรื่องทั้งหมดให้มารดาฟัง มหาอุบาสิกาก็รู้ได้ว่า วันนี้ บรรพชิตกิจแห่งบุตรของเราถึงที่สุดแล้ว ดังนี้
หมายเหตุ : เรื่องราวของพระมิตตเถระเป็นตัวอย่างที่ดีและมีประโยชน์มาก สามารถนำท่านเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นปฏิบัติตามได้ จนกระทั่งอรรถกถาจารย์ ได้นำเรื่องนี้มาบรรจุไว้ในส่วนของอรรถกถา (อ้างอิง ๗.๒) เพื่ออธิบายธรรมในพระไตรปิฎกส่วนของหัวข้อ ธรรมเป็นเหตุเกิดวิริยสัมโพชฌงค์ ข้อที่ ๔ การเคารพยำเกรงต่อบิณฑบาต
(ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนดังนี้ว่า
พิจารณาความเคารพยำเกรงต่อบิณฑบาตอย่างนี้ว่า
มนุษย์เหล่าใดบำรุงเธอด้วยปัจจัยมีบิณฑบาตเป็นต้น
มนุษย์เหล่านั้นนี้ ก็ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ทาส และคนงานของเธอเลย
ทั้งมนุษย์เหล่านั้นที่ถวายปัจจัยอันประณีตต่างๆแก่เธอ ซึ่งมีจีวรเป็นต้น
โดยที่มนุษย์เหล่านั้นที่ถวายก็ไม่ได้คิดว่า จักอาศัยเธอเลี้ยงชีวิต
แต่แท้ที่จริง เขาหวังว่าสิ่งที่ตนทำแล้วมีผลมาก จึงถวาย)
หมายเหตุ : ผู้เขียนขอเน้นย้ำให้ทุกท่านพิจารณาประโยคดังต่อไปนี้ ให้ดีอีกสักครั้ง นั่นคือ
" มนุษย์เหล่านั้นนี้ ก็ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่ทาส และคนงานของเธอเลย "
ประโยคนี้พยายามบอกว่า พวกคนที่มาถวายปัจจัยต่างๆ (บิณฑบาต, ยารักษาโรคฯลฯ) ให้แก่พระทั้งหลายนั้น คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นอะไรกับพระเหล่านั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นลูก หลาน ญาติ หรือคนรู้จัก แต่ทำไมเขาถึงจำเป็นต้องให้ปัจจัยต่างๆให้กับพระเหล่านั้นด้วยเล่า
เมื่ออ่านเรื่องพระมิตตเถระจบแล้ว ก็รู้ได้ถึงความเคารพในบิณฑบาต ความรับผิดชอบต่อผู้อื่นของท่าน ท่านได้พยายามประพฤติธรรม ปฏิบัติธรรม เพื่อให้ญาติโยมที่หาปัจจัยมาด้วยความยากลำบากได้บุญอย่างสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยนี้ ญาติโยมที่มาถวายอาหารพระ บางคนก็เต็มไปด้วยความทุกข์ต่างๆ บางคนก็เต็มไปด้วยความเจ็บป่วย บางคนก็เป็นหนี้เป็นสิน บางคนก็มีปัญหาเรื่องครอบครัว บางคนก็ต้องการบุญให้แก่พ่อแม่อันเป็นที่รักยิ่งของเขาเหล่านั้นซึ่งได้จากไป เป็นต้น
ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้บรรลุคุณธรรมขั้นสูง ขึ้นไปเรื่อยๆตามลำดับ เช่น ฌาน หรือมรรคผลใดๆ แต่อย่างน้อยถ้าท่านยังเป็นพระที่มีศีล ก็เป็นเนื้อนาบุญให้กับญาติโยมได้แล้ว
ดังในอรรถกถาที่อธิบายทักขิณาสูตร (อ้างอิง ๘) ได้กล่าวว่าครั้งหนึ่ง นายพรานผู้หนึ่งผู้อยู่ บ้านวัฒมานะ ต้องการทำบุญอุทิศแก่คนที่ตายแล้ว นายพรานนั้นจึงได้ไปทำบุญแก่ภิกษุผู้ทุศีลรูปหนึ่งถึง ๓ ครั้ง ซึ่งอมนุษย์(ผู้ตายที่นายพรานพยายามอุทิศบุญไปให้ ซึ่งอยู่ในภพภูมิเปรต) ที่นายพรานอุทิศบุญไปให้กลับไม่ได้บุญ จึงร้องตะโกนขึ้นว่า " ผู้ทุศีลปล้นฉัน " แต่ในเวลาที่พรานนั้นถวายทานแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่ง ผลของทักขิณาก็ถึงอมนุษย์นั้นได้
ดังนั้นถ้าเป็นพระละเมิดศีลเสียแล้ว ก็ยากที่จะมีบุญให้กับญาติโยมในเวลาที่ญาติโยมนำปัจจัยมาถวาย หรือยากที่จะตอบแทนบิณฑบาตของชาวบ้านให้ชาวบ้านได้ผลบุญที่ยิ่งๆขึ้นไปด้วย มิหนำซ้ำอย่าว่าแต่จะให้บุญแก่ชาวบ้านเลย แม้แต่ตัวท่านเองที่เป็นพระทุศีลนั้น ตัวท่านเองก็ยังเอาตัวเองไม่รอดเลย จากที่พระองค์ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายไว้ดังนี้ (อ้างอิง ๙)
(เรื่องย่อ) พระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ได้ตรัสเตือนภิกษุดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า การที่บุคคลผู้ทุศีลมีธรรมลามก มีความประพฤติ สกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ
ผู้ทุศีลนั้น ไปกอดกองไฟกองใหญ่ที่ลุกโชติช่วงนั้น
ยังดีกว่า ไปกอดธิดา หรือบุตรสาวพราหมณ์
ผู้ทุศีลนั้น ไปโดนเชือกหนังอันเหนียว พันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปมาจนเชือกหนัง นั้นบาดผิว บาดหนัง
บาดเนื้อ ตัดเอ็น ตัดกระดูก ไปจนถึงเยื่อในกระดูก
ยังดีเสียกว่า ให้กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีมากราบไหว้
ผู้ทุศีลนั้น ไปโดนบุรุษที่มีกำลังเอาหอกอันคม ที่ชโลมน้ำมันพุ่งใส่กลางอก
ยังดีเสียกว่า ให้กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีมากราบอัญชลี
ผู้ทุศีลนั้น ไปโดนบุรุษที่มีกำลัง นำเอาแผ่นเหล็กแดงมีไฟกำลัง ลุกโชติช่วงนาบ กายตัว
ยังดีเสียกว่า ได้ใช้จีวรที่เขาถวายด้วยความศรัทธา
ผู้ทุศีลนั้น ไปโดนบุรุษที่มีกำลัง นำตะขอเหล็กแดง ที่มีไฟลุกโชติช่วงเกี่ยว ง้าง ปากให้อ้าไว้ แล้วกรอกด้วย ก้อนเหล็กแดง ที่มีไฟลุกโชติช่วง เข้าไป ในปาก ก้อนเหล็กแดงที่เข้าไปในปากนั้นจะไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก
ไหม้เรื่อยไปจนถึง ลำไส้ใหญ่ แล้วออกทางทวาร
ยังดีเสียกว่า บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธานั้น
ผู้ทุศีลนั้น ไปโดนบุรุษที่มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับ นอนทับ บนเตียงเหล็กหรือตั่งเหล็กแดงที่มีไฟกำลัง
ลุกโชติช่วง
ยังดีเสียกว่า ไปใช้เตียงตั่งที่เขาถวาย ด้วยศรัทธา
ผู้ทุศีลนั้น ไปโดนบุรุษที่มีกำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ที่มีไฟกำลังลุกโชติช่วง ผู้นั้นถูกไฟ
เผาเดือด ลอยไปลอยมา บางครั้ง ลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปทางขวาง
ยังดีเสียกว่า เข้าไปใช้วิหารที่เขาถวายด้วยความศรัทธา
เมื่ออ่านพุทธพจน์ด้านบนที่พระองค์เตือนพระทุศีล ก็หมายความว่าตัวท่านเองก็จะต้องประสบกับความฉิบหายกับการทุศีล นั่นคืออย่าว่าจะเป็นเนื้อนาบุญให้กับญาติโยมเลย แม้แต่ตัวท่านเองท่านก็ยังเอาตัวไม่รอด
อีกทั้งเมื่ออ่านเนื้อเรื่องด้านบนเกี่ยวกับนายพรานผู้หนึ่งผู้อยู่บ้านวัฒมานะ เราก็พอคาดเดาได้ว่า ถ้าทำบุญกับพระทุศีล นั่นก็หมายความว่า ผู้ที่ทำบุญหรือผู้ที่รอรับบุญก็คงยังลำบากต่อไปเพราะท่านไม่ได้เป็นเนื้อนาบุญที่ดีสรุปแล้วไม่มีใครได้ผลดีอะไรจากเรื่องดังกล่าวนี้ มีแต่เสียกับเสีย
ฝ่ายญาติโยม เสียหายมาก เพราะ ไม่ได้ทำบุญกับเนื้อนาบุญที่ดี
ฝ่ายผู้รอส่วนบุญจากที่ญาติโยมทำบุญไปให้ ยิ่งเสียหายมากเพราะเขาทุกข์ทรมานมาก ในสภาพที่เขาได้รับอยู่
ฝ่ายพระละเมิดศีล ยิ่งเสียหายหนัก เพราะมีอบายภูมิ รอพระเหล่านั้นอยู่
พระวินัยเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนายืนนาน (อ้างอิง ๑๐)
ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนดำรงอยู่ไม่นาน พระสารีบุตรจึงไปทูลถามเรื่องดังกล่าวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งพระองค์ตรัสตอบพระสารีบุตรว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี พระนามสิขี และพระนามเวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ส่วนพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน โดยที่พระองค์ตรัสบอกถึงเหตุที่ทำให้ศาสนาดำรงอยู่นานและไม่นานดังนี้
ดูก่อนสารีบุตร พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรม โดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งสามพระองค์นั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอดระยะกาลยืนนาน
ดูก่อนสารีบุตร ดอกไม้ต่างพรรณที่เขากองไว้บนพื้นกระดาน ร้อยดีแล้วด้วยด้ายลมย่อมกระจายไม่ได้ ขจัดไม่ได้ กำจัดไม่ได้ซึ่งดอกไม้เหล่านั้นข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาร้อยดีแล้วด้วยด้ายฉันใด เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าเหล่านั้น สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงดำรงพระศาสนานั้นไว้ได้ตลอด ระยะกาลยืนนาน ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูก่อนสารีบุตร อันนี้แลเป็นเหตุ อันนี้แลเป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามกกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน
หลังจากที่ได้ฟังคำตอบของพระศาสดา ท่านพระสารีบุตรก็ลุกจากอาสนะ ทำผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า
" ถึงเวลาแล้วพระพุทธเจ้าข้า ข้าแต่พระสุคต ถึงเวลาแล้ว ที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมกข์แก่สาวก อันจะเป็นเหตุให้พระศาสนานี้ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน "
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบพระสารีบุตร (เหมือนดังที่ได้เขียนบอกไว้ในตอนต้นของบทความ)
" จงรอก่อนสารีบุตร จงยับยั้งก่อนสารีบุตร ตถาคตผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีนั้น
พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่ายังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรม(ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ) บางเหล่าปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้นแหละ "
หลังจากอ่านข้อความแล้ว จึงสามารถกล่าวได้ว่า การบัญญัติสิกขาบทเป็นปัจจัยที่สำคัญที่เป็นเหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ได้นาน การที่ได้มีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในวัฏสงสาร เป็นอะไรที่ยากเย็นสุดจะพรรณนา เป็นสิ่งมีค่าที่สุดหาที่เปรียบมิได้ใน ๓๑ ภูมิ ดังนั้น อายุของพระพุทธศาสนานั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งตามไปด้วย ซึ่งสิกขาบทนั้นก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ยืนนาน การที่พระพุทธศาสนาสามารถดำรงอยู่ได้ยืนนานย่อมเกิดประโยชน์มากมายแก่สรรพสัตว์ การที่พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้นานขึ้น ๑ วินาทีนั้นย่อมมีค่ามากมายประมาณมิได้ เพราะจำนวนสัตว์ที่ประมาณมิได้ที่ได้รับประโยชน์ คูณกับจำนวน ๑ วินาทีนั้น ย่อมทำให้เกิดคุณค่าที่มากมายมหาศาลประมาณมิได้ตามจำนวนสัตว์ที่คูณเข้าไป
ลองคิดดูว่าการที่เรามีโรงไฟฟ้า โรงประปา หรือสวนสาธารณะนั้นก่อให้เกิดประโยชน์มากมายมหาศาลแก่ผู้คนแค่ไหน ใน ๑ วินาทีที่มีสาธารณูปโภคนั้นอยู่ ย่อมทำให้มีคนได้รับประโยชน์มากมายมหาศาล อย่างไรก็ตามต่อให้รวมสาธารณูปโภคที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดมารวมกัน แล้วนำประโยชน์ที่ได้จากสาธารณูปโภคของคนทั้งหมดมารวมกัน ก็ยังไม่ได้เสี้ยวหนึ่งของประโยชน์ของบุคคลเดียวได้รับจากการทำบุญที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา เนื่องจากแค่คนๆเดียวได้ทำบุญอย่างถูกต้องในพระพุทธศาสนา ผลบุญที่เขาจะได้รับนั้นมากมายมหาศาลยาวนาน ซึ่งมีตัวอย่างมากมายในพระไตรปิฎก ในที่นี้ผู้เขียนจะขอนำเรื่องอดีตชาติของ พระปัญจสีลสมาทานิยเถระ ที่เกี่ยวกับการรักษาศีลมากล่าว ณ ที่นี้ (อ้างอิง ๑๑)
ในอดีตย้อนหลังกลับไป ๑ อสงไขย กับอีกแสนมหากัป อยู่ในยุคสมัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอโนมทัสสี ซึ่งขณะนั้นผู้คนในยุคนั้นมีอายุขัยประมาณ ๑แสนปี พระปัญจสีลสมาทานิยเถระ ในตอนนั้นได้ไปบังเกิดในตระกูลหนึ่งในนครจันทวดี เป็นคนยากจนขัดสน ได้ประกอบอาชีพเป็นคนรับจ้างเพื่อเลี้ยงชีพ เนื่องจากท่านเป็นคนยากจนจึงมีข้าวน้ำและอาหารน้อย ท่านมัวแต่ประกอบอาชีพรับจ้างจึงยังไม่มีโอกาสได้บวช ถึงแม้ท่านไม่มีโอกาสได้บวช แต่ท่านก็เห็นโทษภัยในวัฏสงสารว่า โลกทั้งหลายถูกความมืดมิด(กิเลส)อันใหญ่หลวงปิดบังอยู่ ย่อมถูกไฟ ๓ กอง เผาผลาญ เราจะหลบออกจากความมืดมิดด้วยอุบายอะไรดีหนอ ไทยธรรม(ของสำหรับทำบุญ)ของเราก็ไม่มีเพราะเราเป็นคนยากไร้ทำงานแค่อาชีพรับจ้าง อย่ากระนั้นเลย เราพึงรักษาเบญศีล(ศีล ๕) ให้บริบูรณ์ เมื่อคิดได้ดังนั้น ท่านจึงเข้าไปหาพระภิกษุชื่อสภะ(เพื่อรับศีล) ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อท่านได้รับศีล ๕ แล้ว ท่านรักษาศีล ๕ ให้บริบูรณ์ตลอดสิ้นอายุขัย เมื่อเวลาใกล้หมดอายุขัย ทวยเทพได้เข้ามาเชื้อเชิญว่า "ท่านผู้นิรทุกข์ รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่งนี้ปรากฏแล้วเพื่อท่าน " หลังจากนั้น ก่อนที่จะสิ้นชีพ จิตดวงสุดท้าย ท่านได้ระลึกถึงศีลของท่าน ด้วยผลบุญดังกล่าวมานี้ ท่านได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ได้เป็น จอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ ครั้ง แวดล้อมด้วย นางอัปสรทั้งหลาย เสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่
ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้
ชาติสุดท้ายกุศลส่งผล ให้มาเกิด ในตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่งในนครเวสาลี ซึ่งขณะนั้นพระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองอยู่ ในขณะที่ มารดาและบิดา ของท่านกำลังสิกขาบท ๕ ในเวลาเข้าพรรษา ท่านได้ฟังเรื่องศีลพร้อมกับมารดาบิดา จึงระลึกถึงศีลของท่านในอดีตได้บรรลุอรหัต ซึ่งขณะนั้นท่านอายุเพียง ๕ ขวบ เมื่อท่านบรรลุอรหันต์พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ท่าน นับตั้งแต่ชาติที่ท่านรักษาศีลห้าให้บริบูรณ์ในครั้งนั้น ท่านไม่ได้ไปสู่วินิบาต(ภพที่รับทุกข์)เลยตลอด ๑อสงไขยกับอีกแสนมหากัป
ท่านพระปัญจสีลสมาทานิยเถระได้กล่าวคาถาดังนี้
" เรานั้นได้เสวยยศเพราะกำลังแห่งศีลเหล่านั้น
เมื่อจะประกาศผลของศีลที่เราได้เสวยแล้ว โดยจะนำมา
ประกาศตลอดโกฏิกัป ก็พึงประกาศได้เพียงส่วนเดียว
เรารักษาเบญจศีลแล้ว ย่อมได้เหตุ ๓ ประการ คือเรา
เป็นผู้มีอายุยืนนาน ๑ มีโภคสมบัติมาก ๑ มีปัญญาคมกล้า ๑
เบญจศีลอันเราผู้เป็นคนรับจ้าง มีความเพียรประพฤติแล้ว
เราพ้นจากเครื่องผูกทั้งปวงได้ในวันนี้ด้วยศีลนั้น ในกัปอัน
ประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรารักษาเบญจศีลแล้ว ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่ง (การรักษา) เบญจศีล "
ด้านบนนี้เป็นตัวอย่างของผู้ที่ทำบุญได้ถูกต้องตามหลักธรรม แล้วได้ประโยชน์มากมายมหาศาล
แต่ถ้าจะเปรียบเทียบในอีกแง่มุมหนึ่ง สมมติมีผู้หนึ่งเกิดความเจ็บป่วยอย่างหนักเป็นอัมพาต คนที่เจ็บป่วยนั้นยินยอมที่จะจ่ายเงินเท่าไหร่เพื่อหายจากความเจ็บป่วยนั้น บางท่านก็จ่ายเงินหลายล้านบาทเพื่อหายจากโรคภัย สำหรับผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนเข้านิพพาน ก็ไม่จำเป็นต้องมาทนทุกข์กับความเจ็บป่วยอีกตลอดไป นั่นคือจำนวนเงินที่ต้องรักษาความเจ็บป่วย นำมาคูณกับจำนวนเวลาที่ต้องเวียนว่ายถ้าไม่ได้เข้านิพพาน นั่นคือ ถ้าหนึ่งปี จ่ายเงิน ร้อยบาทพันบาทหรือหมื่นบาทก็แล้วแต่ นำมาคูณกับ อนันต์ (จำนวนเวลาที่ต้องเวียนว่ายถ้าไม่ได้นิพพาน) สรุปได้ค่าคือ อนันต์ประเมินค่ามิได้
ค่าของพระพุทธศาสนาในมุมมองของพระโพธิสัตว์
ส่วนค่าของพระพุทธศาสนาในมุมมองพระโพธิสัตว์ก็เป็นสิ่งที่น่านำมากล่าวถึง ที่ผู้เขียนอ้างอิงในประเด็นนี้ ก็เพื่อว่าถ้าอ้างอิงในผู้ที่มีภูมิธรรมสูง ย่อมจะได้ค่าที่ใกล้จากความเป็นจริงมากที่สุด
(อ้างอิง ๑๒) ครั้งหนึ่งที่พระโพธิสัตว์สุตโสมได้ฟังธรรมแค่ ๔ คาถาจากพราหมณ์ผู้หนึ่ง ซึ่งนำภาษิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสปมากล่าวให้พระเจ้าสุตโสมฟัง หลังจากที่พระองค์ทรงฟังภาษิตดังกล่าวแล้ว ทรงพระดำริว่า
" คาถาเหล่านี้ไม่ใช่ภาษิตของพระสาวก ไม่ใช่ภาษิตของฤาษี ไม่ใช่ภาษิตของกวี
แต่เป็นภาษิตของพระสัพพัญญู จะควรค่าเท่าไรหนอ " ทรงพระดำริต่อไปว่า
" แม้เราจักให้จักรวาลทั้งสิ้น กระทำให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ตลอดถึงพรหมโลก
ก็ไม่อาจจะทำให้สมควร "
สิ่งที่พระโพธิสัตว์สุตโสมดำริแสดงถึง ความซาบซึ้งถึงคุณค่าของพระธรรม ด้วยคิดว่าจะนำแก้วแหวนเงินทองมากองให้เต็มโลก แล้วสูงขึ้นไปถึงพรหมโลก ก็ยังเทียบไม่ได้กับค่าของพระธรรม ๔ คาถานั้น
ระยะทางระหว่างพรหมโลกชั้นที่ ๑ กับโลกมนุษย์ (อ้างอิง ๑๓) มีการเปรียบเทียบไว้ว่า นำก้อนศิลาขนาดเท่าปราสาท ทิ้งลงมาจากชั้นนี้ จะใช้เวลาถึง ๔ เดือนถึงตกมายังโลก นั่นคือนำเพชรแก้วแหวนเงินทองมาวางกองท่วมทั้งจักรวาลสูงขึ้นไปถึงพรหมโลกค่าก็ยังไม่คู่ควรกับพระธรรม ๔ คาถานั่นเอง
ดังนั้นค่าพระธรรม ๔ คาถาในมุมมองของพระโพธิสัตว์ ก็ยังไม่สามารถประมาณค่าได้ ดังนั้นถ้าพระพุทธศาสนาทั้งหมดนั้นจะมีค่าประมาณไหน
ส่วนการประเมินคุณค่าของพระพุทธศาสนาได้อย่างแท้จริงนั้น คงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะคุณค่าของพระพุทธศาสนาที่แต่ละคนจะสามารถประเมินมูลค่าออกมาได้ก็แตกต่างกันไปตามภูมิธรรมของแต่ละคน คนมีภูมิธรรมที่สูงก็ย่อมประเมินค่าของพระพุทธศาสนาได้ถูกต้องมากกว่าคนที่ภูมิธรรมต่ำ ผู้ที่สามารถประเมินคุณค่าของพระพุทธศาสนาได้ถูกต้องที่สุดก็น่าจะมีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนผู้อื่นก็ลดหลั่นกันตามลำดับของภูมิธรรม
(อ้างอิง ๑๔) ซึ่งพระพุทธองค์ก็ทรงกล่าวถึงค่าของพระธรรมไว้ ด้วยพุทธพจน์ดังนี้ ในครั้งที่ท่านทำนายพระสุบินของพระเจ้าปเสนทิโกศล นั่นคือ
" ธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ มีมูลค่าควรแก่พระนิพพาน
เป็นพุทธพจน์ที่กล่าวถึงมูลค่าของพระธรรม พระองค์ตรัสว่า " มีมูลค่าควรแก่พระนิพพาน "
การให้มูลค่าของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมมีความสมบูรณ์ที่สุด ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้มากมาย
คำว่า " นิพพาน " นั้นเป็นคำที่มีความหมายสูงล้ำประมาณมิได้ ครอบคลุมมูลค่าทุกสรรพสิ่ง
ความพยายามที่จะอธิบายมูลค่าที่แท้จริงของสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ ยิ่งอธิบายก็อาจจะเป็นการทำให้มูลค่าของสิ่งนั้นลดลงก็เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามจากที่กล่าวถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนาดังที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ก็เพื่อแสดงให้ทุกคนพอจะรับรู้ว่า พระพุทธศาสนามีค่าประมาณมิได้อย่างแท้จริง ต่อให้พระธรรมแค่ ๑ ธรรมบท ก็ยังยากที่จะหาที่สุดแห่งคุณของพระธรรมบทนั้นได้เลย ดังนั้นการที่พระพุทธศาสนายืนยาวได้กว่าเดิมแค่วินาทีเดียว ก็เป็นคุณค่าที่มากประมาณมิได้ และข้อสำคัญพระวินัยนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้พระศาสนายืนนาน
จากความสำคัญของพระวินัยดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ พระวินัยเปรียบเหมือนตัวแทนของพระศาสดาที่พระองค์ทรงแต่งตั้ง, พระวินัยเป็นกฎทางธรรม, พระวินัยเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติธรรม และพระวินัยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนายืนนาน ดังนั้น จึงขอให้ชาวพุทธได้เห็นความสำคัญและตระหนักว่าพระวินัยนั้นเป็นเรื่องที่ทุกท่านต้องรักษา เคารพยำเกรง เพื่อประโยชน์แห่งสรรพสัตว์ทั้งหลายและตัวท่านเอง
อุททานคาถา (อ้างอิง๑๕)
พระวินัยมีประโยชน์มาก คือนำมาซึ่งความสุขแก่พวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ข่มพวกที่มีความปรารถนาลามก ยกย่องพวกที่มีความละอายและทรงไว้ซึ่งพระศาสนา เป็นอารมณ์ของพระสัพพัญญชินเจ้า ไม่เป็นวิสัยของพวกอื่น เป็นแดนเกษม อันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว ไม่มีข้อที่น่าสงสัย ภิกษุผู้ฉลาดในขันธกะ วินัย บริวาร และมาติกาปฏิบัติด้วยปัญญาอันหลักแหลม ชื่อว่าผู้ทำประโยชน์อันควร ชนใดไม่รู้จักโค ชนนั้นย่อมรักษาฝูงโคไม่ได้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อไม่รู้จักศีล ไฉนเธอจะพึงรักษาสังวรไว้ได้เมื่อพระสุตตันตะ และพระอภิธรรมเลอะเลือนไปก่อนแต่พระวินัยยังไม่เสื่อมสูญ พระศาสนาชื่อว่า ยังตั้งอยู่ต่อไป
[หมายเหตุ : ในส่วนของอรรถกถาได้อธิบายเกี่ยวกับการบริโภคปัจจัย(อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ฯลฯ) ที่ชาวบ้านมาถวายด้วยความศรัทธา ของพระภิกษุ ซึ่งได้คัดมาโดยย่อดังนี้ (อ้างอิง ๑๖)
การบริโภค(ปัจจัย ๔)นั้นมี ๔ ประเภท คือ
๑.ไถยบริโภค (บริโภคอย่างขโมย ) คือ การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีลซึ่งนั่งบริโภคอยู่ แม้ในท่ามกลางสงฆ์
๒. อิณบริโภค (บริโภคอย่างเป็นหนี้ ) คือ การบริโภคไม่พิจารณาของภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มีศีลพึงพิจารณาจีวรทุกขณะที่บริโภคใช้สอย บิณฑบาตพึงพิจารณาทุก ๆ คำกลืน เมื่อไม่อาจอย่างนั้น พึงพิจารณาในกาลก่อนฉัน หลังฉัน ยามต้น ยามกลาง และยามสุดท้าย หากเมื่อเธอไม่ทันพิจารณาอรุณขึ้นย่อมตั้งอยู่ในฐานะบริโภคหนี้ แม้เสนาสนะก็พึงพิจารณาทุก ๆ ขณะที่ใช้สอย ควรจะมีสติเป็นปัจจัยทั้งในขณะรับ ทั้งในขณะบริโภค
ภิกษุผู้ทำสติในการรับ ไม่ทำในการบริโภคอย่างเดียว เป็นอาบัติ
ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ ทำแต่ในเวลาบริโภคไม่เป็นอาบัติ
ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมพิจารณาโดยแยบคายแล้วนุ่งห่มจีวร ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ทำสติในการรับ แต่ทำสติในการบริโภค
๓. ทายัชชบริโภค (บริโภคอย่างเป็นผู้รับมรดก) คือ การบริโภคปัจจัยของพระเสขะ ๗ จำพวก
พระเสขะ ๗ จำพวกนั้น เป็นพระโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า (พุทธบุตร) เพราะฉะนั้น จึงเป็นทายาทแห่งปัจจัยอันเป็นของพระพุทธบิดา บริโภคอยู่ซึ่งปัจจัยเหล่านั้น
ถามว่าก็พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือบริโภคปัจจัยของพวกคฤหัสถ์ ?
ตอบว่า ปัจจัยเหล่านั้น แม้อันพวกคฤหัสถ์ถวาย ก็จริง แต่ชื่อว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระเสขะเหล่านั้น บริโภคปัจจัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
๔. สามีบริโภค (บริโภคอย่างเป็นเจ้าของ) คือ การบริโภคของพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า สามีบริโภค พระขีณาสพทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นเจ้าของบริโภคเพราะล่วงความ เป็นทาสแห่งตัณหาได้แล้ว
บรรดาการบริโภคทั้ง ๔ นี้ สามีบริโภคและทายัชชบริโภค ย่อมควรแม้แก่ภิกษุทุกจำพวก อิณบริโภค ไม่สมควรเลย ในไถยบริโภคไม่มีคำจะพูดถึงเลย ]
อ้างอิง๑ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๕ ข้อที่ ๘
อ้างอิง๒ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๒๐ ข้อที่ ๑๔๑
อ้างอิง๓ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๖๓๒ ข้อที่ ๕๓๓
อ้างอิง๔ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่๓๐ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ ๘๗ ข้อ ๑๕๘
อ้างอิง๕ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่๑๓ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๒๔๗
อ้างอิง๖ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค เล่ม ๒ - หน้าที่ ๕๙๖
อ้างอิง๗.๑ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่๑๔ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๓๘ บรรทัดที่ ๑๔
อ้างอิง๗.๒ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่๑๔ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ ๓๓๘ บรรทัดที่ ๑
อ้างอิง๘ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๓๕ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ ๒๓๘
อ้างอิง๙ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่ม ๓๗ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาตเล่มที่ ๔ หน้า ๒๖๐ ข้อ ๖๙
อัคคิขันธูปมสูตร
อ้างอิง๑๐ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๒
อ้างอิง๑๑ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่๗๑ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ ๙๗
อ้างอิง๑๒ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่๖๒ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๗๙
อ้างอิง๑๓ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ ๑๓๘
อ้างอิง๑๔ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๕๖ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ ๒๓๑
อ้างอิง๑๕ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่มที่ ๖ พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๖๖
อ้างอิง๑๖ พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน ๙๑ เล่ม
เล่ม ๓ พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ ๙๕๑
จบบทความที่2
ความคิดเห็น
คุณไม่มีสิทธิ์เพิ่มความคิดเห็น
มุมมองเดสก์ท็อป ไซต์ของฉัน
ขับเคลื่อนโดย Google Sites
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)